รีเซต

“เดือนเมษา สุดร้อน นอนไม่ได้” ความทุกข์แบบทุบสถิติ “เดือนสี่” ที่จะร้อน “หนักขึ้น” ในทุกปี

“เดือนเมษา สุดร้อน นอนไม่ได้” ความทุกข์แบบทุบสถิติ “เดือนสี่” ที่จะร้อน “หนักขึ้น” ในทุกปี
TNN ช่อง16
9 พฤษภาคม 2567 ( 17:49 )
20
“เดือนเมษา สุดร้อน นอนไม่ได้” ความทุกข์แบบทุบสถิติ “เดือนสี่” ที่จะร้อน “หนักขึ้น” ในทุกปี

ปัญหาเรื่องโลกร้อน หรือสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง เกิดความตระหนักรู้มาหลายทศวรรษแล้ว และไม่ได้ร้อนเพียงเราคนเดียว แต่ร้อนด้วยกันเกือบทั้ง 200 กว่าประเทศทั่วโลก


แต่น้อยคนที่จะตอบคำถามได้ว่า โลกร้อนในรายละเอียดแล้ว มีความแตกต่าง “เชิงสถิติเปรียบเทียบ” อย่างไร 


ตรงนี้ มีหน่วยงานที่ทำการศึกษาวิจัยมากมายที่ทำการศึกษา แต่ที่พอจะทำให้เข้าใจได้อย่างรวบรัด นั่นคือ The Copernicus Climate Change Service หรือ C3S ซึ่งเป็นหน่วยวิจัยสภาพอากาศในกำกับดูแลของ the European Centre for Medium-Range Weather Forecasts reanalysis v5 หรือ ERA5


หน่วยงานนี้มีข้อเสนอที่น่าสนใจในรายงานฉบับล่าสุดว่า เดือนเมษายน มีอัตราเฉลี่ยของ “สถิติความร้อน” ในอัตราที่ “สูงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญในทุกปี”


เดือนเดือด


ก่อนอื่นนั้น ต้องเข้าใจก่อนว่า “Research Program” ของงานศึกษาดังกล่าวเป็นอย่างไร 


งานศึกษา Copernicus: Global temperature record streak continues – April 2024 was the hottest on record ในคอลัมน์ APRIL CLIMATE BULLETINS นี้ มีการออกแบบ Research Program โดยลักษณะ “สถิติสภาพภูมิอากาศเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Climate Analysis)” 


วางขอบข่ายศึกษาให้อยู่ในเดือนเมษายนของทุกปี นับตั้งแต่เริ่มเก็บสถิติในยุคเริ่มต้นการปฏิวัติอุตสาหกรรม 1850-1900 มาจนถึงปัจจุบัน


ตามข้อสรุป พบความน่าสนใจอย่างน้อย 3 กรณี ดังต่อไปนี้


ประการแรก เดือนเมษายน 2024 มีอุณหภูมิพื้นผิวอากาศอยู่ที่ 15.03 องศาเซลเซียส ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยสถิติตั้งแต่ปี 1991-2020 โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 0.67 องศาสเซลเซียส และทำลายสถิติเดิมในเดือนเมษายน 2016 ลงไป โดยห่างกัน 0.14 องศาเซลเซียส


ประการต่อมา อุณหภูมิในเดือนเมษายน 2024 ทั่วยุโรปสูงขึ้น 1.49 องศาเซลเซียส สูงที่สุดเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยสถิติตั้งแต่ 1991-2020 ส่วนในภูมิภาคอื่น ๆ ก็มีค่าเฉลี่ยทางสถิติที่สูงกว่าในอดีตเช่นกัน


ประการท้ายสุด เดือนเมษายน 2024 นี้ ร้อนที่สุดนับตั้งแต่หน่วยงานนี้เก็บสถิติย้อนหลังมา คือยุคยุคเริ่มต้นการปฏิวัติอุตสาหกรรม 1850-1900


ทำให้วิเคราะห์ได้ว่า เส้นสถิติอุณหภูมิโลกในเดือนเมษายน เป็นไปแบบ “Soaring” หรือก็คือ มีการเพิ่มขึ้นอย่างอัตราก้าวหน้ามาโดยตลอด ไม่มีแนวโน้มของการคงสภาพหรือการเคลื่อนที่ในอัตราลดแต่อย่างใด ดังที่แสดงผลออกมาตามกราฟฟิคด้านล่างนี้



จึงอาจเป็นนัยบ่งชี้ได้ว่า เดือนเมษายนในปีต่อ ๆ ไป ต้องเฝ้าระวังอันตรายที่มาจากสถิติความร้อนที่เพิ่มสูงขึ้นให้มากขึ้นตามลำดับ ดังที่ คาร์โล บูออนเทมโป ผู้อำนวยการหน่วยวิจัย C3S อธิบายว่า


“... จริงอยู่ เอลนีโญผ่านมาและก็ผ่านไป แต่อย่าลืมว่าความร้อนที่มากับสิ่งนี้ไม่ได้หายไปด้วย เพราะยังได้รับการกักเก็บไว้ภายใต้ก๊าซเรือนกระจกและผืนมหาสมุทร ที่จะยังคงเพิ่มการสร้างสถิติอุณหภูมิให้โลกต่อ ๆ ไป”


ข้อสังเกตการวิจัย


หากพิจารณางานวิจัยดังกล่าวดี ๆ จะพบถึงความน่าสงสัยบางอย่าง เพราะมีการนำสถิติของปัจจุบัน ไปเทียบเคียงกับอดีต ซึ่งเป็นยุคก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการอนุมานเชิงสถิติเพื่อสร้างตัวแบบและแบบแผนในการทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลง


แต่ในงานศึกษานี้ เปรียบเทียบกับในอดีตที่ “ยังไม่มีอุตสาหกรรม” คือในยุค 1850-1900 นั่นหมายความว่า คือการเปรียบเทียบ 0 กับจำนวนนับ “ที่มีค่าทางสถิติ” 


เมื่อเปรียบเทียบเช่นนี้ ไม่ว่าจะอย่างไร ในปัจจุบันที่เต็มไปด้วยอุตสาหกรรมหนัก ก็จะต้องมีอุณหภูมิที่มากกว่าอยู่แล้ว สำหรับประเด็นนี้ ในทางวิธีวิทยาแล้ว มักไม่ได้ “สร้างนัยบ่งชี้ทางสถิติอย่างครบถ้วน” นัก


เช่นนี้ ก็เหมือนกับการเทียบว่า นักธุรกิจประสบการณ์ 20 ปี ติดหนี้และล้มเหลวอย่างมาก กับพวกลูกคนร่ำรวย  ไม่เคยทำธุรกิจใด ๆ เลย และสรุปว่า นักธุรกิจน่าเป็นห่วงกว่า เช่นนี้ จะมีนัยบ่งชี้ได้อย่างไร


แต่อย่างน้อย ๆ วิจัยนี้ก็ทำให้เราตระหนักได้ว่า “เดือนเมษา สุดร้อน นอนไม่ได้” ไม่ได้เป็นคำกล่าวที่เกินจริงแต่อย่างใด


แหล่งอ้างอิง


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง