รีเซต

ผู้ว่าฯ กาญจน์ ประกาศ อ.พนมทวน เป็นพื้นที่เสี่ยงแพร่เชื้อโควิด-19 ระดับสูง

ผู้ว่าฯ กาญจน์ ประกาศ อ.พนมทวน เป็นพื้นที่เสี่ยงแพร่เชื้อโควิด-19 ระดับสูง
มติชน
3 มกราคม 2564 ( 14:00 )
156

ผู้ว่าฯ กาญจน์ ประกาศ อ.พนมทวน เป็นพื้นที่เสี่ยงแพร่เชื้อโควิด-19 ระดับสูง เพิ่มอีก 1 อำเภอ หลังเซียนพนันชายติดโควิด-19 จากบ่อนเมืองจันท์ พร้อมสั่งคุมเข้มช่องทางธรรมชาติ 4 อำเภอชายแดน ป้องกันแรงงานลักลอบเข้าเมือง

 

เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 3 มกราคม  นายจีระเกียรติ ภูมิสวัสดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี/ประธานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดกาญจนบุรี/ผู้กำกับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินจังหวัดกาญจนบุรี ประกาศ กำหนดพื้นที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

 

ระบุว่า ตามที่ จังหวัดกาญจนบุรีมีประกาศจังหวัดกาญจนบุรี ลงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2563 เรื่อง กำหนดพื้นที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดกาญจนบุรี นั้น เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ขยายวงกว้างขึ้น และมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด โดยกลุ่มบุคคลที่มั่วสุมทำผิดกฎหมาย เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี อย่างเข้มขันและต่อเนื่อง

 

จังหวัดกาญจนบุรี จึงขอยกเลิกคำสั่งประกาศจังหวัดกาญจนบุรี เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2563 ดังกล่าวข้างต้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 และมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 ประกอบกับหนังสือกระทรงมหาดไทย ด่วนที่สุด ที่ มท 0230/ว7754 ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2563 และหนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุด ที่ มท 0230/7830 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2563 ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี ในฐานะผู้กำกับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินจังหวัดกาญจนบุรี โดยความเห็นชอบของคณะกรมการโรคติดต่อจังหวัดกาญจนบุรี จึงออกประกาศเป็นการทั่วไปและข้อปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

 

ข้อ 1 กำหนดพื้นที่สถานการณ์ระดับอำเภอ ดังนี้ พื้นที่เฝ้าระวัง ได้แก่ พื้นที่อำเภอเมืองกาญจนบุรี อำเภอท่าม่วง อำเภอท่ามะกา อำเภอด่านมะขามเตี้ย อำเภอทองผาภูมิ อำเภอสังขละบุรี อำเภอบ่อพลอย อำเภอศรีสวัสดิ์ อำเภอหนองปรือ อำเภอเลาขวัญ และอำเภอห้วยกระเจา


พื้นที่เฝ้าระวังสูง ได้แก่ พื้นที่อำเภอไทรโยค และ อำเภอพนมทวน โดยให้อำเภอที่อยู่ในพื้นที่เฝ้าระวัง และพื้นที่ฝ้าระวังสูง ดำเนินการปฏิบัติตามมาตรการแนบท้ายประกาศนี้อย่างเคร่งครัด

 

ข้อ 2 ให้นายอำเภอทุกอำเภอ เป็นผู้รับผิดชอบบริหารจัดการในเขตพื้นที่

 

ข้อ 3 ให้ศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคอำเภอ (ศปก.อ) ศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคตำบล (ศปก,ต)และศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคเทศบาลเมือง (ศปก. ทม) เป็นผู้รับผิดชอบระดับตำบล โดยให้มีบูรณาการร่วมกับอำเภอ จึงประกาศมาเพื่อทราบ และถือปฏิบัติโดยเคร่งครัดต่อไป ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม พ.ศ.2563 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับมาตรการแนบท้ายประกาศจังหวัดกาญจนบุรี เรื่องกำหนดพื้นที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด 19 ดังนี้


1.พื้นที่เฝ้าระวัง ทั้ง 11 อำเภอข้างต้น มีมาตรการในการปฏิบัติดังนี้

 

1.พิจารณาการตรวจค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกในพื้นที่ที่เสี่ยง กลุ่มบุคคลที่เสี่ยงและกิจกรรมกิจการที่เสี่ยง

2. จำกัดเวลาเปิด-ปิดดำเนินการของสถานประกอบการที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด

3. ค้นหาและจับกุมกลุ่มบุคคลที่มั่วสุมทำผิดกฎหมายซึ่งจะมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด 

4. กำหนดมาตรการควบคุมแรงงานต่างด้าว มิให้มีการเคลื่อนย้ายเข้า-ออกจากพื้นที่

5. หลีกเลี่ยงการจัดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มคนจำนวนมาก หากมีความจำเป็นต้องจัดกิจกรรม ให้ขออนุญาตคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด

และ 6. พิจารณาการ work from home ตามความเหมาะสม

 

2. พื้นที่เฝ้าระวังแนวชายแดน 4 อำเภอ

ประกอบด้วยอำเภอเมืองกาญจนบุรี อำเภอสังขละบุรี อำเภอด่านมะขามเตี้ย และอำเภอทองผาภูมิ ให้กำชับและควบคุมอย่างเข้มงวด ดังนี้

1. พิจารณาการตรวจค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกในพื้นที่ที่เสี่ยง กลุ่มบุคคลที่เสื่องและกิจกรรมกิจการที่เสี่ยง 2.จำกัดเวลาเปิด-ปิด ดำเนินการของสถานประกอบการที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด

3. ค้นหาและจับกุมกลุ่มบุคคลที่มั่วสุมทำผิดกฎหมายซึ่งจะมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด

4. กำหนดมาตรการควบคุมแรงงานต่างด้าวมิให้มีการเคลื่อนย้ายเข้าออกจากพื้นที่

5. หลีกเลี่ยงการจัดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มคนจำนวนมาก หากมีความจำเป็นต้องจัดกิจกรรมให้ขออนุญาตคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด

และ 6. ให้พิจารณา work from home ตามความเหมาะสม

 

3. พื้นที่เฝ้าระวังสูง

ที่มีผู้ติเชื้อไวรัสโควิด-19 อำเภอละ 1 ราย ประกอบด้วยอำเภอไทรโยค และอำเภอพนมทวน ให้กำชับและควบคุมอย่างเข้มงวด ดังนี้

1. พิจารณาการตรวจค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกและการสอบสวนโรคในพื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อและพื้นที่เชื่อมโยงที่ได้ข้อมูลจากการสอบสวนโรคของกระทรวงสาธารณสุข 2. จำกัดเวลาเปิด-ปิด ดำเนินการของสถานประกอบการที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด 3. ค้นหาและจับกุมกลุ่มบุคคลที่มั่วสุมทำผิดกฎหมายซึ่งจะมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด 4. กำหนดมาตรการควบคุมแรงงานต่างด้าวมิให้มีการเคลื่อนย้ายเข้าออกจากพื้นที่ 5. หลีกเลี่ยงการจัดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มคนจำนวนมาก และ 6. ให้มีการ work from home อย่างเต็มขีดความสามารถ

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง