รีเซต

เตือนประชาชนภาคใต้ตอนล่าง ระวังโรคไข้ปวดข้อยุงลายระบาดหน้าฝน ปฏิบัติตามมาตรการ 3 เก็บ

เตือนประชาชนภาคใต้ตอนล่าง ระวังโรคไข้ปวดข้อยุงลายระบาดหน้าฝน ปฏิบัติตามมาตรการ 3 เก็บ
มติชน
9 สิงหาคม 2563 ( 13:02 )
103
เตือนประชาชนภาคใต้ตอนล่าง ระวังโรคไข้ปวดข้อยุงลายระบาดหน้าฝน ปฏิบัติตามมาตรการ 3 เก็บ

วันที่ 9 สิงหาคม รายงานข่าวจากสำนักงานป้องกันควบคุมโรค(สคร.) ที่ 12 จ.สงขลา เปิดเผยว่า ในช่วงนี้พื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง จ.สตูล สงขลา นราธิวาส ตรัง ปัตตานี และ จ.ยะลา มีฝนตกต่อเนื่อง และตกหนักในบางแห่ง ส่งผลให้บางพื้นที่มีแหล่งน้ำขัง นำมาซึ่งแหล่งเพาะพันธุ์ของลูกน้ำยุงลาย เป็นสาเหตุของการเกิดโรคไข้ปวดข้อยุงลายตามมา ในแต่ละปีพบผู้ป่วยฯเกือบ 1 พันราย

 

“โรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือโรคชิคุนกุนยา เป็นโรคติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา (Chikungunya virus) ที่มียุงลายสวนตัวเมียเป็นพาหะนำโรค พบได้ทุกกลุ่มอายุ มีอาการคล้ายไข้เลือดออก แต่ต่างกันไม่มีการรั่วของพลาสมาออกนอกเส้นเลือด จึงไม่พบผู้ป่วยอาการรุนแรงมากจนถึงการช็อกและมักมีอาการปวดข้อเพิ่มเติม ไวรัสติดต่อจากคนสู่คนได้โดยมียุงลายเป็นพาหะ”

 

รายงานข่าวว่าลักษณะอาการที่เด่นชัดคือ มีไข้ ออกผื่นและจะมีอาการปวดข้อ ข้อบวมแดง อักเสบและเจ็บ เริ่มจากบริเวณข้อมือ ข้อเท้า และข้อต่อแขนขา อาจพบอาการปวดกล้ามเนื้อด้วย อาการปวดข้อจะพบได้หลายๆ ข้อ เปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อยๆ อาการจะรุนแรงมากจนบางครั้งขยับข้อไม่ได้ อาการจะหายภายใน 1-12 สัปดาห์ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดข้อเกิดขึ้นได้อีกภายใน 2-3 สัปดาห์ต่อมา และบางรายอาการปวดข้อจะอยู่ได้นานเป็นเดือนหรือเป็นปี อาการแทรกซ้อนที่พบบ่อยสุดคืออาการปวดข้อเรื้อรัง บางรายเป็นหลายเดือน ทำให้ไม่สามารถประกอบอาชีพตามปกติได้

 

ประชาชน ชุมชนกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยเน้นใช้มาตรการ ใช้มาตรการ “3 เก็บ” 1.เก็บบ้านให้สะอาด โปร่ง โล่ง ไม่ให้เป็นที่เกาะพักของยุง 2.เก็บขยะ เศษภาชนะรอบบ้าน ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และ 3.เก็บน้ำ สำรวจภาชนะใส่น้ำ ต้องปิดฝาให้มิดชิด ป้องกันยุงลายไปวางไข่

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง