รีเซต

ศึกษาพบมลภาวะทางแสงจากมนุษย์ คุกคาม 'ค้างคาวหางยาว' ในนิวซีแลนด์

ศึกษาพบมลภาวะทางแสงจากมนุษย์ คุกคาม 'ค้างคาวหางยาว' ในนิวซีแลนด์
Xinhua
30 สิงหาคม 2566 ( 15:58 )
9
ศึกษาพบมลภาวะทางแสงจากมนุษย์ คุกคาม 'ค้างคาวหางยาว' ในนิวซีแลนด์

30 ส.ค. (ซินหัว) -- มลภาวะทางแสงที่เกิดจากฝีมือมนุษย์อาจเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของค้างคาวหางยาว (long-tailed bat) สัตว์นิวซีแลนด์ที่ถูกคุกคามอย่างหนัก และกีดกั้นพวกมันจากพื้นที่หาอาหาร

วันพุธ (30 ส.ค.) การศึกษาที่เผยแพร่ในวารสารนิวซีแลนด์ เจอร์นัล ออฟ ซูโลจี (New Zealand Journal of Zoology) รายงานว่าการวิจัยซึ่งมีขึ้นใกล้กับเมืองแฮมิลตันของนิวซีแลนด์ ตรวจจับค้างคาวบริเวณพื้นที่ที่มีแสงไฟจากโคมไฟฟลัดไลท์ได้น้อยครั้งกว่าเมื่อเทียบกับบริเวณพื้นที่มืดสนิทในช่วงเวลาห่างกันราวสองชั่วโมง

คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยไวกาโต มหาวิทยาลัยโอ๊คแลนด์ และสถาบันการวิจัยพืชและอาหาร ชี้ว่าการขยายตัวของพื้นที่เขตเมืองอาจส่งผลให้ค้างคาวพื้นเมืองได้รับมลภาวะทางแสงบ่อยขึ้น และขัดขวางพวกมันจากการเข้าถึงอาหาร

แสงประดิษฐ์ตอนกลางคืนถือเป็นภัยคุกคามที่เพิ่มมากขึ้นต่อสายพันธุ์ค้างคาว เนื่องจากมีแนวโน้มส่งผลกระทบต่อวงจรชีวิตของสัตว์ชนิดนี้ เพิ่มความเสี่ยงการถูกล่า และทำให้เกิดพฤติกรรมหลีกเลี่ยงภัยคุกคาม

อนึ่ง การศึกษาดังกล่าววัดการเปลี่ยนแปลงจำนวนการตรวจจับตอนกลางคืนเพื่อหาปฏิกิริยาต่อแสงสว่างเป็นระยะ โดยใช้การเฝ้าติดตามด้วยเสียงและเปรียบเทียบข้อมูลกับพื้นที่ควบคุมไร้แสงสว่างที่อยู่ใกล้เคียงกัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง