รีเซต

สธ.โต้ อนามัยโลก ตลาดจตุจักรไม่ใช่ต้นตอไวรัสโคโรนา ยันมีระบบเฝ้าระวังโรค

สธ.โต้ อนามัยโลก ตลาดจตุจักรไม่ใช่ต้นตอไวรัสโคโรนา ยันมีระบบเฝ้าระวังโรค
มติชน
24 กุมภาพันธ์ 2564 ( 16:45 )
50
สธ.โต้ อนามัยโลก ตลาดจตุจักรไม่ใช่ต้นตอไวรัสโคโรนา ยันมีระบบเฝ้าระวังโรค

เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.เฉวตสรร นามวาท ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพ กรมควบคุมโรค สธ.ให้สัมภาษณ์กรณีสำนักข่างต่างประเทศเผยแพร่ข่าวว่า ตลาดจตุจักรอาจเป็นต้นกำเนิดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ก่อนตลาดในเมืองอู่ฮั่น สาธารณรัฐประชาชนจีน ว่า กรมควบคุมโรคขอยืนยันว่า ข่าวดังกล่าวนั้นไม่เป็นความจริง ทั้งนี้การระบาดของโรคโควิด-19 มีข้อสงสัยว่าอาจจะข้ามมาจากสัตว์ แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานชี้ชัดว่ามาจากสัตว์ชนิดใด และมีการลงพื้นที่ตรวจสอบหาเชื้อโควิด-19 ในจีน ก็ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนเช่นกัน จึงอาจทำให้มีการมองหาประเทศอื่นๆ ที่มีชายแดนติดจีน เป็นการพูดแบบกว้างๆ โดยไม่มีหลักฐานทางวิชาการมายืนยัน

 

“สำหรับ ประเทศไทยมีการเฝ้าระวังโดยมีนักวิจัยที่เก็บตัวอย่างค้างคาวมงกุฎมาตรวจสอบเพื่อหาเชื้อโควิด-19 โดยร่วมมือกับกรมอุทยานแห่งชาติและพันธุ์พืช ร่วมกับศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ โรงพยาบาล (รพ.) จุฬาลงกรณ์ ก็ศึกษาค้าวคาวในเมืองไทยต่อเนื่องมา 20 ปี ว่า โอกาสที่จะมีโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนหรือไม่ ทั้งนี้ สายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโคโรนา มีหลายสายพันธุ์ บางสายพันธุ์ก่อโรคเฉพาะในสัตว์โดยไม่แพร่สู่คน เช่น เชื้อไวรัสโคโรนาในสุนัขและแมว ก็พบในสัตว์อื่นเช่น ค้าวคาว แต่ก็ยังไม่มีข้อมูลหลักฐานที่ชี้ชัดว่าเชื้อโควิด-19 ที่มีการระบาดในขณะนี้มาจากสัตว์ชนิด” นพ.เฉวตสรร กล่าว

 

อย่างไรก็ตาม นพ.เฉวตสรร กล่าวว่า ผลการวิจัยที่พบว่ารหัสพันธุกรรมของค้าวคาวมงกุฎมีความคล้ายคลึงกับเชื้อไวรัสโควิด-19 ถึงร้อยละ 91.5 นั้น แต่ไม่ติด่อระหว่างค้างคาวสู่คน ทั้งนี้ ขอแนะนำว่า ประชาชน ไม่ควรรับประทานสัตว์ป่าโดยเฉพาะค้าวคาว และไม่ควรล่าสัตว์ ขณะเดียวกัน กรมควบคุมโรคยังได้รว่มมือกับกรมอุทยานแห่งชาติฯ กรมปศุสัตว์ เฝ้าระวังเชื้อโรคจากสัตว์สู่คน มีการเฝ้าระวังตลาดค้าสัตว์ป่า สัตว์เลี้ยง เช่น ตลาดจตุจักร ตลาดในเขตมีนบุรี และพุทธมณฑล เพื่อความปลอดภัยของประชาชน

 

“ไทยมีการเฝ้าระวังโรคจากสัตว์สู่คน อย่างต่อเนื่อง หลังจากที่เคยมีการระบาดของโรคจากสัตว์สู่คนในไทย เช่น โรคซาร์ โรคเมอร์ เป็นบทเรียนให้เราเฝ้าระวังเรื่องสัตว์ป่า ถ้ามีโรคใหม่ๆ ระบาดจะมีสัญญาณบอกเหตุที่ผิดสังเกต เช่น ก่อนเกิดการระบาดของโรคโควิด-19 ไทยก็ไม่มีสัญญาณบ่งชี้ใดๆ หรือพบผู้ป่วย ที่เป็นกลุ่มก้อนผิดสังเกตก่อนการระบาดในอู่ฮั่น เช่น อาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ หรือปอดบวม มากผิดปกติแบบไม่ทราบสาเหตุ จึงเป็นความมั่นใจของกรมควบคุมโรคว่า ไทยไม่ใช่แหล่งกำเนิดโรคโควิด-19” นพ.เฉวตสรร กล่าว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง