รีเซต

สธ.เผยวิธีค้นหา "โควิด-19" แบบใหม่ "รวมตัวอย่างตรวจครั้งเดียว" ชี้ลดทรัพยากรได้ถึง 3-5 เท่า

สธ.เผยวิธีค้นหา "โควิด-19" แบบใหม่ "รวมตัวอย่างตรวจครั้งเดียว" ชี้ลดทรัพยากรได้ถึง 3-5 เท่า
มติชน
1 พฤษภาคม 2563 ( 16:52 )
84
สธ.เผยวิธีค้นหา "โควิด-19" แบบใหม่ "รวมตัวอย่างตรวจครั้งเดียว" ชี้ลดทรัพยากรได้ถึง 3-5 เท่า

สธ.เผยวิธีค้นหา “โควิด-19” แบบใหม่ “รวมตัวอย่างตรวจครั้งเดียว” ชี้ลดทรัพยากรได้ถึง 3-5 เท่า

ตรวจเชื้โควิด-19 เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ รองปลัด สธ. กล่าวถึงสถานการณ์ของประเทศสิงคโปร์ที่มีแรงงานต้างด้าวผิดกฎหมายติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ว่า ประเทศสิงคโปร์มีจำนวนแรงงานระดับล่างและอาศัยอยู่อย่างแออัด มีประมาณกว่า 300,000 ราย แต่ในประเทศไทยมีจำนวนแรงงานต่างด้าวนี้ประมาณ 3,000,000 ราย ที่ขึ้นทะเบียนและยังมีอีกส่วนที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน จึงทำให้เกิดความกังวลในประเทศไทย

นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า ขณะนี้จึงพยายามหามาตรการต่างๆ เข้าไปให้ความรู้กับชาวต่างด้าวในชุมชนรวมกับเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง และในประเด็นที่มีประชาชนเรียกร้องให้มีการสุ่มตรวจหาเชื้อในกลุ่มคนเหล่านี้มากน้อยเพียงใด จึงต้องนำข้อมูลสถิติมาชี้แจงว่า ผู้ป่วยที่ต้องตรวจหาเชื้ออย่างแน่นอนคือ ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์การสอบสวนโรค (PUI) ซึ่งพบว่าในระยะหลังมีการตรวจมากขึ้นทำให้อัตราการพบเชื้อต่ำลง ซึ่งหมายความว่า การตรวจอย่างเข้มข้นก็พบผู้ป่วยเพียงร้อยละ 1-5 แต่หากมีการขยายวงการตรวจไปในกลุ่มคนที่มากขึ้นก็จะยิ่งพบผู้ป่วยน้อยลงไปอีก

“สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ต้องคำนึง เพราะประเทศไทยยังใช้การตรวจแบบ RT-pcr ซึ่งค่าใช้จ่ายประมาณ 2,000 บาทต่อราย ดังนั้นตรวจไป 100 ราย แล้วพบผู้ป่วยเพียง 1 ราย ก็จะประมาณ 2 แสนกว่าบาท ในการค้นหาผู้ป่วยเพียง 1 ราย” นพ.ศุภกิจ กล่าว

นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า ทั้งนั้นมีเทคนิคการตรวจที่คุ้มค่า คือ การตรวจแบบรวมตัวอย่าง (Pooled sample) ตัวอย่างการลงไปสุ่มตรวจในชุมชนที่คาดว่ามีผู้ป่วยติดเชื้อไม่มากในวิธีการสุ่มตรวจ เช่น ชุมชนที่มีประชาชนจำนวน 100 ราย แล้วพบว่าตรวจเชื้อ 1 ราย ต้องทำการตรวจทั้งหมด 100 ราย แต่วิธีการตรวจแบบรวมตัวอย่าง จะนำตัวอย่างของประชาชนแบ่งเป็นกลุ่มละ 10 ราย จำนวน 10 กลุ่ม นำตัวอย่างส่งตรวจของทุกคนในกลุ่ม แยกเป็นแต่ละกลุ่มมาเทรวมกัน และนำไปตรวจเพื่อหาเชื้อ เนื่องจากขีดความสามารถในการตรวจจะเท่ากับว่าเป็นการตรวจหาไวรัส 100 ตัวต่อซีซี การตรวจอาจจะเจือจางลงไปบ้างแต่ยังอยู่ในวิสัยที่พบได้

“ดังนั้น 100 ราย แบ่งเป็น 10 กลุ่ม เราก็ตรวจแค่ 10 ครั้ง กลุ่มไหนที่ไม่มีคนติดเชื้อก็จะมีผลลบ และก็จะพบกลุ่มที่มีคนติดเชื้ออยู่ในกองใดกองหนึ่ง ซึ่งจะเป็นกองที่มีผลบวก และเราก็จะนำเฉพาะกองที่เป็นผลบวกมาตรวจทีละคน เพื่อหา 1 ใน 10 รายว่า ใครเป็นผลบวก ก็เท่ากับว่าตรวจเพิ่มอีก 10 ครั้ง เป็น 20 ครั้ง ก็จะพบผู้ป่วย จะเห็นได้ว่าแทนที่จะตรวจ 100 ครั้ง ก็เป็นการตรวจแค่ 20 ครั้ง เพื่อให้ประหยัดทรัพยากรในการตรวจเพียง 1 ใน 5 ส่วน ก็พบผู้ป่วยเหมือนกัน หากการตรวจแบบรวมตัวอย่าง พบผลบวกใน 2 กลุ่ม ก็เท่ากับว่าจะต้องตรวจ2 กอง เราก็มาตรวจเพิ่มอีก 10 ราย เป็น 30 ครั้ง ก็จะพบผู้ป่วย 2 รายนั้นแล้ว” นพ.ศุภกิจ กล่าวและว่า โดยพิสูจน์แล้วว่า หากอัตราการติดเชื้อมาสูงมากนัก จะสามารถประหยัดค่าตรวจและทรัพยากรได้อย่างมาก เฉลี่ย 3-5 เท่า และหากเลือกใช้ในการสุ่มตรวจในกลุ่มเสี่ยงก็จะเป็นประโยชน์และพบผู้ป่วยติดเชื้อได้เช่นเดียวกัน แต่ใช้ทรัพยากรน้อยกว่า

ข่าวที่เกี่ยวข้อง