รีเซต

หายป่วยโควิด-19 ยังเสี่ยงโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย-สมองขาดเลือด 3-7 เท่า

หายป่วยโควิด-19 ยังเสี่ยงโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย-สมองขาดเลือด 3-7 เท่า
TNN ช่อง16
16 สิงหาคม 2564 ( 14:43 )
172
หายป่วยโควิด-19 ยังเสี่ยงโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย-สมองขาดเลือด 3-7 เท่า

วันนี้ (16 ส.ค.64) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์เฟซบุ๊กวานนี้ (15 ส.ค.) ระบุถึงปัญหาหลังการหายจากอาการป่วยของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยพบว่า นอกจากผลทางร่างกายในระบบการหายใจและผลทางจิตใจแล้ว ผู้ที่รอดหรือฟื้นตัวหลังจากป่วยด้วยโรคโควิด-19 ยังจะต้องเผชิญกับปัญหาความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดที่ตามมา โดยเฉพาะโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (acute myocardial infarction) และ โรคสมองขาดเลือด (ischemic stroke) อีกด้วย

 

 

ในระลอกนี้ตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นมา ประเทศไทยน่าจะมีผู้ป่วยทะลุหลักล้านได้ภายในสิ้นเดือนนี้ ดังนั้น แพทย์ที่มีประสบการณ์ดูแลผู้ป่วยจำนวนมาก นอกเหนือจากภาวะอุดตันของหลอดเลือดดำและนำไปสู่ภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดแดงปอดเฉียบพลัน (acute pulmonary embolism) ที่พบได้เนืองๆ กว่าโรคปอดอักเสบจากเชื้อโรคอื่น คงได้มีโอกาสพบภาวะแทรกซ้อนในระบบหัวใจและหลอดเลือด ทั้งในระหว่างที่ผู้ป่วยอยู่ในโรงพยาบาล หรือหลังออกจากโรงพยาบาลไประยะหนึ่งแล้ว

 

 

จากการศึกษาในเชิงระบาดวิทยาในประเทศสวีเดน ที่มีระบบฐานข้อมูลสุขภาพของประชาชนในประเทศที่สมบูรณ์ครบถ้วน ได้ทำการติดตามผู้ป่วยโควิด-19 จำนวน 86,000 กว่าคน พบว่า มีอัตราเสี่ยงอุบัติการณ์ (incidence rate ratio) การเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันและสมองขาดเลือด อยู่ระหว่าง 3-7 เท่าเมื่อเทียบกับคนทั่วไป ภายในช่วง 2 สัปดาห์นับจากวันที่ตรวจพบเชื้อ (day of infection, DOI) หรือ วันที่เริ่มมีอาการ (day of symptom onset, DOS) แล้วจึงลดลงเหลือประมาณ 2 เท่าในช่วงสัปดาห์ที่ 3 และ 4 ถัดมา

 

 

เหตุที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 คือ นอกจากทำให้เกิดภาวะภูมิคุ้มกันร่างกายทำงานปกป้องตัวเองมากเกิน (cytokine storm) แล้ว ยังทำให้เกิดความผิดปกติหลายอย่างของเซลล์ผนังหลอดเลือด (activation, injury, dysfunction, and apoptosis of endothelial cells

 

 

นอกจากนี้ยังทำให้เกิดความผิดปกติที่ส่งเสริมในอีกหลากกลไกทั้ง เลือดแข็งตัวง่าย เกล็ดเลือดถูกกระตุ้น และ ACE2 receptor downregulation

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง