สำรวจต่างประเทศฉีดวัคซีนในเด็ก! โมเดลไหนเป็นอย่างไร ใช้กี่เข็ม?
อีกหนึ่งเรื่องที่ถูกพูดถึงอย่างมาก "วัคซีนโควิด-19 สำหรับเด็ก" กลุ่มเปราะบางที่น่าเป็นห่วงหลังช่วงหลัง ๆ ตัวเลขอัตราการติดเชื้อโควิดในเด็กมีจำนวนเพิ่มขึ้น ซึ่งเกิดจากการสัมผัสของคนในครอบครัว คนใกล้ชิด หรือผู้ปกครอง กลายเป็นเรื่องน่าเป็นห่วง โดยประเทศไทยได้เริ่มฉีดวัคซีน Pfizer ให้เด็กที่เป็นกลุ่มโรคเรื้อรังรุนแรง อาทิ โรคอ้วน โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งและภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ โรคเบาหวาน และกลุ่มโรคพันธุกรรมรวมทั้งกลุ่มอาการดาวน์ เด็กที่มีภาวะบกพร่องทางระบบประสาทอย่างรุนแรง เด็กที่มีพัฒนาการช้า
รวมทั้งในวันที่ 4 ตุลาคม 2564 จะเริ่มมีการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ให้กลุ่มเด็กปกติ อายุ 12-17 ปี ซึ่งผู้ปกครองบางคนอาจเป็นไปได้ที่จะเกิดความกังวลและเกิดคำถามว่า จริง ๆ แล้วเด็กควรฉีดวัคซีนโควิดหรือไม่?
ขณะที่ มื่อวันที่ 20 กันยายน ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นประธานเปิดโครงการ “Vacc 2 School” นำร่องฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มให้กับเด็กและเยาวชนอายุระหว่าง 10-18 ปี กว่า 2,000 คน จากกลุ่มเด็กและเยาวชนเป้าหมายกว่า 50,000 คน ใน 89 โรงเรียน ที่เข้าร่วมโครงการ ที่บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ถนนแจ้งวัฒนะ ซึ่งการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เข็มแรกในวันนี้ จะเว้นระยะเวลาการฉีดเข็มที่ 2 ประมาณ 3-4 สัปดาห์ เท่านั้น
โดยศ.นพ.นิธิ ได้กล่าวว่า การจัดฉีดวัคซีนโรคโควิด-19 ให้เด็กและเยาวชนในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิจัย มี 2 ประเด็น คือ
- ศึกษาดูอาการข้างเคียง
- การป้องกันการระบาดในโรงเรียนและในครอบครัวของเด็ก
ซึ่งประเทศไทยจะได้ข้อมูลเพิ่มเติม แม้จะมีข้อมูลในต่างประเทศอยู่แล้วก็ตาม รวมถึงจะมีการติดตามอาการข้างเคียงหลังรับวัคซีนว่า จะใช้ระบบเหมือนผู้ใหญ่ คือ การส่งข้อความถามไป จะมีผู้ปกครอง และโรงเรียนที่มีผู้รับผิดชอบตามที่ได้กำหนดไว้ว่าเป็นใคร และอีกส่วนคือ การติดตามการติดเชื้อในครอบครัวที่จะทำการสอบถามไปเช่นกัน และนี่คือข้อมูลเพียงบางส่วนที่หยิบมาให้ศึกษากัน
ดังนั้น เราลองไปสำรวจแต่ละประเทศในโลกกันดูหน่อยว่า เขามีโมเดลในการฉีดวัคซีนในเด็กอย่างไรบ้าง? ใช้กันกี่เข็ม? มีข้อมูลงานวิจัยอะไรบ้าง? หวังว่าจะเป็นการเพิ่มความรู้และประโยชน์ให้พ่อแม่ผู้ปกครอง หรือคนใกล้ชิดบุตรหลานได้ศึกษากัน
วัคซีนโควิดกับเด็กในต่างประเทศ?
สำหรับในต่างประเทศส่วนมากจะใช้วัคซีนชนิด mRNA ในการฉีดวัคซีนในเด็กไปมากมาย และได้มีการกำหนดอายุที่แตกต่่างกันออกไป โดยเริ่มที่ประเทศยักษ์ใหญ่อย่างประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้อนุมัติให้ฉีดวัคซีน Pfizer ในเด็กอายุ 12-17 ปีได้แล้ว โดยมีตัวเลขเด็กที่ได้รับวัคซีนเข็มแรกแล้วราว 42% ส่วนเข็มที่ 2 ราว 32% เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
ขณะเดียวกัน มีงานวิจัยชี้ชัดว่าวัคซีนไฟเซอร์ปลอดภัย สามารถสร้างภูมิคุ้มกันโควิด ที่แข็งแรงให้กับเด็กอายุ 5-11 ปี ได้ ทางการสหรัฐฯ จึงได้เตรียมระดมฉีวัคซีนให้กลุ่มดังกล่าวแล้วเสร็จในสิ้นเดือนตุลาคมนี้ด้วย
และในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา สำนักงานอาหารและยาของสหรัฐฯ (FDA) ยังได้นุมัติวัคซีน Pfizer แบบเต็มรูปแบบ โดยภาคเอกชนมีอิสระสามารถซื้อวัคซีนกับผู้ผลิตได้โดยตรงไม่ต้องผ่านหน่วยงานของรัฐฯ และให้ใช้กับคนทั่วไปที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป แต่ยังให้ใช้ในกรณีฉุกเฉินได้สำหรับคนที่อายุ 12-15 ปี และการฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 ให้กับผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันอ่อนแออีกด้วย
มาต่อกันที่ประเทศนอร์เวย์ ได้มีการเริ่มใช้วัคซีนไฟเซอร์เข็มแรกก่อนฉีดให้กับกลุ่มเด็กอายุ 12-15 ปี เพื่อประเมินผลข้างเคียง การพัฒนาไวรัส และสถานการณ์ภาพรวมก่อนค่อยตัดสินใจว่าจะฉีดเข็มสองให้กลุ่มเด็กหรือไม่?
ญี่ปุ่น ประเทศเพื่อนบ้านของไทยเป็นอีกหนึ่งประเทศในเอเชียที่อนุมัติให้ใช้วัคซีนชนิด mRNA ในกลุ่มเด็กแล้ว โดยกำหนดให้เด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป สามารถรับวัคซีน Pfizer หรือ Moderna ได้ และต้องรับ 2 เข็ม ซึ่งทางการระบุไว้ว่า การฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 และ 2 นั้น ควรรับวัคซีนชนิดเดียวกัน และสิ่งที่น่าสนใจคือ ทางการยังรุถึงความสำคัญของระยะห่างในการใหเวัคซีนระหว่างเข็มที่ 1 และ 2 ว่า ควรเป็นไปตามข้อกำหนดที่บริษัทผู้ผลิตกำหนดเอาไว้
ขณะที่ ประเทศเกาหลี ใต้อนุมัติการฉีดวัคซีน Pfizer เท่านั้นให้กับเด็กอายุระหว่าง 16-17 ปีแล้ว ส่วนคนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป สามารถฉีดวัคซีนของ Moderna ได้ โดยเกาหลีใต้ได้ขยายระยะห่างระหว่างเข็มเป็น 6 สัปดาห์ จากเดิม 4 สัปดาห์ เนื่องด้วยความล่าช้าในการจัดส่งวัคซีน
ส่วนเด็กกลุ่มอายุ 12-15 ปี เกาหลีใต้ยังไม่อนุมัติการฉีดวัคซีน COVID-19
และนี่คือโมเดลในการฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มเด็กของแต่ละประเทศ ทั้งเรื่องเกณฑ์อายุ จำนวนเข็มในการฉีด ผลข้างเคียงต่าง ๆ ล้วนเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องศึกษาให้รอบด้านก่อนตัดสินใจให้ลูกหรือบุตรหลานฉีดวัคซีนโควิด เพราะเด็กเป็นกลุ่มเปราะบางที่ต้องใส่ใจ
ข้อมูล : bbc.com, CNN.com, The Matter