10 ข้อต้องระวังการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชา
ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี เผย 10 ข้อควรระวังการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชา เนื่องจากในวันที่ ตั้งแต่ 9 มิ.ย.65 นี้ กัญชาทุกส่วน รวมถึง “ช่อดอกซึ่งมี THC สูง” จะไม่ถูกกำกับดูแลในฐานะสิ่งเสพติดในประเทศไทย และจะไม่มีกฎหมายกำกับดูแลการใช้ สำหรับในช่วงที่ไม่มีการกำกับดูแล การรู้เท่าทันเพื่อป้องกันตนเองและคนรอบข้างจึงเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่ง 10 ข้อควรระวังมีดังนี้
1. ก่อนจะใช้กัญชาควรศึกษาความเสี่ยงของผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อตนเองในระยะสั้นและระยะยาว ผู้มีโรคประจำตัวปรึกษาแพทย์ก่อนโดยเฉพาะผู้มีโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคทางระบบประสาท โรคทางจิตเวช โรคปอด และอย่าลืมเชคว่ายาประจำตัวของเราจะตีกับกัญชาหรือจะถูกสารกัญชารบกวนจนเกิดผลร้ายไหม
2. หากอายุน้อยกว่า 25 ปี อย่าใช้ช่อดอกกัญชาหรือสาร THC เนื่องจากมีโอกาสเกิดปัญหาต่อการพัฒนาทักษะด้านต่างๆทางสมอง โดยเฉพาะด้านการคิดอย่างมีเหตุผลซึ่งพบว่าหากมีการเสื่อมแล้ว แม้หยุดกัญชานานเป็นปีก็ไม่อาจคืนกลับเป็นปกติ (ส่วนทักษะทางภาษาและความจำระยะสั้นสามารถกลับคืนเมื่อหยุดเสพกัญชาได้)
3. หากคิดแล้วอยากจะลองใช้จริงๆ ก็ขอให้เริ่มแบบ THC (สารเมาหลอนและเสพติด) ปริมาณน้อย หากลอง THC ในปริมาณเข้มข้น อาจเสี่ยงทำให้เกิดอาการ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ต้องเข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉินหรือ ICU ได้
4. การสูบกัญชาแบบเผาไหม้ บารากุ หรือแบบบุหรี่ไฟฟ้าล้วนเกิดการระคายเคืองต่อทางเดินหายใจและเยื่อบุได้ ซึ่งอาจเกิดได้ทั้งจากตัวกัญชา สารละลาย หรือสารปนเปื้อนอื่น หากมีอาการควรหยุดสูบในทันที
5. ผู้ที่จะทดลองสูบ กรูณาสูบอย่าลึกมาก และอย่าอัด-กลั้นไว้ในปอด เพราะจะได้รับปริมาณสารเข้าสู่ร่างกายเยอะ ทั้งสาร THC และสารระคายเคืองต่างๆที่ระคายเคืองทางเดินหายใจ
6. คนรอบตัวที่ไม่ได้สูบยังอาจได้รับควันกัญชาได้ ฉะนั้นควรสูบในที่จัดเป็นสัดส่วนของคนสูบกันเอง เลี่ยงการสูบในที่มีเด็ก คนท้อง หรือผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ
7. หากมีสัญญาณการติดกัญชา เช่น ใช้บ่อย ใช้มากขึ้น ทำใจไม่ใช้ลำบาก เริ่มเสียเงินกับกัญชาเยอะ หรือเริ่มคิดถึงการใช้กัญชามากจนรบกวรการทำงาน การดำเนินชีวิต หรือความสัมพันธ์กับคนรอบตัว ต้องระวังว่ามีการติดกัญชาแล้ว ลองปรึกษาแพทย์เพื่อควบคุมการใช้กัญชาไม่ให้ติดจนรบกวนการดำเนินชีวิตมากไปกว่านั้น หากเห็นคนมีลักษณะนี้ลองหาทางพูดคุยอย่างเป็นมิตรให้เขาพิจารณาปรึกษาแพทย์
8. การขับขี่ยานพาหนะขณะที่มีอาการข้างเคียงจากการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ ดังนั้นต้องแนะนำให้งดการขับขี่ยานพาหนะหรือการทำงานกับเครื่องจักรไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง หลังจากการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาและการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาร่วมกับการดื่มสุราจะทำให้ความสามารถในการขับยานพาหนะลดลงมาก ดังนั้นแนะนำให้หลีกเลี่ยงอย่างเด็ดขาดนะครับ แม้จะไม่มีการห้ามเสพขณะขับขี่ยานพาหนะในช่วงที่ พรบ.ยังไม่ออก แต่หากก่อให้เกิดอุบัติเหตุก็ยังผิดในฐานะขับรถโดยประมาท
9. การเลือกผลิตภัณฑ์กัญชา ควรเลือกที่มีความน่าเชื่อถือ ในต่างประเทศที่มีกติกากำกับดูแลผลิตภัณฑ์ จะมีการตรวจสารปนเปื้อน เชื้อโรค และยืนยันระดับสารว่าตรงกับที่ฉลากระบุ ซึ่งก็มีการคัดออกผลิตภัณฑ์ที่มีเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย เศษปฏิกูลต่างๆออกอยู่
10. อาหารหรือขนมผสมกัญชาที่มี THC สูง ล่าสุดมีผู้บริโภคมีอาการแพ้พิษของกัญชา จากการซื้อแกงจืดมีส่วนผสมของกัญชาจนต้องเข้าโรงพยาบาล หากจะซื้ออาหารมากินกรุณาเช็กให้แน่ใจว่าเป็นอาหารแบบที่เราตั้งใจจะซื้อมากินจริงๆ หากเจอคนรอบตัวบาดเจ็บจากผลิตภัณฑ์อาหารหรือขนมใส่กัญชาโดยที่เจ้าตัวเขาจงใจจะซื้ออาหารหรือขนมธรรมดา (ปนเปื้อนกัญชา หรือใส่กัญชาโดยไม่แจ้งผู้บริโภค) ตั้งสติเก็บรายละเอียดช่องทางการซื้อขาย ผลิตภัณฑ์ที่เหลือ รวมถึงหีบห่อ และติดต่อสายด่วนคุ้มครองผู้บริโภค หรือนำส่งที่โรงพยาบาลพร้อมกับผู้ป่วย เพื่อป้องกันการกระจายของผลิตภัณฑ์ที่ปนเปื้อน THC โดยไม่ระบุเหล่านี้
--------------------
เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก
ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.
คลิกเลย >>> TrueID Community <<<
--------------------
เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก
ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.
คลิกเลย >>> TrueID Community <<<