รีเซต

รู้จัก สะพานพระราม 8 สะพานขึงโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

รู้จัก สะพานพระราม 8 สะพานขึงโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
TNN ช่อง16
10 พฤษภาคม 2566 ( 10:03 )
179
รู้จัก สะพานพระราม 8 สะพานขึงโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

รู้จัก สะพานพระราม 8 สะพานขึงแบบอสมมาตรเสาเดี่ยว ในความดูแลของ กทม. 


สะพานพระราม 8 เป็นสะพานขึงแบบอสมมาตรเสาเดี่ยว ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งที่ 13 ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีแนวสายทางเชื่อมต่อกับทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณโรงงานสุราบางยี่ขัน (สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และมูลนิธิชัยพัฒนา ในปัจจุบัน) แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด บรรจบกับปลายถนนวิสุทธิกษัตริย์ ใกล้กับธนาคารแห่งประเทศไทย แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 


สะพานพระราม 8

พิกัด    13°46′9″N 100°29′48.5″E

เส้นทาง    ทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี,

ถนนวิสุทธิกษัตริย์

ข้าม    แม่น้ำเจ้าพระยา

ที่ตั้ง    แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด

แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร

กรุงเทพมหานคร  ไทย

ชื่อทางการ    สะพานพระราม 8

เหนือน้ำ    สะพานกรุงธน

ท้ายน้ำ    สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า

ข้อมูลจำเพาะ

ประเภท    สะพานขึงแบบอสมมาตร

วัสดุ    คอนกรีตเสริมแรง

ความยาว    475 เมตร

ความสูง    160 เมตร

จำนวนช่วง    300 เมตร

เคลียร์ตอนล่าง    10.4 เมตร

ประวัติ

ผู้ออกแบบ    Buckland & Taylor

วันเริ่มสร้าง    15 มีนาคม พ.ศ. 2542

วันเปิด    7 พฤษภาคม พ.ศ. 2545


สะพานนี้เกิดจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อครั้งที่เสด็จทรงเยี่ยมพระอาการประชวรของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระองค์ทอดพระเนตรเห็นถึงปัญหาการจราจรของสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรุงเทพมหานครก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มอีก 1 แห่ง เพื่อบรรเทาการจราจรบนสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า รองรับการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรี และเป็นจุดเชื่อมต่อส่วนสุดท้ายของโครงข่ายจตุรทิศ ตะวันตก-ตะวันออก อันเนื่องมาจากพระราชดำริ


สะพานพระราม 8 จะช่วยเชื่อมการเดินทางระหว่างฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรีให้สะดวกสบายขึ้น ซึ่งจะช่วยระบายรถบนสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าได้ถึง 30% และบนสะพานกรุงธน อีก 20% และยังสามารถลดมลพิษทางอากาศบริเวณในเมือง โดยเริ่มเปิดให้ใช้ตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 เวลา 7:00 น. ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จะเสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดสะพานพระราม 8 อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 20 กันยายน ปีเดียวกัน


ความพิเศษ สะพานพระราม 8


มุมมองบนสะพานพระราม 8


สะพานพระราม 8 เป็นสะพานขึงแบบอสมมาตรเสาเดี่ยว 3 ระนาบที่ยาวที่สุดในโลก กล่าวคือ ขึงด้วยเคเบิลระนาบคู่บริเวณตัวสะพาน (Main Bridge) จำนวน 28 คู่ และขึงด้วยเคเบิลระนาบเดี่ยวช่วงหลังสะพาน (Back Span) จำนวน 28 เคเบิล สะพานมีความยาวทั้งสิ้น 475 เมตร โดยมีช่วงตัวสะพานยาว 300 เมตร (ซึ่งนับว่ายาวที่สุดในโลกในสะพานที่มีลักษณะนี้) และช่วงหลังสะพานยาว 175 เมตร เปรียบเทียบกับสะพาน สะพานโนวีโมสต์ ข้ามแม่น้ำดานูบในประเทศสโลวาเกีย ช่วงกลางสะพานยาว 303 เมตร และความยาวทั้งหมดรวมทั้งสิ้น 430.8 เมตร


มีเสาขนาดใหญ่เพื่อรับสายเคเบิลเพียงเสาเดียวบนฝั่งธนบุรี และไม่มีตอม่อกลางน้ำที่จะกีดขวางทางไหลของน้ำและบดบังความสง่างามของอาคารราชการ และกลุ่มโบราณสถานอันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม

ผ่านการทดสอบที่ทันสมัยที่สุดในโลก โดยเป็นสะพานที่ผ่านการทดสอบอุโมงค์ลมที่ห้องทดลองของบริษัท Rowan Williams Davies & Irwin Inc. (RWDI) ที่เมืองเกลฟ์ (Guelph) ประเทศแคนาดา ซึ่งเป็นห้องทดลองของการทดสอบแบบจำลองของสะพานพระราม 8 ในอุโมงค์ลม ทำให้มั่นใจว่าโครงสร้างสะพานมีความมั่นคงแข็งแรง สามารถทนแรงลมสูงสุดได้ 60 เมตรต่อวินาที (216 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)




ข้อมูล วิกิพีเดีย / สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)

ภาพ TNNOnline 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง