รีเซต

วิทยาลัยนานาชาติ พีไอเอ็ม ผนึกกำลังองค์กรรัฐและเอกชน ชวนคนรุ่นใหม่ปล่อยไอเดีย

วิทยาลัยนานาชาติ พีไอเอ็ม ผนึกกำลังองค์กรรัฐและเอกชน  ชวนคนรุ่นใหม่ปล่อยไอเดีย
TNN ช่อง16
26 พฤศจิกายน 2565 ( 18:24 )
67

วิทยาลัยนานาชาติ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (International College Panyapiwat Institute of Management) ร่วมกับ บริษัท ซีพี ออลล์ จํากัด (มหาชน) - คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - ศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา ฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (FutureTales Lab by MQDC) – ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) - True Lab โดย True Innovation - สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย (Thailand Science Park) จัดการแข่งขัน The 2nd PIM International Hackathon ประจำปี 2565 ในธีม "Sustainable Well-being towards Zero-Green-Clean Economy" เวทีเฟ้นหาสุดยอดไอเดียสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมใหม่สู่การสร้างเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ภายใต้โจทย์ 4 หัวข้อได้แก่ Healthy Lives & Well-being Improvement ชีวิตและสุขภาวะที่ดี Sustainable Living ชีวิตที่ยั่งยืน Energy Efficiency การใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่า End Hunger & Promote Food Security ยุติความหิวโหยและสนับสนุนความมั่นคงด้านอาหาร ซึ่งเปิดโอกาสให้เยาวชนรุ่นใหม่ทั้งระดับ ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย อุดมศึกษา ทั้งไทยและต่างชาติสร้างโมเดลธุรกิจ หรือร่วมกันหาทางออกของปัญหาสู่แนวคิดใหม่ทางธุรกิจ อาทิ การลดความยากลำบากและการเจ็บป่วย การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ และยกระดับแนวคิดระบบเศรษฐกิจใหม่ ชิงรางวัลและทุนการศึกษารวมมูลค่ากว่า 200,000 บาท








โดยการแข่งขันแบ่งเป็น 2 ระดับ ได้แก่ ระดับอุดมศึกษา และ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในรูปแบบออนไลน์นำเสนอไอเดียเป็นภาษาอังกฤษผ่าน Clip VDO ในทุกรอบ หลังจากผ่านการคัดเลือกสู่รอบชิงชนะเลิศ ทุกทีมจะต้องนำเสนอไอเดียกับคณะกรรมการ และเมื่อเร็วๆ นี้มีพิธีเปิดงานอย่างเป็นทางการผ่านรูปแบบ Hybrid จัดงาน ณ Research & Innovation for Sustainability Center ชั้น 4 แมกโนเลียส์ ราชดำริ บูเลอวาร์ด ถนนราชดำริ และ Live Streaming ทาง Fanpage PIM Inter Hackathon โดยมี อาจารย์พรวิทย์ พัชรินทร์ตนะกุล รองอธิการบดีอาวุโส สายวิชาการ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ กล่าวเปิดงานและต้อนรับพร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วีริสา โชติยะปุตตะ รองคณบดีวิทยาลัยนานาชาติ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของงานและขอบคุณทุกภาคส่วนที่ร่วมสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อพัฒนาเยาวชนรุ่นใหม่ในโอกาสนี้และการนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (NSTDA) และรองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้เกียรติเข้าร่วมงานครั้งนี้



นอกจากนี้ภายในงานยังมีการบรรยายจากวิทยากรพิเศษ รองศาสตราจารย์ ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษา RISC by MQDC, ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA , ดร.การดี เลียวไพโรจน์ ผู้อำนวยการบริหาร FutureTales Lab by MQDC, คุณจักรพล เบสุวรรณ Head of innovation, True Innovation Center และ คุณปฤษฎา หิรัญบูรณะ ที่ปรึกษาอาวุโส ศูนย์พัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (NSTDA) เพื่อเสริมความรู้แก่ผู้แข่งขันได้ประยุกต์ใช้กับไอเดียของตัวเอง โดยในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2565 ซึ่งเป็นรอบสุดท้ายของการแข่งขันระดับอุดมศึกษา และเป็นรอบแรกของการแข่งขันระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย


 

ทั้งนี้เป้าหมายของการแข่งขันต้องการขับเคลื่อน คนรุ่นใหม่ สังคม และองค์กรธุรกิจคำนึงถึงความสำคัญของการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ที่เอื้อให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นรอบด้าน เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และเหมาะสมกับการใช้ชีวิตของผู้คนได้อย่างสมบูรณ์แบบ และยังเป็นจุดเริ่มต้นของการรวมตัวกันนำเสนอไอเดีย เพื่อแปรเปลี่ยนจากความคิดให้กลายเป็นต้นแบบหรือโมเดลที่ใช้พัฒนาต่อยอดได้ อีกทั้งยังสามารถรองรับปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น ด้านสุขภาวะ การดำเนินชีวิตของผู้คน อาหาร โดยเฉพาะด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมที่นับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างทำให้ทั่วโลกต่างให้ความห่วงใย จึงต้องปลุกพลังบวกและสร้างแรงบันดาลใจให้ทุกคนลุกขึ้นมามีส่วนร่วม 


โครงการดังกล่าวนับเป็นกระบวนการเพื่อส่งเสริม บ่มเพาะนักคิดให้ปลดล็อกศักยภาพของตัวเองเต็มที่ ได้แสดงความสามารถ ความคิดสร้างสรรค์ ความคิดนอกกรอบ โชว์นวัตกรรมใหม่ๆ พร้อมทั้งมุ่งหวังให้เกิด Community แลกเปลี่ยนแนวคิด สร้างและแสวงหาความรู้ใหม่ ส่งผลให้เกิดการประยุกต์ ปรับใช้ได้จริงกับสังคมและองค์กร นำไปสู่การพัฒนาโลกใบนี้อย่างยั่งยืนต่อไป



นอกเหนือจากการแข่งขันแล้ว ยังจะช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องและมากประสบการณ์ทั้งในด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและด้านธุรกิจ นั่นคือโอกาสดีที่ได้ไปปรับปรุงและพัฒนาผลงาน โดยผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจะช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของคนไม่เพียงแค่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นต้นแบบให้กับนานาประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน ที่สำคัญยังเป็นอีกหนึ่งช่องทางสำหรับนักลงทุนที่สนใจนำไอเดียดีๆไปต่อยอดให้เกิดขึ้นจริง ผลักดันให้เกิดผู้ประกอบการหน้าใหม่หรือเหล่าสตาร์ทอัพได้เติบโตก้าวหน้าต่อไป


 


สำหรับน้องๆ ที่พลาดโอกาสในปีนี้ไม่ต้องเสียใจ กดติดตาม Fanpge PIM Inter Hackathon หรือ Website IC-I-SA https://interprogram.pim.ac.th/ เพื่อติดตามการแข่งขันในปี 2023

ข่าวที่เกี่ยวข้อง