รีเซต

นักวิทย์โปแลนด์ พบยีนเสี่ยงติดโควิด-19 ทำป่วยหนักกว่า 2 เท่า

นักวิทย์โปแลนด์ พบยีนเสี่ยงติดโควิด-19 ทำป่วยหนักกว่า 2 เท่า
TNN ช่อง16
14 มกราคม 2565 ( 20:17 )
54
นักวิทย์โปแลนด์ พบยีนเสี่ยงติดโควิด-19 ทำป่วยหนักกว่า 2 เท่า

วันนี้ (14 ม.ค.65) นักวิทยาศาสตร์โปแลนด์พบยีนที่จะทำให้ผู้ติดเชื้อโควิด-19 มีความเสี่ยงเพิ่มมากกว่า 2 เท่า ที่จะกลายเป็นผู้ป่วยหนัก การค้นพบดังกล่าวอาจช่วยให้แพทย์สามารถระบุประชาชนที่มีความเสี่ยงสูงสุดต่อโรคดังกล่าวได้ 

ขณะที่ นักวิจัยหวังว่าการระบุผู้มีความเสี่ยงสูงดังกล่าว จะทำให้พวกเขาเข้ารับการฉีดวัคซีน และเข้าถึงทางเลือกการรักษาอย่างเข้มข้นมากขึ้น กรณีที่พวกเขาติดเชื้อ

นักวิจัยมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์เบียวิสตอคของโปแลนด์ พบว่า ยีนเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดอันดับ 4 ซึ่งกำหนดว่าบุคคลนั้นต้องทนทุกข์ทรมานจากโควิด-19 มากเพียงใด นอกจากพิจารณาตามอายุ น้ำหนัก และเพศ 

ศาสตราจารย์มาร์ซิน มอตลีย์คู ที่รับผิดชอบโครงการ เปิดเผยว่า ยีนชนิดนี้มีอยู่ในประชากรประมาณ 14% ของโปแลนด์ เทียบกับ 8-9% ในยุโรปโดยรวมและ 27% ในอินเดีย



ขณะที่ นายอดัม นีย์ดเซียลสกี้ รัฐมนตรีสาธารณสุขโปแลนด์ กล่าวว่า หลังจากทำงานหนักกว่า 1 ปีครึ่งหลังการทดสอบ ผู้ป่วยโควิด จำนวน 1.5 พันคน ได้ค้นพบยีนที่เป็นไปได้ระบุผู้เสี่ยงป่วยโควิดอย่างหนัก ในยีนของโครโมโซม 3 เป็นโครโมโซมที่ใหญ่เป็นอันดับสามจาก 23 คู่ของโครโมโซมที่พบในมนุษย์

นั่นหมายถึงในอนาคตเราสามารถระบุคนที่มีแนวโน้มป่วยโควิด-19 ที่ร้ายแรง

การศึกษานี้ ยังแสดงให้เห็นถึงความสำคัญด้านอื่นๆ ของปัจจัยทางพันธุกรรม ในการพัฒนาอาการป่วยความรุนแรงของโควิด-19


อย่างไรก็ตาม ในเดือนพฤศจิกายนปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษจากอ็อกซ์ฟอร์ดเปิดเผยว่า ได้ค้นพบรุ่นของยีนที่อาจเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงของอาการป่วยโควิด-19

โดยพบว่า ยีนเดี่ยวที่ชื่อว่า “LZTFL1” มีความเสี่ยงต่อการเพิ่มโอกาสเกิดภาวะหายใจล้มเหลวและเสียชีวิตจากโควิด-19 เป็น 2 เท่า พบมากในกรรมพันธุ์จากเอเชียใต้ประมาณ 60% 

แต่การค้นพบยีนตัวนี้ไม่ได้หมายความว่า ประชาชนทุกคนจะได้รับผลกระทบที่เหมือนกัน โดยมีตัวแปรอื่นๆ เช่น อายุที่ส่งผลต่อความเสี่ยงด้วย แต่งานวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า ทำไมบางพื้นที่จึงได้รับผลกระทบจากโควิด-19 หนักจากที่อื่นๆ


นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า หลังมีกระแสคนไทยต้องการใช้สมุนไพร เช่น ยาตำรับห้าราก และยาตำรับประสะเปราะใหญ่ ซึ่งเป็นยาต้านหวัดและแก้ไข้ ซึ่งอยู่ในบัญชียาจากสมุนไพรที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิมในบัญชียาหลักแห่งชาติ แต่นำใช้ในการช่วยรักษาหรือบรรเทาอาการป่วยจากการติดเชื้อโควิด-19 อย่างต่อเนื่องนั้น

ทางกรมฯจึงได้ นำยา 2 ตำรับดังกล่าว มาเพาะเลี้ยง มาบ่มกับเชื้อไวรัสในหลอดทดลอง และนำเชื้อไวรัสไปทดสอบในเซลล์เพาะเลี้ยง เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า  

ผลการทดสอบเบื้องต้นพบว่า ยาตำรับห้ารากที่สกัดด้วยน้ำ มีค่าการยับยั้งเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า ร้อยละ 96.23 ที่ความเข้มข้น 10 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร (มก./มล.)


ส่วนยาตำรับประสะเปราะใหญ่ที่สกัดด้วยน้ำ มีค่าการยับยั้งเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า ร้อยละ 76.56 ที่ความเข้มข้น 10 มก./มล. ยาตำรับประสะเปราะใหญ่ที่ทำการสกัดด้วยตัวทำละลาย ที่เป็นแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้นร้อยละ 50 มีค่าการยับยั้งเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า ร้อยละ 88.70 ที่ความเข้มข้น 2.5 มก./มล.

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์ฯ กล่าวอีกว่า การนำไปใช้สำหรับรักษาโรคโควิด-19 ควรรอผลการศึกษาวิจัยให้แน่ชัดเสียก่อน ขณะนี้ กรมวิทยาศาสตร์ฯ จะเร่งวิจัย สมุนไพรทั้ง 2 ตำรับ ทั้งในด้านการศึกษาการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันก่อนการติดเชื้อไวรัส ฤทธิ์และกลไกการออกฤทธิ์ในการต้านการติดเชื้อไวรัส ตลอดจนศึกษาความปลอดภัยของยาตำรับ เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนการใช้ยาสมุนไพรสำหรับใช้เป็นยารักษาโรคโควิด-19 ต่อไป

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง