'สุธีรา' ชี้ไทยสามารถผลิตวัคซีนโควิดได้ หากได้เก็บในรพ. จะไม่มีปัญหาการเข้าถึง

“สุธีรา” ชี้ประเทศไทยสามารถผลิตวัคซีนได้ แม้อาจช้ากว่าประเทศอื่น หากสามารถนำวัคซีนไปเก็บตามรพ. ต่างๆ จะไม่มีปัญหาในการเข้าถึงวัคซีน
เมื่อวันที่ 29 มกราคม เวลาประมาณ 09.00 น. เครือมติชนจัดเสวนา ‘เบรกทรูไทยแลนด์ 2021’ ในรูปแบบเวอร์ชวล คอนเฟอร์เรนซ์ เนื่องในโอกาสที่หนังสือพิมพ์มติชนก้าวเข้าสู่ปีที่ 44 โดยมีวิทยาการร่วมเสวนา ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์ ในหัวข้อการวิเคราะห์โครงสร้างและนำเสนอทางออกประเทศ, ศาสตราจารย์ ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร และดร.คริส เบอเคอร์ นักเศรษฐศาสตร์การเมืองและนักประวัติศาสตร์
ร่วมเสวนาในหัวข้อคนไทยเสมอหน้าด้วยภาษี, ผศ.ดร.กนกรัตน์ เลิศชูสกุล อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในหัวข้อ พบวัตรขบวนการเคลื่อนไหวคนรุ่นใหม่, นายธานี ชัยวัฒน์ ผอ.ศูนย์เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมและการทดลอง คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในหัวข้อคอร์รัปชั่นและความเหลื่อมล้ำ, ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง ใบยา ไฟโตฟาร์ม ร่วมวิเคราะห์ในหัวข้อวัคซีนโควิด-19 ฉีดอย่างไรให้รอดจริง และนายสันติธาร เสถียรไทย นักเศรษฐศาสตร์ภาคเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ในหัวข้อ โอกาสและความหวังของประเทศไทยในปี 2021
ดำเนินรายการโดย นายบัญชา ชุมชัยเวทย์
ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ กล่าวว่า หากพูดถึงโรคระบาด หลายคนคงคิดว่าไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ และคงไม่มีอะไรที่จะส่งผลกระทบเท่ากับโควิด-19 ซึ่งวัคซีนก็เป็นสิ่งที่เป็นความหวัง ซึ่งสิ่งที่เห็นที่ผ่านมา บุคลาการร่วมมือกัน ประชาชนร่วมมือกัน นักวิชาการ นักวิจัยทั่วโลกร่วมมือร่วมใจกัน หากมองไปข้างหน้าจะเกิดอะไรขึ้น เมื่อวัคซีนเป็นความหวัง สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจก่อนว่าวัคซีนคืออะไร วัคซีนคือวิตามิน วิธีป้องกันที่จะให้คนที่ยังไม่เป็นไม่ให้ไม่เป็น ทั้งนี้วัคซีนมีหลายรูปแบบ หลายคนคิดว่าการเอาเชื้อมาทำให้ตายลง คือการเอาไปฉีดให้คน วัคซีนไวรัสพาหะคือวัคซีนเชื้อตายหรือไวรัสเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ วัคซีนรหัสพันธุกรรม เป็นวัคซีนที่มีความโด่งดังมาก เป็นเทคโนโลยีที่ใหม่ในการผลิตภัณฑ์ วัคซีนโปรตีนจะสร้างวัคซีนที่มีลักษณะคล้ายไวรัสโควิดขึ้นมา ซึ่งมีหลายบริษัทที่เป็นผู้ผลิตมีเทคโนโลยีเป็นของตนเอง ซึ่งได้สร้างมานานแล้วไม่ได้เพิ่งมาสร้างตอนที่เกิดโควิดแต่มีความร่วมมือทำให้วัคซีนเกิดขึ้นเร็วขึ้น
ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา กล่าวต่อว่า กลับมามองที่ประเทศไทย บริษัทใบยา ไฟโตฟาร์ม มีการสร้างองค์ความรู้ผ่านสถานศึกษา คำถามคือจะฉีดวัคซีนอย่างไรให้มีความปลอดภัย ในระยะยาวตนมองไว้สามประเด็น คือการฉีดวัคซีนในระยะสั้นกับระยะยาวมีความจำเป็น สิ่งที่เห็นในวันนี้คือมีการติดจากคนไปสู่สัตว์ จากคนไปสู่คน ไวรัสที่มีการกระจายมีการกลายพันธุ์ไปแล้วหรือไม่ การที่เรามีการถ่ายทอดเทคโนโลยี มีนักวิจัยที่จะสามารถพัฒนา ซึ่งสามส่วนนี้เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้การฉีดวัคซีนมีทางรอดอย่างแท้จริง
เมื่อถามว่าเราควรจะทำความเข้าใจประสิทธิภาพของการฉีดวัคซีนไปในทิศทางไหน ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา กล่าวว่า ในประเทศไทยมีการพัฒนาวัคซีนนี้อยู่ ซึ่งนำมาใช้ในวัคซีนมาใช้ในประเทศไทยด้วยเพื่อให้เกิดความมั่นใจ ซึ่งจริงๆ แล้วคนไทยมีความสามารถ แม้อาจจะใช้เวลาในการผลิตช้ากว่าประเทศอื่น หากเกิดโรคระบาดอย่างอื่นเกิดขึ้น ก็สามารถที่จะช่วยให้เขาถึงวัคซีนได้ เพราะโควิดเป็นโรคที่กระทบต่อคนจำนวนมากทั่วโลก
เมื่อถามว่าหากมีวัคซีนมา จะเข้าถึงง่ายและจะมีความเสมอภาคกันหรือไม่ ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา กล่าวว่า การเข้าถึงวัคซีนไม่ได้เป็นแค่เรื่องวัคซีน แต่เป็นเรื่องสาธารณสุข หากสามารถนำวัคซีนไปเก็บในโรงพยาบาลได้ ก็ไม่เป็นปัญหาในการเข้าถึง ซึ่งยิ่งผลิตมากราคาก็ยิ่งถูกลง ทำให้คนสามารถเข้าถึงได้มาขึ้น
เมื่อถามเมื่อฉีดวัคซีนก็จะมีการเกิดผลกระทบ ประเทศไทยจะเหมือนต่างประเทศหรือไม่ ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา กล่าวว่า เราจะทำอย่างไรให้ประเทศไทยมีความปลอดภัย ตอนนี้มีการทดสอบในสัตว์ทดลอง แต่ถ้าจะทดลองในคนก็ต้องติดตามอีกครั้ง
บทความน่าสนใจอื่นๆ
