รีเซต

โล่ง! สสจ.ตราดเผย นทท.ฝรั่งเศสไม่ได้ป่วยฝีดาษลิง แต่รอผลยืนยันจากรพ.จุฬาฯ อีกครั้ง

โล่ง! สสจ.ตราดเผย นทท.ฝรั่งเศสไม่ได้ป่วยฝีดาษลิง แต่รอผลยืนยันจากรพ.จุฬาฯ อีกครั้ง
มติชน
7 สิงหาคม 2565 ( 16:12 )
28
โล่ง! สสจ.ตราดเผย นทท.ฝรั่งเศสไม่ได้ป่วยฝีดาษลิง แต่รอผลยืนยันจากรพ.จุฬาฯ อีกครั้ง

เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม นายสุรชัย เจียมกุล รองนายแพทย์สาธารณสุขจ.ตราด ในฐานะโฆษกจ.ตราด เปิดเผยความคืบหน้ากรณีนักท่องเที่ยวชาวฝรั่งเศส(ครั้งแรกแถลงว่าเป็นชาวเยอรมัน)นั้น จากการที่ทำการสอบสวนโรคและนำผลเลือดส่งตรวจที่กรมวิทยาคาสตร์การแพทย์ และที่ศูนย์โรคอุบัติใหม่ด้านคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยไปเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2565 ปรากฏว่า ผลจากศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ยืนยันว่า ไม่พบเชื้อฝีดาษวานรในตัวนักท่องเที่ยวชาวฝรั่งเศสรายนี้ อย่างไรก็ตาม จะต้องรอผลยืนยันจากศูนย์โรคอุบัติใหม่ด้านคลีนิค โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยที่จะส่งผลมาในวันพรุ่งนี้(8 สิงหาคม 2565)โดยที่ผ่านมานักท่องเที่ยวรายนี้อยู่ในประเทศมานานและเดินทางไปท่องเที่ยวในหลายจังหวัด เช่น ภูเก็ต พัทยา และตราด

 

นายสุรชัย กล่าวว่า นักท่องเที่ยวรายนี้ปัจจุบันอยู่ในห้องกักกันโรคของโรงพยาบาลตราด ที่มีแพทย์และพยาบาลดูแลใกล้ชิด ซึ่งจากการสอบสวนโรคพบว่า เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม2565 เวลา 22.08 น. ว่าได้รับนักท่องเที่ยวชาวฝรั่งเศส เพศชาย อายุ 32 ปี เข้ารับการรักษา

 

โดยมีอาการตุ่มใสที่อวัยวะเพศ ให้ประวัติเคยมีเศสัมพันธ์กับคนแปลกหน้า 2-3 ครั้งและมีประวัติเข้ารับการรักษาโรคเริมประมาณ 1 เดือนที่ผ่านมา (ไม่ทราบสถานบริการ) อาการไม่ดีขึ้นจึงเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลกรุงเทพตราด ตามเวลาดังกล่าว โดยนักท่องเที่ยวรายนี้มีประวัติเดินทางมายังประเทศไทยโดยอยู่ที่ อำเภอเกาะช้าง เป็นเวลา 7 เดือน ปัจจุบันโรงพยาบาลกรุงเทพตราด ได้ส่งต่อนักท่องเที่ยวรายดังกล่าว เข้ารับการดูแลรักษาที่โรงพยาบาตราด ซึ่งจากการซักประวัติและสอบสวนโรค เข้าข่ายกับนิยามของโรคฝีดาษวานร

 

ทั้งนี้ นักท่องเที่ยวรายนี้อยู่ในความดูแลและการสอบสวนโรคของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตราดและโรงพยาบาลตราด หากมีความคืบหน้าจะแถลงให้ทราบในวันที่ 8 สิงหาคม 2565 นี้ โดยขอให้ประชาชนจังหวัดตราดอย่าตื่นตระหนก ตกใจ แต่ให้ตระหนัและติดตามข่าวสารตามที่สาธารณสุขแนะนำคำแนะนำสำหรับประชาชนเนื่องจากโรคผีดาบวานร ลามารถติดต่อจากการสัมผัสโดยตรงกับแผล หรือสารคัดหลั่งทางเดินหายใจของผู้ป่วย หรือสัมผัสสิ่งของที่ปนเป็อนสารคัดหลั่ง เช่น เสื้อผ้า ปลอกหมอนหรือผ้าปูที่นอน แต่การติดเชื้อดังกล่าวไม่ได้ติดต่อกันง่ายๆ จะติดต่อได้จากการสัมผัสใกล้ชิดมากๆจึงขอให้เพิ่มความระมัดระวังและลดการสัมผัสใกล้ชิดกับคนแปลกหน้าเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อผีดาษวานร และเป็นการป้องกันการติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆด้วย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง