รีเซต

เครือซีพี ผนึกกำลัง ม.เชียงใหม่ Kick off งานวิจัยการศึกษาและประเมินนวัตกรรมที่เหมาะสมในการจัดการเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร

เครือซีพี ผนึกกำลัง ม.เชียงใหม่ Kick off งานวิจัยการศึกษาและประเมินนวัตกรรมที่เหมาะสมในการจัดการเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร
TNN ช่อง16
8 กุมภาพันธ์ 2567 ( 17:27 )
46

เมื่อเร็วๆ นี้ เครือเจริญโภคภัณฑ์ ร่วมกับ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมมือ Kick off “โครงการวิจัยการศึกษาและประเมินนวัตกรรมที่เหมาะสมในการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ (ทิ้ง) ทางการเกษตร” ภายใต้การขับเคลื่อนโครงการ “ซีพี...เพื่อความยั่งยืน : C.P. for Sustainability” มุ่งสร้างความยั่งยืนในทุกมิติ เศรษฐกิจ ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมี นางสาวพิไลลักษณ์ พิชัยวัตต์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐและกิจการสัมพันธ์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พลภัทร เหมวรรณ อาจารย์ประจำคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หัวหน้าโครงการฯ ร่วมลงนามความร่วมมือในครั้งนี้  เพื่อนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหาหมอกควันไฟป่าจากการเผาวัสดุทางการเกษตร โดยเฉพาะภาคเหนือ  ณ ห้องประชุมคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

นางสาวพิไลลักษณ์ พิชัยวัตต์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐและกิจการสัมพันธ์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาเครือซีพี ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายที่จะเป็นองค์กรที่เป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) และมุ่งสู่การลดขยะเป็นศูนย์ ภายในปี 2030 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์(Net Zero) ภายในปี 2050 โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่า ที่ก่อให้เกิดมลภาวะฝุ่นพิษ PM 2.5 ในภาคเหนือที่มีความรุนแรง  โดยเข้าไปดำเนินงานด้านความยั่งยืนตั้งแต่ปี 2559 ใน 4 พื้นที่ต้นน้ำ ได้แก่ ต้นน้ำปิง ใน อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ต้นน้ำวัง ใน อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง ต้นน้ำยม ใน ต.ออย อ.ปง .พะเยา และต้นน้ำน่าน ใน อ.ท่าวังผา จ.น่าน ในการส่งเสริมอาชีพ ปรับเปลี่ยนรูปแบบเกษตรกรรมจากพืชเชิงเดี่ยว มาเป็นพืชมูลค่าสูงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการฟื้นฟูป่าเพิ่มพื้นที่สีเขียว โดยปัจจุบันสามารถเพิ่มพื้นที่สีเขียวแล้วกว่า 7,900 ไร่ 


โดยในปัจจุบัน เครือซีพี เห็นความสำคัญด้านองค์ความรู้ในการปรับเปลี่ยนกระบวนการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการนำนวัตกรรมมาเสริม โดยมีเป้าหมาย “ทำอย่างไร จะไม่เกิดการเผาทางการเกษตร และนำวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรไปเพิ่มคุณค่าเพื่อใช้ประโยชน์เป็นพลังงานหมุนเวียน หรือทำปุ๋ยได้แทน” จึงได้ร่วมมือกับภาคการศึกษาในการทำงานวิจัย การศึกษาและประเมินนวัตกรรมที่เหมาะสมในการจัดการเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรในครั้งนี้ โดยมุ่งเป้านำร่องใน อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ มุ่งหวังนำความสำเร็จ เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหานี้อย่างยั่งยืน และทำได้จริง อีกทั้งยังสามารถเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ให้ผู้ที่สนใจ ขยายไปในพื้นที่อื่นที่มีปัญหาดังกล่าวฯ

ทางด้าน ดร.พลภัทร เหมวรรณ อาจารย์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หัวหน้าโครงการงานวิจัย เปิดเผยว่า ถ้าพูดถึงปัญหาหมอกควันที่เกิดขึ้นในภาคเหนือของประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องทุกปี และในปัจจุบันมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น โดยมีการสันนิษฐานว่า ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากการเผาป่าและการเผาเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรบนพื้นที่สูงชันและส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่า ในช่วงความกดอากาศต่ำ โดยมีพืชหลักที่นิยมปลูก ได้แก่ ข้าวไร่ และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จึงเกิดเป็นแนวคิดการหาแนวทางงานวิจัยในการลดการเผาหรือเลิกใช้วิธีการเผา ใช้วิธีจัดการเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรอย่างถูกต้องและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 


งานวิจัยนี้ จึงมุ่งเน้นนำร่องประเมินนวัตกรรมที่เหมาะสมในพื้นที่ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เครือซีพีเข้าไปดำเนินการสนับสนุนการปรับเปลี่ยนการทำเกษตรกรรมในชุมชน  สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ เป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะเครือซีพีถือเป็นหนึ่งในภาคธุรกิจเอกชนที่มาสนับสนุนและมีส่วนร่วมในเรื่องนี้เป็นอย่างดี มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม มีการเข้ามาส่งเสริมการปลูกพืชที่เหมาะสมในพื้นที่ แต่ถ้ามีระบบเกษตรที่ไม่เผา ก็ไม่ใช่แหล่งกำเนิดของ PM 2.5 ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญที่ทุกภาคส่วนต้องผนึกกำลังกัน เพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกันอย่างยั่งยืน ท้ายที่สุดก็มุ่งหวังว่า ความรู้จากงานวิจัยนี้ จะมาช่วยเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากการเผามาเป็นการใช้นวัตกรรมอื่นทดแทนที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชน เพื่อเป็นแนวทางขั้นต้นในการแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่าอย่างยั่งยืน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง