รีเซต

อิทธิพล พายุ ซินลากู ฝูงไส้เดือน อพยพหนีฝนบนภูหินร่องกล้า

อิทธิพล พายุ ซินลากู ฝูงไส้เดือน อพยพหนีฝนบนภูหินร่องกล้า
TNN ช่อง16
3 สิงหาคม 2563 ( 12:36 )
327
อิทธิพล พายุ ซินลากู ฝูงไส้เดือน อพยพหนีฝนบนภูหินร่องกล้า
วันนี้ (3ส.ค.63) อิทธิพลของ พายุโซนร้อน ซินลากู ส่งผลให้พื้นที่จังหวัดพิษณุโลกมีฝนตกชุกหนาแน่น โดยเฉพาะในอำเภอนครไทย มีฝนตกหนักบนเทือกเขาสูงเขา โครงการพัฒนาป่าตามแนวพระราชดำริภูหินร่องกล้า ส่งผลให้มีสภาพอากาศหนาวเย็น กลางวันอุณหภูมิอยู่ที่ 17-18 องศาเซลเซียส ช่วงเวลากลางดึก อุณหภูมิลดลงเหลือเพียง 11-12 องศาเซลเซีส และมีหมอกขาวโพลนปกคลุมไปทั่วบริเวณตลอดทั้งวัน 

ทั้งนี้ ที่น่าสนใจคือ ฝูงไส้เดือนดินตัวใหญ่ ความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร จำนวนหลายร้อยตัว พากันอพยพออกจากรัง หรือ ขุยไส้เดือน บริเวณหน้าผาชมวิว ทั้งผาพบรัก ผาสลัดรัก ผารักยืนยง และผาคู่รัก เพื่อไปหาแหล่งที่อยู่อาศัยใหม่ เนื่องจากปริมาณฝนที่ตกลงมาจำนวนมากนั้น ทำให้เกิดน้ำท่วมขังรัง หรือ ขุยไส้เดือน จนไส้เดือนต้องออกมาหาอากาศหายใจ และหาแหล่งที่อยู่ใหม่ที่ไม่มีน้ำขัง 




ขณะกำลังอพยพเพื่อหาถิ่นที่อยู่ใหม่นั้น ไส้เดือนดินจำนวนมากต้องตายลง เนื่องจากทนสภาพอากาศที่หนาวเย็นภายนอกรังไม่ไหว 

นายศุภกุล จันทร์ลา หัวหน้าโครงการพัฒนาป่าไม้ตามแนวพระราชดำริภูหินร่องกล้า บอกว่า ไส้เดือนดินเป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติบนโครงการฯ เพราะพื้นที่บนนี้เป็นพื้นที่ ที่อุดมสมบูรณ์ ไม่มีการใช้ยาฆ่าแมลง ฆ่าหญ้า หรือสารเคมีใดๆ ทั้งสิ้น 

ดังนั้นเมื่อนักท่องเที่ยวมาเที่ยวชมโครงการฯ มักจะเห็นขุย หรือรังไส้เดือนดิน มีลักษณะเก่าและใหม่ปะปนกันไป แต่ละขุยมีความสูงจากพื้นดินแตกต่างกันไป ตั้งแต่ระดับความสูง 1-4 นิ้ว อยู่ทั่วบริเวณ 



ดินขุยไส้เดือน หรือ มูลของไส้เดือน เป็นดินที่ไส้เดือนขึ้นมาขับถ่ายออก กองไว้รอบๆ รู ตั้งเป็นแท่งทรงกลม ซึ่งจากการศึกษาเพิ่มเติมพบว่า ดินขุยไส้เดือนอุดมไปด้วยจุลินทรีย์ที่ยังมีชีวิต รวมทั้งสารชีวะเคมีที่มีประสิทธิภาพช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดี 

นอกจากนี้ ยังมีสารฮอร์โมนสำคัญเพื่อการเจริญเติบโตของพืชในมูลไส้เดือนดิน ที่เป็นตัวควบคุมการเจริญเติบโตของพืช เช่น กระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์พืช ควบคุมความยาวของเซลล์ หรือแม้กระทั่งทำหน้าที่เป็นสารต้านการแก่ตัวของพืชไม่ให้เน่าเปื่อยเร็ว และมูลไส้เดือนดินยังมีฤทธิ์ในการขับไล่แมลงได้อีกด้วย 

ปกติแล้วธรรมชาติของไส้เดือน จะมีการอพยพย้ายถิ่นฐาน เคลื่อนที่ออกจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมไปสู่สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม โดยเฉพาะในฤดูหนาวจะเป็นช่วงที่ไส้เดือนอพยพมาก เนื่องจากไส้เดือนเป็นสัตว์เลือดเย็น ไม่มีตา หู จมูก และฟัน จะใช้ต่อมรับรู้ใต้ผิวหนังในการดูด หายใจ ฟังเสียงและสัมผัสทั้งหมด จึงต้องการแหล่งที่อยู่ที่มีความชื้นและไม่แฉะ แต่เมื่ออากาศหนาว อย่างบนดอยก็จะอพยพลงมาบนพื้นราบ หากถูกน้ำท่วมขังจะอพยพขึ้นมาบนพื้นดินเพื่อหน้าถิ่นที่อยู่ใหม่ 



เหมือนในช่วงนี้ที่เกิดฝนตกชุก น้ำสภาพอากาศชื้นเฉอะแฉะ มีน้ำขัง และไหลลงไปในรัง หรือ ขุยไส้เดือน ทำให้ไส้เดือนต้องพยายามออกมาภายนอกเพื่อหนีน้ำ แต่ไส้เดือนดินส่วนใหญ่ก็ต้องตายลงก่อนที่จะได้ที่อยู่ใหม่เนื่องจากทนสภาพอากาศความหนาวเย็นภายนอกรังไม่ไหว แต่ก็เป็นวัฏจักรของชีวิตไส้เดือน



เกาะติดข่าวที่นี่

website: www.TNNTHAILAND.com 
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live 
twitter : TNNONLINE 
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE 
Instagram : TNN_ONLINE 
TIKTOK : @TNNONLINE

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง