รีเซต

กรมวิทย์ฯ ยังไม่พบโควิดสายพันธุ์ใหม่ "โอไมครอน" ในไทย-ประสานรพ.ส่งตัวอย่างตรวจ

กรมวิทย์ฯ ยังไม่พบโควิดสายพันธุ์ใหม่ "โอไมครอน" ในไทย-ประสานรพ.ส่งตัวอย่างตรวจ
TNN ช่อง16
27 พฤศจิกายน 2564 ( 14:56 )
96
กรมวิทย์ฯ ยังไม่พบโควิดสายพันธุ์ใหม่ "โอไมครอน" ในไทย-ประสานรพ.ส่งตัวอย่างตรวจ

วันนี้ (27 พ.ย.64) ที่ศูนย์แถลงข่าวโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุถึงสายพันธุ์โควิด "B.1.1.529" หรือมีชื่อว่า "โอไมครอน" (Omicron) ที่ องค์การอนามัยโลก (WHO) จัดให้เป็นสายพันธุ์ที่น่าวิตกกังวล ซึ่งพบที่ประเทศแอฟริกาใต้ โดยมีการกลายพันธุ์ 32 ตำแหน่งที่จะสไปร์โปรตีน พบเมื่อ 11 พ.ย.ที่ผ่านมา ตรวจพบ 74 ราย ในประเทศแอฟริกาใต้ และตรวจพบ 2 ราย เป็นผู้เดินทางเข้าประเทศฮ่องกง แต่ยังไม่พบในประเทศไทย

ขณะเดียวกัน ผู้ที่ตรวจพบสายพันธุ์ดังกล่าวได้รับวัคซีนครบแล้ว ขณะนี้ทั่วโลกสายพันธุ์เดลต้า ยังคงครองสัดส่วนการแพร่ระบาดมากที่สุด

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อธิบายว่า ปกติไวรัสโควิดมีตำแหน่งจี 30,000 กว่าตำแหน่ง โดยสายพันธุ์นี้กลายพันธุ์ไป 50 กว่าตำแหน่ง และมี 32 ตำแหน่งที่กลายพันธุ์บนสไปร์ทโปรตีน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่เป็นโปรตีนหนามที่จะจับกับเซลล์มนุษย์และเข้าไปทำอันตราย เมื่อครั้งที่สายพันธุ์ เดลต้า กลายพันธุ์บนสไปร์โปรตีนกลายพันแค่ 9 ตำแหน่ง


จากข้อสันนิฐานและการเก็บรวบรวมข้อมูล พบว่า สายพันธุ์ใหม่นี้ อำนาจการแพร่เชื้อได้มากขึ้น บางส่วนน่าจะหลบภูมิคุ้มกันได้พอสมควร รวมถึงข้อมูลเบื้องต้นในพื้นที่ที่พบการตรวจเจอเชื้อ ปริมาณเชื้อในร่างกายเข้มข้นหมายความว่า ก็จะหาเชื้อนี้ได้ง่ายหากทำการตรวจเชื้อ

ส่วนสถานการณ์ในประเทศไทยมีการสุ่มตรวจตัวอย่างเชื้อทุกสัปดาห์ประเทศไทยยังคงเป็นสายพันธุ์เดลต้า ร้อยละ 99.64 ส่วนอัลฟ่า เบต้า พบเล็กน้อย โดยได้มีการรายงานเข้าระบบกลาง จีเซท 7,000 กว่าเคส


ทั้งนี้ จะมีการประสาน รพ.เอกชน หรือ บริษัทคู่สัญญา โรงพยาบาลเอกชน ให้ส่งตัวอย่างเชื้อที่พบผลบวกจากผู้ที่เดินทางเข้าประเทศ เพื่อมาทำการตรวจสายพันธุ์ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อดูว่าที่ผ่านมามีสายพันธุ์ B.1.1.529 หรือไม่ อีกทั้งจะทำการเข้มงวดตรวจเชื้อในกลุ่มผู้เดินทางเข้าประเทศไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดให้มากขึ้น

อย่างไรก็ดี อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ย้ำว่า โควิดสายพันธุ์ B.1.1.529 เป็นการกลายพันธุ์ตัวใหม่ น่าห่วง คือ การกลายพันธุ์หลายตำแหน่ง โดยเฉพาะบนสไปรท์โปรตีน แต่ข้อมูลยังมีไม่มากพอซึ่งยังคงต้องร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกที่จะติดตามว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต เพื่อเตรียมรองรับมาตรการอาจจะเพิ่มขึ้น

ภาพจาก กระทรวงสาธารณสุข


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง