รีเซต

นานาชาติไม่รับ รัฐประหาร2020 ประเทศมาลี - ปธน.แถลงลาออก เลี่ยงปะทะ

นานาชาติไม่รับ รัฐประหาร2020 ประเทศมาลี - ปธน.แถลงลาออก เลี่ยงปะทะ
ข่าวสด
19 สิงหาคม 2563 ( 16:11 )
390
นานาชาติไม่รับ รัฐประหาร2020 ประเทศมาลี - ปธน.แถลงลาออก เลี่ยงปะทะ

 

นานาชาติไม่รับ รัฐประหาร2020 ประเทศมาลี - ปธน.แถลงลาออก เลี่ยงปะทะ

เมื่อวันที่ 19 ส.ค. เอเอฟพีรายงานความคืบหน้าการก่อรัฐประการที่ประเทศมาลี ชาติในภาคตะวันตกของทวีปแอฟริกา ว่าประธานาธิบดีอิบราฮิม โบบาคาร์ เคตา ผู้นำมาลี ประกาศลาออกจากตำแหน่งแล้ว ให้เหตุผลว่า เพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียเลือดเนื้อ หลังถูกคณะรัฐประหารนำไปควบคุมตัวที่ค่ายทหารที่นอกกรุงบามาโก พร้อมกันกับนายโบโบ ซิสซี นายกรัฐมนตรี

 

https://www.youtube.com/watch?v=7W_Q61SGlIM

 

เหตุรัฐประหารดังกล่าวเกิดขึ้นหลังประเทศมาลีเผชิญกับสถานการณ์โกลาหลหลายด้าน อาทิ เหตุประท้วงและจลาจลจากความไม่พอใจต่อภาวะเศรษฐกิจชะงักงันต่อเนื่องหลายเดือน ข้อครหาคอร์รัปชั่นของรัฐบาล การก่อเหตุโจมตีของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนต่อเนื่อง และซ้ำเติมต่อด้วยการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาปี 2019 หรือโควิด-19

 

แม้ประธานาธิบดีเคตาเสนอจัดการเลือกตั้งใหม่ แต่หลังการเลือกตั้งที่เพิ่งผ่านไปเต็มไปด้วยข้อครหาว่ามีการโกงเกิดขึ้น ตามมาด้วยการที่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินเพิกถอนสิทธิผู้ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ชนะเลือกตั้งหลายคน สร้างความเดือดดาลให้กับชาวมาลีที่ออกมาประท้วงขับไล่

 

  • Malian President Ibrahim Boubacar Keita appears on state television to announce his resignation late Tuesday Aug. 18, 2020. (ORTM TV via AP)
  •  

ประธานาธิบดีเคตา แม้ผู้นำมาลีจะปลดตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไปแล้วก็ไม่ทำให้ผู้ประท้วงพอใจ
ประธานาธิบดีเคตา แถลงผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจเมื่อเวลาประมาณเที่ยงคืนโดยมีสีหน้าเรียบเฉย

 

"หากบางส่วนของกองทัพตัดสินใจแล้วว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชาติของเราสมควรจบลงด้วยการที่พวกเขาเข้ามาแทรกแซง ข้าพเจ้านั้นจะยังมีทางเลือกอื่นอีกหรือไม่" และว่า "ข้าพเจ้าจำเป็นต้องยินยอมเพราะไม่ต้องการให้เกิดความสูญเสียเลือดเนื้อ"

 

Soldiers are greeted by crowds of people, as military are stationed around President Ibrahim Boubacar Keita's city residence where he and the prime minister were later detained, in Bamako, Tuesday Aug. 18, 2020. (AP Photo)

ต่อมา พันอากาศเอก อิสมาเอล วากิว รองประธานคณะเสนาธิการทหาร ประกาศออกโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจว่า พวกตนตัดสินใจที่จะแสดงความรับผิดชอบต่อประชาชนชาวมาลีและต่อประวัติศาสตร์ โดยยืนยันว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้งภายในกรอบระยะเวลาที่ "เหมาะสม" ท่ามกลางคำเตือนจากชาติเพื่อนบ้านที่แสดงความไม่เห็นด้วยต่อวิถีทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว

 

Smoke rises from the residence of Mali's finance minister Kassim Tapo in Bamako Tuesday Aug. 18, 2020. (AP Photo/Mohamed Salaha)

ด้าน กลุ่มประชาคมเศรษฐกิจแห่งรัฐแอฟริกาตะวันตก หรืออีโควาส (ECOWAS) ออกแถลงการณ์ประณามการกระทำของกองทัพมาลีทันที โดยระบุว่าจะใช้มาตรการลงโทษเริ่มจากการปิดน่านฟ้าและพรมแดนทั้งหมดต่อประเทศมาลี และคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อบรรดาผู้มีส่วนร่วมในการก่อรัฐประหารดังกล่าว รวมทั้งระงับสถานะสมาชิกของมาลีในกลุ่มอีโควาสชั่วคราวด้วย

 

นายอันโตนีโอ กูเตร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ หรือยูเอ็น กล่าวเรียกร้องให้คณะรัฐประหารในมาลีปล่อยตัวประธานาธิบดีเคตา และนายกรัฐมนตรีทันทีอย่างไม่มีเงื่อนไข ขณะที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ หรือยูเอ็นเอสซี เรียกประชุมฉุกเฉิน เช่นเดียวกันกับทางการสหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส อดีตเจ้าอาณานิคมของมาลี แถลงแสดงความกังวล

 

ส่วนประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครง ผู้นำฝรั่งเศส กล่าวประณามคณะรัฐประหาร ว่าก่อกบฏ และฝรั่งเศสสนับสนุนการแก้ไขปัญหาอย่างสันติวิธีผ่านการหารือร่วมกันกับชาติอีโควาส

 

เช่นเดียวกันกับนายเจ. พีเตอร์ แฟม ผู้แทนสหรัฐในแอฟริกาตะวันตก เรียกร้องให้ทุกฝ่ายใช้ความอดกลั้น และคัดค้านการแก้ไขปัญหาด้วย "อำนาจนอกรัฐธรรมนูญ"

ข่าวที่เกี่ยวข้อง