รีเซต

จุฬาราชมนตรี ขอ 10 จว.ควบคุมสูงสุด งดละหมาดวันศุกร์ที่มัสยิด ย้ำ 'ฉีดวัคซีน' จำเป็นตามบทบัญญัติศาสนา

จุฬาราชมนตรี ขอ 10 จว.ควบคุมสูงสุด งดละหมาดวันศุกร์ที่มัสยิด ย้ำ 'ฉีดวัคซีน' จำเป็นตามบทบัญญัติศาสนา
มติชน
11 กรกฎาคม 2564 ( 20:32 )
72
จุฬาราชมนตรี ขอ 10 จว.ควบคุมสูงสุด งดละหมาดวันศุกร์ที่มัสยิด ย้ำ 'ฉีดวัคซีน' จำเป็นตามบทบัญญัติศาสนา

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรี ลงนามในประกาศจุฬาราชมนตรี เรื่อง มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ว่าด้วยแนวทางและวิถีปฏิบัติศาสนกิจและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องในสถานการณ์ปัจจุบัน และการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ฉบับที่ 7/2564 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม

 

 

 

ใจความสำคัญคือ เนื่องจากปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ที่กำลังแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว พบผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมากอย่างต่อเนื่องหลายพื้นที่ของประเทศ โดยเฉพาะใน กรุงเทพฯ นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร และในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลานั้น

 

 

 

สถานการณ์ดังกล่าว นอกจากจะมีผลกระทบต่อความปลอดภัยของการดำเนินชีวิตและสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อเศรษฐกิจของประเทศแล้ว ยังมีผลกระทบโดยตรงต่อวิถีชีวิตของมุสลิมที่ต้องปรับให้เข้ากับสถานการณ์ เพื่อรักษาการปฏิบัติศาสนกิจตามบทบัญญัติของศาสนาให้มีความปลอดภัยจากโรคระบาดดังกล่าว

 

 

จึงขอให้พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มข้นทั้ง 10 จังหวัด งดการละหมาดญะมาอะห์และการละหมาดวันศุกร์ที่มัสยิด นอกจากนี้ยัง ขอให้งดการละหมาดอีฏิ้ลอัดฮาที่มัสยิดและทุกสถานที่ที่จัดเตรียมไว้ทั่วประเทศ และให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดแจ้งมัสยิดได้ผระกาศแจ้งให้สัปปุรุษในชุมชนละหมาดที่บ้านเฉพาะผู้ที่อาศัยในบ้านเดียวกันเท่านั้น

 

 

 

ให้คณะกรรมการอิสลลามประจำจังหวัดแจ้งให้อิหม่านและผู้เกี่ยวข้องจำนวนไม่เกิน 3 คน ทำหน้าที่ตักบีรและอ่านคุตบะห์ (ธรรมกถา) ออกเสียงตามสายที่มัสยิด เพื่อแสดงสัญลักษณ์ของวันอีด

 

 

ขอให้งดการเยี่ยมญาติ และการเยี่ยมกุโบร์ (สุสาน) และงดการจัดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มกันเกินกว่า 5 คน

 

 

สำหรับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 ที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็วและมีอัตราการติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนเป็นเหตุให้เสียชีวิตในเวลาอันใกล้ เป็นสิ่งจำเป็นตามบทบัญญัติของศาสนาอิสลาม เพื่อรักษาไว้ซึ่งชีวิต ทรัพย์สิน และความปลอดภัยของสังคม ทั้งนี้ เกี่ยวกับวัคซีนที่เกี่ยวข้องในปัจจุบัน ยังไม่พบข้อมูลใดยืนยัน หรือรับรองว่ามีการปนเปื้อน หรือมีส่วนผสมของสิ่งต้องห้ามตามหลักการศาสนาอิสลาม

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง