รีเซต

SONICส่งออกทางเรือบูม จับตาผลงานโค้งท้ายโตต่อ

SONICส่งออกทางเรือบูม จับตาผลงานโค้งท้ายโตต่อ
ทันหุ้น
15 ตุลาคม 2563 ( 09:30 )
79
SONICส่งออกทางเรือบูม จับตาผลงานโค้งท้ายโตต่อ

ทันหุ้น - สุ้โควิด – SONIC เผยความต้องการส่งออกทางเรือแถบเอเชีย จีนพีค ชี้เป็นสัดส่วนรายได้หลักสูงถึง 65% ส่งซิกผลงานโค้ยท้ายสดใส คาดวอลุ่มขนส่งปีนี้โต 5-10% ส่วนรายได้มั่นใจสูงกว่าปีก่อน 1.15 พันล้านบาท หลัง 6 เดือนกวาดได้แล้ว 602.27 ล้านบาท ใส่เกียร์รุก EEC

 

ดร.สันติสุข โฆษิอาภานันท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โซนิค อินเตอร์เฟรท จำกัด (มหาชน) หรือ SONIC เปิดเผยว่า ทิศทางธุรกิจโลจิสติกส์กลับมาดำเนินการปกติตั้งแต่ไตรมาส 3/2563 ขณะเดียวกันความต้องการใช้พื้นที่สำหรับขนส่งทางเรือมีดีมานด์เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน โดยเฉพาะการส่งออกมีตัวเลขเติบโตอย่างต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับการนำเข้าที่ยังทรงตัว สำหรับสัดส่วนการส่งออกของบริษัทยังมีสัดส่วนที่มากกว่านำเข้า โดยประเทศที่ส่งออกมากที่สุดคือแถบเอเชียและจีน รองลงมาคือยุโรป และอเมริกา สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มส่งออกเพิ่มขึ้นคือกลุ่มยานยนต์

 

ขนส่งทางเรือบูม

 

สำหรับช่องทางการขนส่งหลักของบริษัทมาจากการขนส่งทางเรือ 65% ขนส่งทางอากาศ 5% และการขนส่งทางบก และการให้บริการพื้นที่คลังสินค้า 30% พร้อมกันนี้บริษัทมีแผนจะขยายพื้นที่คลังสินค้าปี 2564 ให้เป็น 1 หมื่นตารางเมตร จากปัจจุบันมีพื้นที่คลังสินค้า 4 พันตารางเมตร เพื่อรองรับกับความต้องการใช้พื้นที่คลังสินค้า

 

ขณะที่แนวโน้มธุรกิจและผลประกอบการไตรมาส 4/2563 บริษัทคาดจะดีต่อเนื่องจากไตรมาส 3/2563 ที่ผ่านมา ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณการขนส่ง หรือวอลุ่มที่เพิ่มขึ้น โดยทั้งปีนี้บริษัทคาดวอลุ่มจะเพิ่มขึ้นประมาณ 5-10% เมื่อเทียบกับปีก่อนขณะเดียวกันกับภาพรวมรายได้ปีนี้ บริษัทคาดจะสูงกว่าปีก่อนที่ 1.15 พันล้านบาท โดย 6 เดือนแรกบริษัทมีรายได้แล้วที่ 602.27 ล้านบาท

 

ปัจจุบันบริษัทมีจำนวนรถให้บริการ ซึ่งเป็นรถของบริษัทเองทั้งสิ้น 95 คัน หางลากประมาณ 300 หางและเป็นรถให้บริการจากซัพอคอนเทค 40-50 คัน ปริมาณการขนส่งอยู่ที่ 3.6-4 พันตู้ต่อเดือน คาดจะเพียงพอต่อการให้บริการลูกค้า นอกจากนี้บริษัทจะเดินหน้าขยายฐานธุรกิจในเขตโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC หลังบริษัทเข้าซื้อที่ดินในนิตมอุตสาหกรรมปิ่นทอง บนพื้นที่ 21 ไร่

 

บริการครบวงจร

 

โดยเฟสแรกบริษัทพัฒนาที่สำหรับบริการโลจิสติกส์ครบวงจรพื้นที่ 12 ไร่ โดยเริ่มให้บริการแล้วช่วงต้นปีที่ผ่านมา และมีกระแสตอบรับดี และบริษัทเตรียมเพิ่มจำนวนหัวลาก หางลากในการให้บริการพื้นที่ดังกล่าว เนื่องจากความต้องการใช้บริการสูง

 

ดร.สันติสุข กล่าวต่อว่า ธุรกิจโลจิสติกส์ของบริษัทไม่ใช่สัญญาระยะยาว ค่าขนส่งขึ้นอยู่กับภาวะอุตาหกรรมราคาน้ำมัน ทั้งนี้บริษัทไม่มีความเสี่ยงในด้านราคาน้ำมัน อีกทั้งทิศทางการเติบโตของกลุ่มลูกค้ายังเพิ่มขึ้นทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่งบริษัทมีลูกค้ากระจายไปทั่วทุกกลุ่ม โดยที่ผ่านมาลูกค้าในกลุ่มยางรถยนต์ปรับตัวลดลง แต่บริษัทได้ลูกค้าในกลุ่มอาหารทดแทน ซึ่งเป็นไปตามภาวะอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นในช่วงโควิด-19

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง