รีเซต

นักวิจัยพบจุดอ่อนไวรัสโควิด คนฉีดวัคซีนแล้วติดเชื้อ ‘เกิดภูมิคุ้มกันพิเศษ’

นักวิจัยพบจุดอ่อนไวรัสโควิด คนฉีดวัคซีนแล้วติดเชื้อ ‘เกิดภูมิคุ้มกันพิเศษ’
TNN ช่อง16
24 มกราคม 2567 ( 13:52 )
104

วันนี้ ( 24 ม.ค. 66 )นักวิจัยพบ ‘จุดอ่อนบริเวณหนาม’ ของไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้ผู้ที่เคยฉีดวัคซีนมาก่อน และต่อมาติดเชื้อโอมิครอนสายพันธุ์ดั้งเดิม (BA.1/BA.2)  จะเกิดภูมิคุ้มกันพิเศษที่เรียกว่า "“เมมโมรีทีเซลล์ (memory T cell)”ต่อโอมิครอนกลายพันธุ์สายพันธุ์ใหม่ส่งผลให้การติดเชื้อโอมิครอนกลายพันธุ์สายพันธุ์ใหม่ หากเกิดขึ้นในอนาคตจะ ‘ไม่รุนแรง’


ชึ้ให้เห็นว่า ‘ระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์’ มีการปรับตัวตลอดมาเพื่ออยู่ร่วมกับไวัรสโควิด-19 ที่มีการกลายพันธุ์ต่อเนื่อง โดยผู้ที่เคยติดเชื้อโอมิครอนสายพันธุ์ดั้งเดิม (BA.1/BA.2) หลังการฉีดวัคซีน (breakthrough infection) จะช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยแข็งแกร่งขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมต่อสู้กับโอมิครอน กลายพันธุ์ สายพันธุ์ใหม่ที่จะอุบัติขึ้นในอนาคต


การค้นพบจุดอ่อนบริเวณหนามของโอมิครอนสามารถนำไปใช้กับการพัฒนาต่อยอดวัคซีนที่จะกระตุ้น ‘เมมโมรีทีเซลล์’ ให้เพิ่มจำนวนขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อเข้าทำลายเซลล์ติดเชื้อ


ทั้งนี้ ทีมนักวิทยาศาสตร์เกาหลีใต้นำโดยศาสตราจารย์ ชิน อึยชอล (SHIN Eui-Cheol) จากศูนย์วิจัยไวรัสด้านภูมิคุ้มกันวิทยา สถาบันวิทยาศาสตร์พื้นฐาน (IBS) ประเทศเกาหลีใต้ได้แถลงและตีพิมพ์ผลงานวิจัยล่าสุดลงในวารสาร  ‘Science Immunology’ เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2567 แสดงให้เห็นว่าการที่ร่างกายเราได้ต่อสู้กับการติดเชื้อโอมิครอนสายพันธุ์ดั้งเดิม (BA.1/BA.2) ในปี 2565 ทำให้มีการสร้างเซลล์ภูมิคุ้มกันประเภทหนึ่งเรียกว่า เมมโมรีทีเซลล์ (memory T cell) ขึ้นมาเพื่อจดจำไวรัสสายพันธุ์ดังกล่าว 


 ‘เมมโมรีทีเซลล์’ จะมีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วเมื่อร่างกายมีการติดเชื้อโอมิครอนดั้งเดิม (BA.1/BA.2) ซ้ำอีกครั้งเพื่อเข้าทำลายเซลล์ติดเชื้อไวรัส แต่ปรากฏว่า เมมโมรีทีเซลล์เหล่านี้ยังมีความสามารถพิเศษในการทำลายเซลล์ติดเชื้อโอมิครอนสายพันธุ์ใหม่ที่ ‘เมมโมรีทีเซลล์’ กลุ่มนี้ยังไม่เคยพบมาก่อน เช่น BA.4/BA.5, BQ.1, XBB, EG.5.1  และแม้แต่โอมิครอน BA.2.86 และ JN.1 ที่ตรวจพบการระบาดเมื่อเร็ว ๆ นี้


แสดงให้เห็นว่า เมมโมรีทีเซลล์สามารถจดจำ และเข้าโจมตีจุดอ่อน ที่คาดว่าเป็นบริเวณเล็กๆในส่วนหนามที่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง (conserved region) มาตั้งแต่โอมิครอนสายพันธุ์ดั้งเดิม(BA.1/BA.2) จนถึงกลุ่มโอมิครอนสายพันธุ์ล่าสุด  JN** ที่คาดว่าจะแพร่ระบาดเป็นสายพันธุ์หลักทั่วโลกในปี พ.ศ. 2567 นี้


 ทีมนักวิทยาศาสตร์เกาหลีได้สรุปในงานวิจัยว่า


1. ร่างกายเรามีการปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกับโอมิครอนสายพันธุ์ใหม่ในอนาคตผ่าน“เมมโมรีทีเซลล์” ผู้ที่ฉีดวัคซีนหรือเคยติดเชื้อโควิด-19 มาก่อน หรือทั้งสองอย่าง หากเกิดติดเชื้อซ้ำ (breakthrough infection) ในอนาคตด้วยโควิด-19 กลายพันธุ์สายพันธุ์ใหม่จะมีอาการ “ไม่รุนแรง”


2. การค้นพบจุดอ่อนบริเวณหนามของโอมิครอนสามารถนำไปใช้กับการพัฒนาต่อยอดวัคซีนที่จะกระตุ้น“เมมโมรีทีเซลล์” ให้เพิ่มจำนวนขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อเข้าทำลายเซลล์ติดเชื้อ


ภาพจาก: AFP

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง