ตอนนี้คุณมี 'เงินออม' เท่าไหร่? เพราะถ้าไม่เริ่มเก็บเงิน...อาจช้าไปแล้ว!
เข้าสู่เดือนใหม่พร้อมเงินเดือนใหม่!!! คุณเคยนั่งนึกย้อนกันไหมว่า เราเริ่มออมเงิน เก็บเงินครั้งแรกเมื่อตอนอายุเท่าไหร่ เก็บเงินจำนวนเท่าไหร่ แล้วตอนนี้มีเงินออมเท่าไหร่? แบ่งมาต่อยอดหรือมาลงทุนเพื่อเพิ่มเงินที่มีให้งอกเงย หรือมีเงินออมที่นำมาใช้จ่ายในสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างโรคระบาดโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบทั่วโลกหรือไม่?
เพราะหากคุณไม่เริ่ม ออมเงิน หรือเก็บเงินในตอนนี้ อาจจะช้าไป โดยข้อมูลที่น่าสนใจสะท้อนถึงเงินออมของคนไทยจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ผู้สูงอายุจำนวนกว่า 2.8 ล้านคน ไม่มีเงินออม ส่วนคนที่มีเงินออม ก็ไม่ได้มีไว้ใช้จ่ายอย่างสุขสบายในบั้นปลายชีวิต ซึ่งคนที่มีเงินออมมากกว่า 3 ล้านบาทขึ้นไป มีจำนวนเพียงแค่ 3.5 แสนคนเท่านั้น
ตัวเลขเหล่านี้สะท้อนให้ว่า หากคุณไม่อยากลำบากตอนแก่ ต้องเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมหันมาออมเงินด้วยวิธีเก็บเงินง่าย ๆ เพื่อสู่ความมั่นคงทางการเงินในอนาคตและรับมือกับสถานการณ์โควิดที่เป็นไปได้ว่าจะอยู่กับเราไปอีกนานแสนนาน
ออมเงินแบบมีเป้าหมาย
วิธีคิดอันดับต้น ๆ ไม่เพียงแต่จะช่วยกระตุ้นให้คุณเกิดวินัยในการออมเงินเพื่อสิ่งที่คุณต้องการมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังเป็นการวางแผนทางการเงินที่สามารถเลือกรูปแบบวิธีการออม หรือรูปแบบวิธีการเก็บเงินตรงกับการใช้ชีวิตของคุณได้อีกด้วย เช่น การวางแผนออมเงินเพื่อวัยเกษียณ เป็นต้น
ออมเงินอย่างสม่ำเสมอ
เป็นการปรับพฤติกรรมที่สร้างความมีวินัยในการออมเงินอย่างเข้มข้น ไม่ใช่ออมเงินเดือนนี้ 1,000 บาท เดือนหน้าไม่ออมเงิน ไม่เก็บเงิน ชอบผัดวันประกันพรุ่ง ยกตัวอย่าง หากเงินเดือน 30,000 บาท ควรเก็บเงินออม 15% ของเงินเดือน เท่ากับออมเงินเดือนละ 4,500 บาท ดังนั้น เมื่อคุณอายุ 60 ปี มีเงินออมอยู่ที่ 2,430,015 บาท เฉลี่ยมีเงินใช้เดือนละ 10,125 บาท เลยทีเดียว
และนี่คือทริคการออมเงิน หรือวิธีเก็บเงินง่าย ๆ ซึ่งคนรุ่นใหม่ที่อยากวางแผนทางการเงินในอนาคต ไม่อยากลำบากตอนแก่ก็เริ่มออมเงินตั้งแต่ตอนนี้ เริ่มเดือนกรกฎาคม ครึ่งปีหลังได้แล้ว ไม่อย่างนั้น หากคุณยิ่งปล่อยให้เวลาผ่านไป แถมอายุมากขึ้นเรื่อย ๆ และขาดวินัยในการออมเงิน โอกาสในการสร้างเม็ดเงิน เพื่อให้เงินทำงานน้อยลงด้วยเช่นกันนะ
ถ้าไม่เริ่มออมเงินตอนนี้...อาจช้าไปแล้ว
เริ่มเดือนกรกฎาคม เดือนใหม่ เดือนครึ่งปีหลังแบบนี้ก่อนใช้เงิน ต้องคิดออมเงินก่อนนะ