รีเซต

การแลกเปลี่ยนระหว่างปชช.ที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เสริมสร้างสายสัมพันธ์ 'จีน-อาเซียน'

การแลกเปลี่ยนระหว่างปชช.ที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เสริมสร้างสายสัมพันธ์ 'จีน-อาเซียน'
Xinhua
5 กุมภาพันธ์ 2567 ( 15:14 )
20
การแลกเปลี่ยนระหว่างปชช.ที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เสริมสร้างสายสัมพันธ์ 'จีน-อาเซียน'

(แฟ้มภาพซินหัว : นักเต้นแสดงในพิธีเปิดนิทรรศการปีแห่งความร่วมมืออาเซียน-จีน ว่าด้วยการแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชน ในเมืองฝูโจว มณฑลฝูเจี้ยนทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีน วันที่ 2 ก.พ. 2024)

ฮ่องกง, 5 ก.พ. (ซินหัว) -- นอกจากเชื่อมโยงกันด้วยขุนเขาและแม่น้ำ จีนและประเทศในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ยังมีความเกี่ยวโยงทางวัฒนธรรมและการแลกเปลี่ยนฉันมิตรมายาวนาน และได้ร่วมกันสร้างวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียที่รุ่มรวยและหลากหลาย โดยขณะที่ทั้งสองฝ่ายเฉลิมฉลองปีแห่งความร่วมมืออาเซียน-จีน ว่าด้วยการแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชน (ASEAN-China Year of People-to-People Exchanges) สายสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นนี้มีแนวโน้มเสริมแกร่งประชาคมจีน-อาเซียนที่มีอนาคตร่วมกันความสัมพันธ์อันดีระหว่างจีนและประเทศในอาเซียนนั้นมีมายาวนานตั้งแต่อดีต โดยเมื่อกว่า 1,000 ปีก่อนในสมัยราชวงศ์ถัง (ปี 618-907) เหล่าผู้ค้าชาวจีนเดินทางไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อทำการค้าขาย และในสมัยราชวงศ์หมิง (ปี 1368-1644) มีผู้ค้าและช่างฝีมือจำนวนมากขึ้นเรือของเจิ้งเหอ นักเดินเรือจีนในตำนาน และเป็นส่วนหนึ่งของกองเรือที่มุ่งหน้าไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้ ซึ่งบางส่วนได้พำนักและแต่งงานกับคนท้องถิ่นจนก่อเกิดเป็นวัฒนธรรมเปอรานากัน (Peranakan) อันมีเอกลักษณ์ภายหลังการก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) จีนได้เริ่มความสัมพันธ์คู่เจรจากับอาเซียนในปี 1991 ก่อนเข้าร่วมสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (TAC) อย่างเป็นทางการในปี 2003 และกลายเป็นแบบอย่างสำหรับประเทศอื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มอาเซียนตลอด 30 ปีที่ผ่านมา ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมมือผลักดันโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจ ร่วมกันรับมือภูมิทัศน์ระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง พร้อมสร้างความเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์รอบด้านความสำเร็จของความร่วมมือจีน-อาเซียนไม่เพียงเกิดจากความใกล้เคียงทางภูมิศาสตร์และความเกี่ยวโยงทางวัฒนธรรมเท่านั้น แต่ยังมาจากปณิธานที่มีร่วมกันในการสร้างความเสมอภาค ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว และความเจริญรุ่งเรืองจีนและอาเซียนดำเนินการจัดการประเด็นที่เป็นข้อกังวลหลักร่วมกัน เคารพเส้นทางการพัฒนาของกันและกัน ปรับปรุงความเข้าใจและความไว้วางใจผ่านการสื่อสารอย่างจริงใจ แสวงหาจุดยืนร่วมกันขณะแก้ไขความแตกต่าง อีกทั้งยึดมั่นและส่งเสริมค่านิยมแบบเอเชียที่มีศูนย์กลางอยู่ที่ความสงบสุข ความร่วมมือ ความครอบคลุม และการบูรณาการเมื่อปี 2013 จีนเสนอการสร้างประชาคมจีน-อาเซียนที่มีอนาคตร่วมกันอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น และแผนริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง โดยมีหลายโครงการสำคัญในแผนริเริ่มฯ ที่เสร็จสมบูรณ์แล้วช่วงทศวรรษที่ผ่านมา อาทิ ทางรถไฟจีน-ลาว และทางรถไฟความเร็วสูงจาการ์ตา-บันดุงในอินโดนีเซีย ซึ่งมอบผลประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมให้กับผู้คนท้องถิ่น และได้รับการสนับสนุนจากประชาชนในประชาคมจีน-อาเซียนที่มีอนาคตร่วมกันการทำสิ่งใดให้ประสบความสำเร็จล้วนต้องอาศัยการหยั่งรากลึกลงในประชาชน เสริมสร้างความเข้มแข็งจากประชาชน และบรรลุผลสำเร็จโดยประชาชน ซึ่งผลลัพธ์อันงอกงามของการแลกเปลี่ยนที่เป็นมิตรระหว่างประชาชนมีบทบาทสำคัญในการเกื้อหนุนความร่วมมือจีน-อาเซียนนับตั้งแต่ปี 2014 ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันจัดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม การแลกเปลี่ยนทางการศึกษา ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว นวัตกรรม รวมถึงการแลกเปลี่ยนด้านสื่อ และก่อตั้งเมืองพี่เมืองน้อง 225 คู่ โดยมีการแลกเปลี่ยนบุคลากรแบบสองทางเพิ่มขึ้นจาก 18.2 ล้านคนในปี 2013 เป็น 65 ล้านคนในปี 2019 และมีเที่ยวบินเกือบ 4,500 เที่ยวบินต่อสัปดาห์มีการคาดการณ์ว่านโยบายฟรีวีซ่าระหว่างจีน-สิงคโปร์ และจีน-ไทยที่จะเริ่มดำเนินการเร็วๆ นี้ จะมีส่วนเอื้อให้หลายมาตรการภายใต้ปีแห่งความร่วมมืออาเซียน-จีนฯ ช่วยเร่งการฟื้นตัวในการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างจีนและอาเซียนหลังการระบาดใหญ่อย่างแน่นอนจีนและอาเซียนมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 และอันดับ 5 ของโลกตามลำดับ โดยมีผลรวมของผลผลิตทางเศรษฐกิจมากกว่า 1 ใน 5 ของผลรวมทั่วโลก ทำให้ทั้งสองฝ่ายเป็นกลไกที่สำคัญในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในฐานะเพื่อนบ้าน มิตรสหาย และหุ้นส่วนที่ดี ความสัมพันธ์จีน-อาเซียนที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นจะมีส่วนสนับสนุนสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองในระดับภูมิภาคและระดับโลกมากขึ้นจีนยึดมั่นหลักการของการมีไมตรีจิต ความจริงใจ ผลประโยชน์ร่วมกัน และความครอบคลุมในการดำเนินกิจการทางการทูตกับประเทศเพื่อนบ้านเสมอมา ตรงข้ามกับแนวคิดบางส่วน อาทิ "การใช้อำนาจครอบงำ" และ "การปะทะกันระหว่างอารยธรรม" ที่สนับสนุนโดยมหาอำนาจตะวันตกบางส่วน โดยขณะดำเนินความร่วมมือกับหุ้นส่วนระดับภูมิภาค จีนมุ่งมั่นยึดมั่นในสันติภาพ เสถียรภาพ ความสามัคคี และความร่วมมือในภูมิภาค ทำให้จีนได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางจากประเทศต่างๆ ในภูมิภาคผู้คนในเอเชียตระหนักมากขึ้นว่ามีเพียงการส่งเสริมและดำเนินตามค่านิยมแบบเอเชีย และการดำเนินการตามแผนริเริ่มอารยธรรมระดับโลก (GCI) รากฐานของการอยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียวและความร่วมมือแบบได้ประโยชน์ทุกฝ่ายระหว่างนานาประเทศจึงจะได้รับการเสริมแกร่ง และภูมิภาคเอเชียจะเป็นส่วนหนึ่งในแนวโน้มของสันติภาพ การพัฒนา และความก้าวหน้าอย่างลึกซึ้งอนึ่ง ปีแห่งความร่วมมืออาเซียน-จีน ว่าด้วยการแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชน ซึ่งเปรียบเสมือนจุดเริ่มต้นใหม่ จะสานต่อมิตรภาพดั้งเดิมระหว่างจีน-อาเซียน และช่วยให้ประชาคมจีน-อาเซียนที่มีอนาคตร่วมกันอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น หยั่งรากลึกลงในหมู่ประชาชนทั้งสองฝ่าย[caption id="attachment_416246" align="aligncenter" width="900"] (แฟ้มภาพซินหัว : ผลไม้จากไทยจัดแสดงในงานแสดงสินค้าจีน-อาเซียน ครั้งที่ 20 ณ ศูนย์การประชุมและนิทรรศการนานาชาติหนานหนิง ในนครหนานหนิง เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงทางตอนใต้ของจีน วันที่ 17 ก.ย. 2023) (แฟ้มภาพซินหัว : คนงานขนย้ายทุเรียนสดใหม่ที่สวนผลไม้แห่งหนึ่งในจังหวัดชุมพร วันที่ 18 ก.ย. 2023)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง