รีเซต

สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพจับมือ52หน่วยงาน ยกระดับแรงงานไทยเชื่อมฐานข้อมูลแรงงาน

สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพจับมือ52หน่วยงาน ยกระดับแรงงานไทยเชื่อมฐานข้อมูลแรงงาน
TNN ช่อง16
15 กันยายน 2565 ( 12:38 )
47
สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพจับมือ52หน่วยงาน ยกระดับแรงงานไทยเชื่อมฐานข้อมูลแรงงาน

เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2565 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวปาฐกถาพิเศษ “การพัฒนากำลังแรงงานในอนาคต” พร้อมกล่าวเปิดงาน คุณวุฒิวิชาชีพ คุณวุฒิของคนทำมาหากิน” ที่จัดโดยสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช. ที่สโมสรทหารบก วิภาวดีรังสิต   

นายสุชาติ กล่าวว่า การพัฒนาทุนมนุษย์ และยกระดับศักยภาพกำลังแรงงานของประเทศไทยในทุกมิติเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลตามยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปีเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของบุคลากรและกำลังแรงงานของประเทศไทยในสาขาอาชีพต่างๆให้เป็นแรงงานคุณภาพ มีทักษะและความเชี่ยวชาญในระดับสูงได้การรับรองตามมาตรฐานอาชีพและได้รับคุณวุฒิวิชาชีพซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ของประเทศไทยได้พัฒนาตัวเองในช่องทางต่าง ๆ มีรายได้เพิ่มขึ้นมีคุณภาพชีวิตที่ดีมีความสุขอย่างยั่งยืนและได้รับคุณวุฒิที่เทียบเท่าคุณวุฒิทางการศึกษาในระดับต่างๆซึ่งเป็นเป้าหมาย สำคัญที่รัฐบาลจะดำเนินการรองรับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมแห่งอนาคตเพื่อการพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าต่อไป

จากสถานการณ์โรคระบาด โควิด-19 ประเทศไทยได้มีการบริหารจัดการได้ดีระดับต้น ๆ ของโลกได้รับการชื่นชมจากนานาชาติ จากการบริหารของพลเอกประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ตัดสินใจเด็ดเดี่ยวควบคุมโควิด และภาคอุตสาหกรรมได้ใช้นโยบายแฟคทอรี่บับเบิ้ลแอนด์ซีลทำให้ไม่ต้องปิดโรงงาน ไทยจึงมีภาคการผลิตที่เข้มแข็ง ซึ่งในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน อยากเห็นผู้ประกอบการที่ต้องการแรงงานและผู้ใช้แรงงาน มาพบกันโดยเร็วที่สุดและได้คนที่มีความสามารถตามที่ผู้ประกอบการต้องการ  ทั้งนี้ การจะพัฒนาประเทศชาติให้เข้มแข็งนั้น คือการพัฒนาบุคลากรของชาติให้เข้มแข็งก่อน 

โดยต้องพัฒนาฝีมือแรงงานทั้งในและนอกระบบโดยตนเองได้จัดทำร่างพ.ร.บ.แรงงานนอกระบบ ซึ่งผ่านคณะรัฐมนตรีแล้ว และเสนอจัดทำกองทุนเพื่อดูแลแรงงานนอกระบบขึ้น โดยจะรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล ในการดูแลแรงงานนอกระบบแก้ปัญหาการกู้เงินนอกระบบของแรงงานได้ ซึ่งทุกหน่วยงานจะต้องร่วมไม้ร่วมมือกันเพื่อเดินตามยุทธศาสตร์ชาติให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม ซึ่งจะเป็นทางออกและความมั่นคงของประเทศได้อย่างแท้จริง

ขณะที่นายนคร ศิลปอาชา ประธาน สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช. กล่าวว่า สถาบันคุณวุฒิฯ ได้ เปิดโอกาสให้กำลังแรงงานทั้งในระบบ รวม กว่า 38 ล้านคน แบ่งเป็นผู้มีงานทำ 37.7 ล้านคน ที่ว่างานอีก 748,268 คนและเป็นแรงงานนอกฤดูอีกราว 200,000 คน ได้เข้าถึงการพัฒนาความรู้ทักษะความสามารถในการประกอบอาชีพด้วยการวัดระดับจะมาตรฐานอาชีพที่ถูกกำหนดโดยผู้เชี่ยวชาญเจ้าของอาชีพครอบคลุมทั้งธุรกิจบริการการท่องเที่ยวอุตสาหกรรมการผลิตและเกษตรสมัยใหม่ เพื่อนำไปสู่การรับรองด้วยประกาศษณียบัตรคุณนวุฒิวิชาชีพซึ่งมีศักดิ์และสิทธิ์เทียบเท่าคุณวุฒิทางการศึกษา

พร้อมกันนี้ นายสุรพล พลอยสุข ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ  กล่าวด้วยว่า สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีงานรัฐที่รองรับคนด้วยคุณวุฒิวิชาชีพเป็นกลไกขับเคลื่อนเพื่อเปิดโอกาสให้กำลังแรงงานที่มีการวัดระยะจากมาตรฐานจากผู้เชี่ยวชาญเจ้าของอาชีพต่าง ๆ มาเทียบได้กับระดับการศึกษาตั้งแต่ ประถมศึกษา จนถึง ระดับปริญญาตรี โดยจะออกใบประกาศนียบัตรให้  

ทั้งนี้ พร้อมประกาศใช้พระราชบัญญัติจานุเบกษาซึ่งปัจจุบันมีมากกว่า 900 อาชีพ เฉพาะปี 2565 มีการจัดทำใหม่ 25 อาชีพเดิมให้ทันสมัยสอดคล้อง 84 อาชีพครอบคลุมธุรกิจท่องเที่ยว-บริการ ภาคอุตสาหกรรมการผลิตและการเกษตร ซึ่งในปี 2565 ได้รับรองมอบใบประกาศนียบัตรให้บุคคลแล้วกว่า 18,000 บุคคล โดยสถาบันฯ ได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน และสถานประกอบการต่าง ๆ มากขึ้น 

นอกจากนี้ แรงงานสามารถอบรมทักษะ ความสามารถทางออนไลน์ E-Training สะสมคุณวุฒิไว้ใน E-Portfolio และขอรับใบประกาศทางแพลตฟอร์มได้ นายจ้างสามารถมาช็อปเลือกลูกจ้างได้ผ่านระบบนี้ ซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนแปลงในระบบการศึกษา เข้าสู่การทำงานได้เร็วยิ่งขึ้น 

ทั้งนี้ สคช. จับมือ 52 หน่วยงานภาครัฐ-เอกชน เชื่อมฐานข้อมูลกำลังแรงงานเพื่อการพัฒนากำลังของของประเทศด้วยระบบ EWE โดยเป็นหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงาน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้รับผิดชอบในกิจกรรมปฏิรูปประเทศที่ส่งผลต่อประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ (Big Rock) เรื่อง การพัฒนาระบบการบริหารจัดการกำลังคนของประเทศแบบบูรณาการ โดยในกิจกรรมปฏิรูปประเทศฯ ได้มีการพัฒนา E-Workforce Ecosystem Platform 

ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มอัจฉริยะในการบริหารจัดการข้อมูลด้านกำลังคนและการพัฒนาสมรรถนะเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประเทศไทย ที่เชื่อมโยงข้อมูลของแต่ละหน่วยงานให้เป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ด้านตลาดแรงงานอยู่บนโครงสร้างเดียวกัน โดย E-Workforce Ecosystem Platform ประกอบด้วยระบบ ได้แก่  

- ระบบ E-portfolio เป็นการจัดเก็บข้อมูลของบุคคลอย่างเป็นระบบ อาทิ ข้อมูลประวัติการศึกษา การอบรม ประสบการณ์ทำงาน ทักษะที่บุคคลมีไว้ในที่เดียว

- ระบบ Education and Career Guidance Check เป็นการประเมินทักษะ ความรู้ของตนเองว่าต้องพัฒนาอะไรบ้าง (3) ระบบ E-Coupon เป็นระบบสนับสนุนค่าใช้จ่ายสำหรับการ Up-skill Re-skill New-skill หรือต้องการพัฒนาเป็นอาชีพที่ 2 อาชีพที่ 3 โดยตรงไปยังผู้ใช้งาน โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการชำระเงิน ตรวจสอบ ติดตามผลได้ โดยจะอบรมผ่าน Accredited Training Programs ที่ได้รับการรับรอง  

- ระบบ Digital Credit Bank หรือ Competency Credit Bank เป็นระบบการสะสมประสบการณ์เพื่อเชื่อมโยงภาคการศึกษา

- ระบบ Job Matching ระหว่างคนหางานและผู้ประกอบการมีประสิทธิภาพ เกิดการจ้างงานทุกระดับอย่างเป็นธรรม ผู้ประกอบการได้แรงงานมีคุณภาพ มีทักษะฝีมือตรงตามความต้องการ จะเห็นได้ว่า E-Workforce Ecosystem Platform เป็นระบบที่ช่วยในการสร้างโปรไฟล์ เพื่อรองรับการเพิ่มทักษะ การมีงานทำ การศึกษาต่อได้ และยังเป็นกลไกในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong learning) อย่างเป็นรูปธรรม

สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ขอเชิญชวนนักเรียน นักศึกษา พนักงาน ลูกจ้าง ผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ และกำลังแรงงานในสถานประกอบการทุกท่าน เข้าใช้งานแพลตฟอร์ม E-Workforce Ecosystem เพื่อค้นหาข้อมูลด้านกำลังแรงงานของประเทศ และร่วมกันสร้างค่านิยมใหม่ให้สังคมเห็นคุณค่าของประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถ และทักษะในการทำงานหรือประกอบอาชีพ ด้วยประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพ โดยสามารถเข้าไปฝากประวัติผลงานในระบบ EWE ที่เว็บไซต์ https://ewe.go.th


ภาพจาก สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง