รีเซต

วิธีการช่วยเหลือคนถูกไฟฟ้าดูด ไฟฟ้าช็อต ในหน้าฝน อย่างไรให้ปลอดภัย

วิธีการช่วยเหลือคนถูกไฟฟ้าดูด ไฟฟ้าช็อต ในหน้าฝน อย่างไรให้ปลอดภัย
NewsReporter
17 กันยายน 2565 ( 14:48 )
253
วิธีการช่วยเหลือคนถูกไฟฟ้าดูด ไฟฟ้าช็อต ในหน้าฝน อย่างไรให้ปลอดภัย

จากกรณีที่ นักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคอุดรธานี จ.อุดรธานี เข้าช่วยเหลือนักเรียนชายบริเวณหลังโรงเรียนสตรีราชินูทิศ จ.อุดรธานี จากเหตุการณ์ไฟฟ้าดูดเนื่องจากฝนตกน้ำท่วม หากเราอยู่ในสถานการณ์นั้นจะเข้าช่วยเหลืออย่างไรให้ปลอดภัย TrueID มีคำตอบ ทำตามขั้นตอนดังต่อนี้ รับรองว่าปลอดภัย

 

การช่วยผู้บาดเจ็บออกจากบริเวณที่โดนไฟฟ้าช็อต

  1. ห้ามสัมผัสตัวผู้ที่โดนไฟฟ้าดูดด้วยมือเปล่าโดยเด็ดขาด รวมถึงต้องระวังการสัมผัสโดนตัวนำที่อาจนำไฟฟ้ามาถึงตัวผู้ช่วยเหลือได้ เช่น พื้นที่เปียกน้ำ
  2. ตัดกระแสไฟฟ้าในบริเวณที่เกิดเหตุทันที ยกเว้น สายไฟฟ้าแรงสูง ควรแจ้งเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าเพื่อทำการตัดไฟอย่างปลอดภัย

  3. ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถลุกเดินเองไหว ไม่ควรทำการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเองหากผู้ช่วยเหลือไม่ทราบวิธีการเคลื่อนย้ายที่ปลอดภัยเพราะอาจทำให้ผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บมากยิ่งขึ้น ยกเว้น สถานที่นั้นอาจเป็นอันตราย เช่น ยังมีกระแสไฟฟ้ารั่วไหล หรือตึกถล่ม ก่อนสัมผัสตัวผู้บาดเจ็บควรใช้วัสดุที่ไม่เป็นตัวนำไฟฟ้าในการป้องกันตัวเสียก่อน เช่น ถุงมือยาง ผ้าแห้ง พลาสติกแห้ง เป็นต้น

 

การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากไฟฟ้าช็อต

  1. หากผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บจากไฟบ้านทั่วไป และมีเพียงบาดแผลไม่ลึก ไม่มีอาการผิดปกติอื่น สามารถให้การดูแลโดยทำแผลด้วยยาฆ่าเชื้อและสังเกตอาการที่บ้านได้ ยกเว้น ผู้ได้รับบาดเจ็บเป็นเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวบางชนิด เช่น โรคไต โรคหัวใจ ควรนำส่งโรงพยาบาลเพื่อให้แพทย์ประเมินอาการ

  2. หากผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บจากไฟฟ้าแรงสูง มีบาดแผลไหม้ที่มีขนาดใหญ่ ลึก ปวดแผลมาก หรือมีอาการผิดปกติดังต่อไปนี้ ได้แก่ ใจสั่น เจ็บหน้าอก เหนื่อย หมดสติ ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษา

  3. หากผู้ป่วยหมดสติ ต้องพิจารณาว่าผู้ป่วยมีภาวะหัวใจหยุดเต้นหรือหยุดหายใจหรือไม่ และพิจารณาให้การช่วยเหลือตามขั้นตอนการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานต่อไป

 

วิธีป้องกันไฟดูด

  1. หมั่นคอยตรวจเช็คอุปกรณ์และสายไฟ ซ่อมแซมในส่วนที่ชำรุด

  2. วางสายไฟให้พ้นทางเดิน ไม่ควรวางสิ่งของหนักๆ ทับสายไฟ เพราะอาจทำให้สายไฟขาดหรือชำรุดได้ง่าย

  3. ห้ามใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เปียกน้ำ

  4. ห้ามซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าเองโดยที่ไม่มีความรู้

  5. หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าหลายประเภทในเต้าเสียบอันเดียว

  6. ต่อสายดินกับเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชิ้น (ที่จำเป็น) เพื่อให้ไฟฟ้าลงดิน

  7. หากร่างกายเปียกชื้นห้ามแตะอุปกรณ์ไฟฟ้าเด็ดขาด เพราะจะทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายได้สะดวก เป็นอันตรายถึงชีวิต

  8. ควรจะติดตั้งเครื่องตัดไฟฟ้าลัดวงจรภายในบ้าน เพื่อความปลอดภัยและเป็นการป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ

 

  • สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บจากไฟบ้านทั่วไปและมีเพียงบาดแผลไม่ลึกไม่มีอาการผิดปกติอื่นๆสามารถสังเกตอาการที่บ้านได้ ยกเว้น ผู้ได้รับบาดเจ็บเป็นเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวบางชนิด เช่นโรคไตโรคหัวใจควรนำส่งโรงพยาบาลเพื่อให้แพทย์ประเมินอาการอีกครั้ง

  • สำหรับผู้ป่วยที่หมดสติจะต้องพิจารณาว่าผู้ป่วยมีภาวะหัวใจหยุดเต้นหรือหยุดหายใจหรือไม่หากหยุดหายใจจะต้องรีบทำการช่วยเหลือฟื้นคืนชีพ(CPR) ทันที และควรรีบ แจ้งขอความช่วยเหลือทางการแพทย์  โทร BPK Hotline สายด่วน  1745 หรือ 1669 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ

 

ข้อมูล รพ.นครธน , รพ.ศิริราช

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง