เดือนนี้ “จ่ายเงินสมทบประกันสังคม” เท่าไหร่ ? สิ้นสุดปรับลดเงินสมทบผู้ประกันตน “ม.33-ม.39”
หลังจากสถานการณ์โควิด-19 แพร่ระบาดเป็นวงกว้าง ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก ทางสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ได้เสนอ ครม. อนุมัติร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ปรับลดอัตราเงินสมทบทั้งนายจ้างและผู้ประกันตน มาตรา 33 และมาตรา 39 ภายในงวดเดือนมิถุนายน – สิงหาคม 2564 เป็นเวลา 3 เดือน
โดยเดือนกันยายน 2564 นี้ เป็นต้นไป ต้องส่งเงินสมทบประกันสังคมในอัตราเดิมแล้ว เนื่องจากครบกำหนดการลดเงินสมทบนายจ้างและลูกจ้าง ม.33-ม.39 รวมผู้ประกันตน มาตรา 33 มาตรา 39 ทั้งหมด จำนวน 12.9 ล้านคน
กฎกระทรวงแรงงาน กำหนดให้รัฐบาล นายจ้าง และผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ออกเงินสมทบเข้ากองทุนเพื่อการจ่ายประโยชน์ประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีคลอดบุตร กรณีสงเคราะห์บุตร กรณีชราภาพ และกรณีว่างงาน ตามบัญชีอัตราเงินสมทบท้ายประกาศ
กำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม
นายจ้าง และผู้ประกันตนมาตรา 33
นายจ้าง และผู้ประกันตน ตามมาตรา 33 จ่ายเงินสมทบประกันสังคม 5% จากเดิม 2.5%
วิธีคำนวณ
เงินเดือน x 5% = จำนวนเงินที่ถูกหักเข้าประกันสังคมในแต่ละเดือน
ยกตัวอย่าง
เงินเดือน 15,000 บาท x 5% = 750 บาท
คำตอบ 750 บาท คือ จำนวนเเงินที่ถูกหัก เพื่อส่งเงินสมทบประกันสังคม
ผู้ประกันตน ม.39
ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 คือ ผู้ที่เคยทำงานในบริษัท หรืออยู่ในมาตรา 33 มาก่อน แต่ว่างงาน หรือลาออก ไม่เกิน 6 เดือน และเคยส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 12 เดือนขึ้นไป แต่ยังอยากได้รับสิทธิ์ประโยชน์จากประกันสังคมอยู่
กำหนดให้ส่งเงินสมทบ เดือนละ 9% จากเดิม 4.5% โดยเงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ คือ เดือนละ 4,800 บาท เท่ากันทุกคน เช่น
วิธีคำนวณ
เงินเดือน 4,800 บาท (เงินเดือน) x 9% (เงินหักเข้าประกันสังคม) = 432 บาท (จำนวนเงินที่ถูกหัก)
ข้อมูลจาก ประกันสังคม
--------------------
เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
- 'ประกันสังคม' จ่ายเยียวยาโควิด-19 นายจ้าง-ผู้ประกันตน ม.33 เช็กวิธีเลย!
- ขั้นตอนลงทะเบียน 'ถุงเงิน' เพื่อได้รับเงิน 'เยียวยา' 3,000 บาท สำหรับผู้ประกอบการที่ไม่มีลูกจ้าง
- ตรวจสอบสิทธิ "ม.33-ม.39-ม.40" เพื่อรับเงินเยียวยาจาก ประกันสังคม รับเงิน 5,000-10,000 บาท ที่นี่
- นายจ้าง-ลูกจ้าง เช็ก! รัฐเยียวยาเงินเท่าไหร่? หลังประกาศ 'กึ่งล็อกดาวน์' ธุรกิจก่อสร้าง-ร้านอาหาร
- เปรียบเทียบ โครงการเยียวยา "ประกันสังคม ม.33 ม.39 ม.40"