รีเซต

คิดให้ดีก่อน...ค้ำประกันรถยนต์ให้คนอื่น!

คิดให้ดีก่อน...ค้ำประกันรถยนต์ให้คนอื่น!
TeaC
5 ตุลาคม 2564 ( 13:53 )
535
คิดให้ดีก่อน...ค้ำประกันรถยนต์ให้คนอื่น!

ร้อนแรงกลางรายการโหนกระแสล่าสุดอีกแล้ว หลังพิธีกรหนุ่ม กรรชัย นั่งล้อมวงคุยประเด็นคลิปดังบนโลกออนไลน์ เมื่อหนุ่มวันใหญ่กระโดดบังหน้ารถยนต์ของหญิงสาวรายหนึ่ง เหตุอยากได้รถยนต์คืน เพราะค้ำประกันรถยนต์แทน จนเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ วันนี้ TrueID ขอหยิบยกเรื่องใกล้ตัวเกี่ยกวับเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ ที่หลายคนอาจใจอ่อนเป็น "ผู้ค้ำ" ให้ สุดท้ายตัวเองต้องใช้เงินแทนคนอื่น เดือดร้อนกันให้เห็นเหมือนเคสอื่น ๆ 

 

ค้ำประกันรถยนต์ คืออะไร? ทำไมต้องมี

 

สำหรับการค้ำประกันรถยนต์ จะเกิดขึ้นเมื่อมีการทำสัญญาการกู้เงินด้วยการนำรถบยต์ไปเข้าไฟแนนซ์ โดย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ระบุไว้ว่า

 

  • เจ้าของรถที่ต้องการขอสินเชื่อกับบริษัท เรียกว่า "ลูกหนี้"
  • ผู้ให้สินเชื่อ บริษัท เรียกว่า "เจ้าหนี้"

 

และการยื่นเอกสารเพื่อทำสัญญาขอสินเชื่อในบางบริษัทอาจต้องการ "คนค้ำประกัน" เพื่อเป็นหลักประกันว่า จะมีผู้รับผิดชอบหนี้แทน ถ้าหากลูกหนี้ทำผิดสัญญาไม่ยอมจ่ายหนี้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา สรุปให้เข้าใจง่าย ๆ คือ ถ้าลูกหนี้เบี้ยว คนค้ำประกันต้องตกเป็น "ลูกหนี้ชั้นสอง" รับภาระในการใช้หนี้แทนตามข้อตกลงในสัญญากู้ที่ทำร่วมกันไว้นั่นเอง 

 

 

หลวมตัวค้ำประกันไปแล้ว ทำยังไงได้บ้าง?

 

หากใครที่หลวมตัวค้ำประกันรถยนต์แทนคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นญาติสนิท เพื่อนสนิท คนรัก เป็นต้น สิ่งที่ควรรู้เลยนั่นคือ สิทธิ์ของคนค้ำประกัน โดยหากลูกหนี้ผิดนัดจ่ายค่างวดล่วงเลยระยะเวลาที่กำหนด หรือเจ้าหนี้เรียกตามเก็บจากลูกหนี้จนสุดความสามารถ สุด ๆ แล้วนั่น เจ้าหนี้จะไม่สามารถเรียกตามเก็บเงินจากคนค้ำประกันได้ทันที เพราะต้องแจ้งให้คนค้ำประกันรู้ล่วงหน้าก่อนเป็นเวลา 60 วัน

 

และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉบับปรับปรุงใหม่ 2558 ได้ให้สิทธิ์กับทาง "คนค้ำประกัน" มากขึ้น ดังนี้

 

1. จำกัดวงเงินหนี้ได้ ซึ่งคนค้ำประกันสามารถกำกัดวงเงินสูงสุดที่ต้องจ่าย และระยะเวลาในการค้ำประกันได้ด้วยการตกลงกันคนที่เป็นลูกหนี้ ว่าต้องการชำระสูงสุดเท่าไหร่ แล้วให้ทำการเซ็นสัญญากับลูกหนี้ให้เป็นลายลักษณ์อักษร


2. ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ย สำหรับการกู้เงินแต่ละประเภทจะมีอัตราดอกเบี้ยที่ลูกหนี้ต้องจ่ายอยู่ในแต่ละงวด ซึ่งในกรณีที่ลูกหนี้ไม่ชำระเงินค่างวดแล้วทางเจ้าหนี้มาเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากคนค้ำประกัน ทางคนค้ำประกันสามารถจ่ายเพียงส่วนที่ตัวเองรับผิดชอบ ตามส่วนที่ทำสัญญาไว้ได้ 

 

และที่สำคัญ หลังจากที่ชำระหนี้ส่วนที่รับผิดชอบให้กับเจ้าหนี้แล้ว คนค้ำประกันยังสามารถฟ้องเอาส่วนที่จ่ายไปคืนกลับมาจากคนที่เป็นลูกหนี้ได้ตามจำนวน พร้อมกับเรียกเก็บดอกเบี้ยหรือค่าเสียหายส่วนอื่น ๆ ได้ด้วย

 

ดังนั้น ก่อนที่จะตัดสินใจค้ำประกันรถยนต์ให้ใคร ก่อนเซ็นสัญญาต่าง ๆ ควรอ่านสัญญาให้ดี เพราะหากเจอลูกหนี้ที่โยนความรับผิดชอบให้ จะได้หาช่องทางในการดำเนินการ และรีบเจรจากับทางเจ้าหนี้

 

ทางออกที่ดีที่สุดเพื่อไม่ให้ตัวเองต้องเดือดร้อน เสียทั้งเวลา เสียทั้งเงิน และอาจเสียมิตรภาพ ใครขอให้ค้ำประกันรถยนตื ปฏิเสธไปตรง ๆ เลยว่า "ไม่สะดวก" 

 

ข้อมูล : วิกิพีเดีย, เงินติดล้อ

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง