รีเซต

กยท. ปิดจ๊อบประกันรายได้ยาง เฟส 3 ใช้งบเพียง 2.29 พันล้าน รับอานิสงส์ราคายางพุ่ง

กยท. ปิดจ๊อบประกันรายได้ยาง เฟส 3 ใช้งบเพียง 2.29 พันล้าน รับอานิสงส์ราคายางพุ่ง
มติชน
4 เมษายน 2565 ( 10:00 )
38
กยท. ปิดจ๊อบประกันรายได้ยาง เฟส 3 ใช้งบเพียง 2.29 พันล้าน รับอานิสงส์ราคายางพุ่ง

นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผยว่า แม้ในปัจจุบันราคายางจะปรับตัวขึ้นสูงแล้ว โดยราคาน้ำยางสด อยู่ที่ 67.50 บาท ปรับเพิ่ม 0.30 บาท ยางก้อนถ้วย 51.10 บาท ราคาคงที่ ยางแผ่นดิบ 67.15 บาท ปรับเพิ่ม 1.81 บาท ยางแผ่นรมควัน 72.95 บาท ปรับเพิ่ม 1 บาท แต่โครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ยังเป็นโครงการที่สำคัญ และถือเป็นการช่วยเหลือเหลือเกษตรกรโดยใช้มาตรการทางอ้อม (Indirect Payment) ซึ่งเป็นแนวทางการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรให้มีรายได้สม่ำเสมอในภาวะวิกฤตจากการระบาดของโควิด-19 โดยการดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ซึ่งจะสามารถช่วยเหลือเกษตรกรในกรณีที่รายได้ของเกษตรกรลดลงจากรายได้ที่คาดว่าเกษตรกรควรจะได้รับ และลดผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของเกษตรกร

 

นายณกรณ์ กล่าวอีกว่า กยท. จึงได้จัดทำโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 1-3 ระยะเวลาโครงการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562- มีนาคม 2565 ประกันราคายาง 3 ชนิด ดังนี้ ยางแผ่นดิบคุณภาพดี 60 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) น้ำยางสด (DRC 100%) 57 บาทต่อกก. และยางก้อนถ้วย (DRC 50%) 23 บาทต่อกก. ซึ่งปัจจุบันสิ้นสุดระยะเวลาในการประกันรายได้แล้ว โดยการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 3 ยังอยู่ในช่วงเวลาจ่ายเงินประกันราคา หรือตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564-กันยายน 2565 งบประมาณ 10,065 ล้านบาท ผลการจ่ายเงินให้แก่เกษตรกร 6 งวด ทั้งสิ้น 1,467,981 ราย เป็นเงินจำนวนเงิน 2,292 ล้านบาท ซึ่งถือว่าใช้งบประมาณน้อยกว่าระยะที่ 1 และ 2 เนื่องจากความต้องการที่มีมากขึ้น เป็นผลให้ในช่วงต้นปีที่ผ่านมาราคายางพาราเริ่มฟื้นกลับมา และสูงกว่าราคาที่ภาครัฐประกันรายได้ ในงวดที่ 5 และ 6 ของระยะที่ 3 จึงไม่มีการจ่ายเงินประกันรายได้ให้กับเกษตรกรในงวดดังกล่าว

 

“แม้ราคายางพาราจะเริ่มกลับมามีราคาดีมากขึ้นแล้ว แต่การประกันรายได้พืชเกษตรก็ยังต้องมีต่อไป เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตร และเป็นการช่วยให้เสถียรภาพราคายางพาราในประเทศเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นอีกด้วย” นายณกรณ์ กล่าว

 

นายณกรณ์ กล่าวอีกว่า สำหรับโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 1 (ตุลาคม 2562-กันยายน 2563) มีงบประมาณ 24,278 ล้านบาท ผลการจ่ายเงินให้แก่เกษตรกร ทั้งสิ้น 1,272,883 ราย จำนวนเงิน 24,172 ล้านบาท ส่วนโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 2 (ตุลาคม 2563-กันยายน 2564) ผลการจ่ายเงินให้แก่เกษตรกร งบประมาณ 10,042 ล้านบาท ทั้งสิ้น 1,124,9902 ราย จำนวนเงิน 7,553 ล้านบาท

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง