รีเซต

ขอจุดพลุในพื้นที่สาธารณะแบบ "ดิวอริสา" หรือ "ตงตงเบส" ทำได้หรือไม่?

ขอจุดพลุในพื้นที่สาธารณะแบบ "ดิวอริสา" หรือ "ตงตงเบส" ทำได้หรือไม่?
Ingonn
16 มิถุนายน 2564 ( 20:00 )
4.4K

สุขสันต์วันเกิด ปัง! ปัง! ปัง! วันเกิดทั้งที ถ้าอยากสุขสันต์ฉลองวันเกิดตามวิถีไฮโซ คนมีตังค์ อาจจะต้องเป็นการจุดพลุฉลองหรือไม่ จากกระแสการจุดพลุเซอร์ไพร์สวันเกิดของเหล่าดารา อย่างคู่ “เซบาสเตียนกับดิว อริสรา” หรือจะ “หนุ่มตงตง และสาวเบส” ที่ออกมาสร้างความปังระเบิดเป็นเสียงพลุ จนชาวเน็ตต่างงงว่านี่เป็นเทรนด์ใหม่ในการเซอร์ไพร์สของคนคลั่งรักกันหรือเปล่า

 

 

 

วันนี้ TrueID ได้หยิบยกประกาศการขออนุญาตการจุดพลุ หรืออุปกรณ์ที่คล้ายกับพลุมาฝากทุกคนกัน เผื่อว่าใครอยากจะจุดเซอร์ไพร์สบ้าง จะได้รู้ว่าต้องเตรียมตัวอย่างไร

 

 


คุณสมบัติผู้ขออนุญาตจุดพลุ


1.มีสัญชาติไทย


2.มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์


3. เป็นเจ้าของสถานที่ที่จัดให้มีการจุดและปล่อย หรือกระทำการอย่างใด เพื่อให้บั้งไฟพลุ ตะไล โคมลอย โคมไฟ โคมควันหรือวัตถุอื่นใดที่คล้ายคลึงกัน ขึ้นไปสู่อากาศ หรือผู้ได้รับมอบอำนาจ


4.กรณีพลุต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 13 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืนพ.ศ. 2490 ด้วย

 

 


หลักเกณฑ์การขออนุญาตจุดพลุในกรุงเทพฯ


1.ให้ยื่นคำขออนุญาตและแผนการป้องกันเหตุอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นพร้อมแผนผังบริเวณ ที่จะจุดและปล่อย หรือกระทำการอย่างใด ต่อผู้อำนวยการเขตพื้นที่ ทั้งนี้ ต้องขออนุญาตก่อนวันจุดและปล่อย หรือกระทำการอย่างใดไม่น้อยกว่า 15 วัน เว้นแต่มีเหตุจำเป็นจะน้อยกว่า 15 วัน ก็ได้ ตามประกาศที่กรุงเทพมหานครกำหนด

 


2. กรณีพลุหรือวัตถุอื่นใดที่คล้ายคลึงกันที่ขออนุญาตต้องมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของท่อ ไม่เกิน 12 นิ้ว ได้รับอนุญาตให้ทำ สั่ง นำเข้า หรือค้าซึ่งดอกไม้เพลิงตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน และมีจำนวนตามความเหมาะสมของแต่ละงานหรือแต่ละพื้นที่

 


3.สถานที่ที่จุดและปล่อย หรือกระทำการอย่างใดเพื่อให้พลุหรือวัตถุอื่นใดที่คล้ายคลึงกันขึ้นไปสู่อากาศต้องอยู่ห่างจากเขตพระราชฐาน คลังน้ำมัน หรือแหล่งเก็บเชื้อเพลิง สถานีบริการเชื้อเพลิงหรือโรงพยาบาลไม่น้อยกว่า 200 เมตร และต้องเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

 


4.กรณีบั้งไฟ ตะไล โคมลอย  โคมไฟ โคมควัน หรือวัตถุอื่นใดที่คล้ายคลึงกัน ที่ขออนุญาตต้องมีขนาด จำนวน ชนิด สถานที่จุดและปล่อย หรือประการอื่นใด ให้เป็นไป ตามประกาศที่กรุงเทพมหานครกำหนด

 

 


ขั้นตอนการจุดพลุที่ไม่ได้จุดกันง่ายๆ


รวมถึง บั้งไฟ ตะไล โคมลอย โคมไฟ โคมควัน หรือวัตถุอื่นใดที่คล้ายคลึงกันขึ้นไปสู่อากาศ มีการกำหนดขนาด ลักษณะไว้ดังนี้


1.ต้องผลิตจากวัสดุหรืออุปกรณ์ที่มีน้ำหนักเบาและไม่มีส่วนผสมของโลหะ เว้นแต่ลวดที่ใช้มัดหรือยึดกับท่อลำตัวเข้ากับหางบั้งไฟ

 


2.สารเคมีที่ผลิตเป็นเชื้อเพลิงของบั้งไฟ จะต้องเป็นโพแทสเซียม ไนเตรต (potassium  nitrate) หรือสารดินประสิว โดยไม่อนุญาตให้ใช้สารเคมีชนิดอื่นที่ไหม้ปะทุได้ในระดับแรงดัน ที่สูงกว่าสารเคมีดังกล่าว

 


3.ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางวงในของท่อลำตัวหรือวัสดุอื่นที่ใช้แทนท่อ ซึ่งใช้บรรจุเชื้อเพลิงของบั้งไฟ ต้องมีขนาดไม่เกิน 3.5 นิ้ว น้ำหนักดินประสิวไม่เกิน 13 กิโลกรัม ระยะความสูงของบั้งไฟขึ้นไปในอากาศต้องไม่เกินกว่า 5,000 ฟิต

 


4.จำนวนในการจุดและปล่อย หรือกระทำการอย่างใด ในแต่ละสถานที่ให้ดำเนินการได้ไม่เกิน 15 บั้งต่อหนึ่งวัน


5.สถานที่ที่จุดและปล่อยหรือกระทำการอย่างใด ต้องอยู่ห่างจากเขตพระราชฐานคลังน้ำมัน แหล่งเก็บเชื้อเพลิง สถานีบริการเชื้อเพลิง โรงพยาบาล ชุมชน หรือที่พักอาศัยไม่น้อยกว่า 1 กิโลเมตร และต้องเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

 

 

6.ผู้ได้รับอนุญาตต้องนำเลขที่ใบอนุญาตกำกับบั้งไฟไปเขียนหรือประทับหรือวิธีอื่นใด ลงไว้บนลำตัวบั้งไฟ ในตำแหน่งที่บุคคลทั่วไปสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน และจะต้องเป็นตำแหน่งหรือส่วนที่เหลืออยู่ เมื่อยั้งไฟตกลงมาสู่พื้นดินหลังการจุดและปล่อย ซึ่งการเขียนหรือประทับหรือโดยวิธีอื่นใดดังกล่าวให้ใช้สี น้ำหมึก หรือสารเคมีอื่นที่ทนความร้อนหรือขูดลบออกได้ยาก

 


7.ฐานการจุดบั้งไฟต้องมีความชันหรือลาดเอียงที่เหมาะสม โดยไม่ทำให้เกิดภยันตรายจากการจุดและปล่อยต่อประชาชน ที่อยู่อาศัย หรือทรัพย์สินของประชาชนในละแวกใกล้เคียง และในรัศมีการตกของบั้งไฟนั้น ต้องไม่เสี่ยงต่อสายไฟ คลังน้ำมัน ชุมชน สถานที่สำคัญต่างๆ ในการเกิดอัคคีภัย หรือความเสียหายอื่น ๆ

 


8.ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดสถานที่จัดงาน สถานที่จุดและปล่อยบั้งไฟ ให้มีความปลอดภัย พร้อมทั้งจัดทำแนวเขตห่างจากฐานจุดบั้งไฟ ไม่น้อยกว่า 100 เมตร ให้ผู้ได้รับอนุญาตมีหน้าที่ห้ามประชาชนทั่วไป ซึ่งไม่มีหน้าที่ในการจุดและปล่อยบั้งไฟเข้าไปอยู่บริเวณที่จัดทำแนวเขตไว้

 

 

 

ข้อห้ามการจุดพลุที่ต้องรู้


1.ขนาดและรูปแบบ ต้องเป็นไปตามประกาศของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม 

 


2.ห้ามพ่วงหรือผูกติดพลุ ดอกไม้ไฟ หรือสิ่งอื่นใด ไปกับโคมขณะปล่อย

 


3.การจุดและปล่อยต่อหนึ่งสถานที่ ในหนี่งวัน หรือในหนึ่งเวลา ต้องมีจำนวนที่เหมาะสมแก่เทศกาลหรืองานนั้น ๆ และไม่กระทบหรือสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนทั่วไป

 


4.สถานที่ที่จุดและปล่อยหรือกระทำการอย่างใด ต้องอยู่ห่างจากเขตพระราชฐาน คลังน้ำมัน แหล่งเก็บเชื้อเพลิง สถานีบริการเชื้อเพลิง โรงพยาบาล ชุมชน หรือที่พักอาศัยไม่น้อยกว่า 20 เมตร และต้องเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

ไม่ขออนุญาตมีโทษ!


ผู้ใดกระทำการจุดและปล่อยหรือกระทำการอย่างใด ตามที่กล่าวแล้ว โดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายอำเภอแห่งท้องที่ หรือโดยฝ่าฝืนข้อกำหนดในประกาศนี้ ต้องรับโทษดังนี้

 

1 ห้ามมิให้ผู้ใดจุดและปล่อย บั้งไฟ พลุ ตะไล โคมลอยโคมไฟ โคมควัน หรือวัตถุอื่นใดที่คล้ายคลึงกันขึ้นไปสู่อวกาศ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการเขตพื้นที่นั้น หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม เป็นความผิดตามกฎหมาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

 

2 ผู้ผลิต สะสม และจำหน่ายดอกไม้เพลิง ต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ตามที่กฎหมายกำหนด และจะต้องปฏิบัติตามมาตรการประกาศกรมอนามัย ลงวันที่ 8 มกราคม 2544 เรื่อง ข้อปฏิบัติการควบคุมป้องกันอันตราย จากการผลิต การสะสม การขนส่งและการจำหน่ายดอกไม้เพลิงอย่างเคร่งครัด หากฝ่าฝืนจะถูกดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด

 

 

3 ห้ามจำหน่ายและห้ามเล่นประทัดจีนทุกชนิด ประทัดรูปทรงกลม ประทัดรูปไข่ ประทัดรูปสามเหลี่ยม หรือ ไดนาไมท์ หากผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก ราชกิจจานุเบกษา ประกาศกรุงเทพมหานคร

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง