"หมอธีระวัฒน์" ชี้สู้โควิดต้องลุยแหลก ตีหนักให้แตกหัก ยกจีนกรณีศึกษา
มติชน
20 กันยายน 2564 ( 12:59 )
43
เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2564 นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โพสต์เฟซบุ๊ก โดยระบุว่า “ลุยแหลก สู้โควิดให้รู้ซะมั่ง” โดยมีรายละเอียดว่า “สู้โควิด ตีแหลก ตีหนัก ต้องแตกหัก รวดเร็ว คัดกรอง แยกตัว รักษาทันทีที่รู้ว่าติด วัคซีนที่คลุมสายไวรัสได้ ต้องตะลุบหมดทั้งประเทศ ทั้งหมดพร้อมกันรวดเร็วที่สุดต่อเนื่องและมีวินัย
ทั้งนี้ก่อนหน้านั้นก็มีการโพสต์ว่า “ระวังคลื่นลูกใหม่ใหญ่กว่าเก่า
หมอดื้อ
เราต้องไม่ตายใจ..ว่าอาการหนักน้อยลง และปล่อยให้มีกาาแพร่เงียบๆไปเรื่อยๆต่อไปอีก
ลักษณะของการปล่อยให้มีการระบาดตามธรรมชาติและมุ่งก่อให้เกิดลักษณะของภูมิคุ้มกันหมู่ ที่เรียกว่า herd immunity โดยคนในพื้นที่มีการติดเชื้อมากกว่า 60% โดยคนที่มีอาการรุนแรงก็ตายไปหรือเข้าโรงพยาบาลอาการหนักไป
ดังที่เห็นในเขตมาเนาส์ ของเปรู
ซึ่งภายในครึ่งปีแรกของปี 2563 มีการติดเชื้อเสียชีวิตเข้าโรงพยาบาลอย่างมากมาย แต่เมื่อถึงครึ่งปี พบว่าคนป่วยอาการหนักเสียชีวิตเข้าโรงพยาบาลกลับลดลงอย่างเห็นได้ชัดและทำให้การรักษาวินัยส่วนบุคคล การรักษาระยะห่างล้มเหลวไปหมด…
ดังนั้น เกิดการระบาดเงียบๆมายังคนในพื้นที่นั้น จนกระทั่งไวรัสสายเพี้ยนพัฒนาขึ้นดังเช่น เป็นสายเปรูและในเดือนธันวาคมของปี 2563 จึงเกิดมีการระบาด อาการหนัก ในพื้นที่ดังกล่าวใหม่”
การป้องกันการปะทุของสายพันธุ์เพี้ยน
หมอดื้อ
คงต้องยกให้ประเทศจีนเป็นประเทศที่ใช้บริบทของ การควบคุมภายในร่างกายมนุษย์และภายนอกร่างกายมนุษย์ นั่นคือ
1-การสร้างแรงกดดันอย่างรุนแรงไม่ให้มีการแพร่กระจายเชื้อจากคนหนึ่งไปหาคนอื่น รวมทั้งทำความสะอาดพื้นผิวสาธารณะต่างๆอย่างสม่ำเสมอ โดย
ก. การวินิจฉัยได้เร็วที่สุดและให้การรักษาเร็วที่สุด ตั้งแต่นาทีแรก
ข. ควบรวมการใช้สมุนไพรที่มีดาษดื่นและขึ้นทะเบียนในระบบสาธารณสุขของจีนอยู่แล้ว และยกระดับเป็นขั้นเป็นตอนควบกับการรักษาแผนปัจจุบัน
ค.มีการเข้มงวดตรวจคัดกรองและแยกตัวออกทันที ที่วินิจฉัยได้ว่ามีการติดเชื้อไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ใดก็ตาม
2-แรงกดดันที่สำคัญอีกประการคือ การใช้วัคซีน เป็นจำนวน “มหาศาลในเวลารวดเร็ว” ให้แก่ประชากรมากกว่าที่คิดตัวเลข 60% แต่เป็นเกือบทั้งประเทศ ยกเว้นในเด็กซึ่งในระยะแรกข้อมูลความปลอดภัยอาจจะยังไม่พอ แต่ในปี 2564 นี้เอง ที่ประเทศจีนใช้วัคซีนที่มีอยู่ดั้งเดิมที่เป็นเชื้อตายฉีดให้แก่เด็กด้วย ตั้งแต่เดือน มิถุนายน และในที่สุดตามด้วยวัคซีนเทคโนโลยีอื่น ทั้งแบบแอสตร้า และไบโอเอนเทค
การให้วัคซีนอย่างเข้มข้นเช่นนี้ เป็นการปิดโอกาสหรือเปิดโอกาสน้อยที่สุดให้กับไวรัสที่จะมีการแพร่กระจายจากคนสู่คนไปเป็นลูกโซ่และกดดันไม่ให้มีการกลายพันธุ์หรือรหัสพันธุกรรมเพี้ยนจนกระทั่งสามารถตั้งตัวกลายเป็นสายพันธุ์ใหม่