รีเซต

นักวิจัยจีนพัฒนา 'หน้ากากดิจิทัล' เอื้อวินิจฉัยโรคแบบนิรนาม

นักวิจัยจีนพัฒนา 'หน้ากากดิจิทัล' เอื้อวินิจฉัยโรคแบบนิรนาม
Xinhua
27 กันยายน 2565 ( 10:50 )
29
นักวิจัยจีนพัฒนา 'หน้ากากดิจิทัล' เอื้อวินิจฉัยโรคแบบนิรนาม

ปักกิ่ง, 26 ก.ย. (ซินหัว) -- เมื่อไม่นานนี้ วารสารเนเจอร์ เมดิซิน (Nature Medicine) เผยแพร่บทความวิจัยฉบับหนึ่ง ซึ่งระบุว่าคณะนักวิจัยจีนได้พัฒนาหน้ากากดิจิทัลเพื่อปกปิดตัวตนผู้ป่วยขณะพบแพทย์ และรักษาความเป็นส่วนตัวของใบหน้าผู้ป่วยใบหน้าสามารถแสดงลักษณะทางกายภาพหรือภาวะอาการของร่างกายมนุษย์ได้หลากหลาย ดังนั้นข้อมูลบนใบหน้าจึงสำคัญต่อการวินิจฉัยทางคลินิกและการรักษาโรคต่างๆ ซึ่งรวมถึงโรคทางตา ระบบหัวใจและหลอดเลือด และระบบประสาทใบหน้าเป็นหนึ่งในข้อมูลทางชีวมิติที่ไม่สามารถแก้ไขได้ที่สำคัญที่สุดของร่างกายมนุษย์และมีหน้าที่ในการระบุตัวตน ซึ่งทำให้การจัดเก็บภาพใบหน้าในเวชระเบียนมีความเสี่ยงด้านความเป็นส่วนตัว เนื่องจากลักษณะที่ละเอียดอ่อนของข้อมูลทางชีวมิติส่วนบุคคลที่สามารถคัดลอกออกมาจากภาพดังกล่าวได้บทความวิจัยระบุว่าเพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว เหล่านักวิจัยจากมหาวิทยาลัยและสถาบันต่างๆ อาทิ มหาวิทยาลัยซุนยัตเซ็นและมหาวิทยาลัยชิงหัว จึงพัฒนาหน้ากากดิจิทัลบนพื้นฐานการสร้างใหม่แบบสามมิติและอัลกอริทึมแบบเรียนรู้เชิงลึก เพื่อลบคุณลักษณะที่ระบุได้อย่างไม่สามารถย้อนกลับ ขณะยังคงรักษาลักษณะจำเป็นที่เกี่ยวข้องสำหรับการวินิจฉัยโรคผลการศึกษาทางคลินิกเพื่อประเมินหน้ากากดิจิทัลพบเทคโนโลยีใหม่ดังกล่าวตอบสนองความต้องการการวินิจฉัยทางคลินิกและลดอัตราการจดจำตัวตนลงเหลือร้อยละ 27.3 ขณะอัตราการจดจำตัวตนของวิธีการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลแบบดั้งเดิมนั้นอยู่ที่สูงกว่าร้อยละ 90 ในปัจจุบันคณะนักวิจัยยังพบว่าการใช้หน้ากากดิจิทัลเพิ่มความเต็มใจของผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับสายตา เพื่อให้ภาพใบหน้าของพวกเขาเป็นข้อมูลด้านสุขภาพในระหว่างการรักษาพยาบาลทั้งนี้ ผลลัพธ์เหล่านี้บ่งชี้ว่าหน้ากากดิจิทัลมีศักยภาพสูงในโรงพยาบาลทางอินเทอร์เน็ตและการแพทย์ทางไกล

ข่าวที่เกี่ยวข้อง