รีเซต

"โฆษก ศบค." แจง การฆ่าตัวตายจากวิกฤติ ภาคเศรษฐกิจต้องแก้ไขให้ตรงจุดจะช่วยลดปัญหาได้

"โฆษก ศบค." แจง การฆ่าตัวตายจากวิกฤติ ภาคเศรษฐกิจต้องแก้ไขให้ตรงจุดจะช่วยลดปัญหาได้
มติชน
30 เมษายน 2563 ( 12:32 )
74
"โฆษก ศบค." แจง การฆ่าตัวตายจากวิกฤติ ภาคเศรษฐกิจต้องแก้ไขให้ตรงจุดจะช่วยลดปัญหาได้

 

จากกรณีที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ผลต่อประชาชนด้านสุขภาพจิต ส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมลอกเลียนแบบ เช่น ฆ่าตัวตาย ซึ่งเป็นผลกระทบที่มากกว่าด้านเศรษฐกิจ

 

เมื่อวันที่ 30 เมษายน ที่ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล “โควิด-19” ทำเนียบรัฐบาล นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) แถลงข่าวความคืบหน้าของสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

 

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ต่ำสุดข้อมูลมาหารือกันในที่ประชุมศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน(EOC) หลายครั้งและมีการศึกษาเทียบเคียงกับกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจากข่าวต่างๆ ดูถึงบทความทางวิชาการ ทางกรมสุขภาพจิตได้นำรายงานในปี 2563 ที่เป็นสถานการณ์วิกฤติทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยเอง และต้องยอมรับว่าสิ่งที่ได้รับผลกระทบกลับมานอกจากการป่วยทางกายแล้วคือการป่วยทางจิต เป็นผลกระทบที่ชัดเจน แต่ไม่ได้มีเพียงประเทศไทยเท่านั้นที่เผชิญกับเรื่องนี้ ในการพยากรณ์เรื่องนี้ก็เหมือนกับการพยากรณ์ด้านการติดโรค ต้องพบตัวเลขผู้เสียชีวิตจากการทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตายมากขึ้นไปด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งไม่ได้ผิดไปจากการคาดหมาย

 

“การเผชิญความเป็นจริง ทางกระทรวงสาธารณสุขจะต้องทำเช่นเดียวกันกับการควบคุมโรคติดต่อ ต้องเข้าไปศึกษาและหาทางในการลดจำนวนการสูญเสียในเรื่องของการฆ่าตัวตาย ซึ่งในหลักการของการดูแลปัญหาการฆ่าตัวตาย เรื่องที่ป้องกันได้เนื่องจากมีสัญญาณก่อนการฆ่าตัวตาย สัญญาณการของการเจ็บป่วยทางจิต กระบวนการที่สาธารณสุขจะต้องเข้าไปดู ไปถึงภาคเศรษฐกิจต่างๆจะต้องมีการแก้ไขปัญหาที่ตรงเหตุ จะช่วยลดปัญหาเหล่านี้ได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมาก ในหลายประเทศจะต้องมีมาตรการระดับประเทศ ที่ไม่ใช่เพียงแค่ระดับกระทรวงเท่านั้น” นพ.ทวีศิลป์ กล่าว

 

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวต่อว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดคือมาตรการส่วนบุคคล หากขนาดนี้ประชาชนคนไทยที่กำลังมีความคิดเรื่องของผลกระทบเหล่านี้ รวมไปถึงความคิดของการฆ่าตัวตาย มีลักษณะสัญญาณของการแสดงออก ให้ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ และร้องขอความช่วยเหลือมายังกรมสุขภาพจิตที่มีสายด่วน เบอร์ 1323 สามารถใช้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง

 

“ช่วงปี พ.ศ. 2540 ประเทศไทยเคยพบวิกฤตเศรษฐกิจ ที่เราเรียกว่า ต้มยำกุ้ง มีอัตราตัวเลขผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย 8.3 ต่อแสนจำนวนประชากร แต่ครั้งนี้ยังไม่ถึงขนาดนั้น เพราะตอนนี้เรายังมีมาตรการที่ป้องกันทำให้ตัวเลขลดลงได้ ต้องร่วมมือกันทุกภาคส่วน” นพ.ทวีศิลป์ กล่าว

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง