ประตูคลองท่าหลวงรั่ว! ชาวบ้านหวั่นไม่มีน้ำใช้ทำการเกษตรตลอดฤดูแล้ง
วันที่ 15 พฤศจิกายน 2563 ที่บริเวณประตูน้ำคลองท่าหลวง มีชาวบ้านล้วนเป็นเกษตรกร จากหมู่ที่ 5,6,7,8,และ9 ต.ปากทาง อ.เมือง จ.พิจิตร จำนวนกว่า 20 คน ที่ได้รับความเดือดร้อนจากน้ำในลำคลองท่าหลวง ซึ่งเป็นลำคลองธรรมชาติ ถือว่าเป็นแหล่งน้ำหลัก ที่ชาวบ้านในพื้นที่ดังกล่าวทุกๆปีจะมีการปิดบานประตูคลองท่าหลวง เพื่อกักเก็บไว้ในลำคลองเพื่อใช้ทำการเกษตร ปลูกพืชไร่ พืชสวน พืชอายุสั้น ในช่วงฤดูแล้ง และจะใช้น้ำในลำคลองท่าหลวง เป็นการอุปโภคต่างๆ แต่ในปีนี้มวลน้ำในลำคลองท่าหลวง มีจำนวนจำกัด หรือว่าเหลือน้อยมาก ชาวบ้านหวั่นว่าจะมีน้ำไม่เพียงพอต่อฤดูแล้งที่จะมาถึง หรือเรียกว่าแล้งแต่ต้นปี สาเหตุเนื่องจากบริเวณประตูน้ำคลองท่าหลวง รั่วซึมทำให้มวลน้ำไหลลงสู่แม่น้ำน่านไปเฉยๆโดยไม่ได้รับประโยชน์อะไร ซึ่งชาวบ้านต้องน้ำฟางหญ้ามาอุดเพื่อชะลอน้ำไว้ชั่วคราว อีกทั้งระบบการบริหารจัดการน้ำของหน่วยงานและเจ้าหน้าที่รับผิดชอบมีการบริหารอย่างไม่เป็นระบบ โดยชาวบ้านเรียกว่านึกจะเปิดก็เปิด นึกจะปิดก็ปิด ชาวบ้านจึงรวมตัวเรียกร้องให้ผู้เกี่ยวข้องมาดำเนินแก้ไขและช่วยเหลือชาวบ้านให้มีน้ำกักเก็บไว้ให้ได้ใช้น้ำตลอดฤดูแล้งนี้
ด้านนางสาคร แช่มทอง อายุ 46 ปี ได้เล่าให้ฟังว่าปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้านรวม 5 หมู่บ้านของตำบลปากทาง อ.เมืองพิจิตร เนื่องจากชาวบ้านหลายร้อยครัวเรือน ต้องใช้น้ำจาก “คลองท่าหลวง”เป็นหลักในการสูบไปรดพืชสวน พืชไร่ และพืชผักสวนครัว แต่ในปีนี้น้ำเหลือน้อยเต็มที และลดระดับรวดเร็ว ซึ่งชาวบ้านหวั่นว่าจะไม่มีน้ำใช้เพียงพอตลอดในฤดูแล้งที่จะถึงนี้ อีกทั้งประตูน้ำคลองท่าหลวง แห่งนี้ มีการเปิด-ปิดไม่เป็นเวลา หรือไม่เป็นระบบนึกจะเปิดก็เปิดนึกจะปิดก็ปิด หรือเปิดน้ำทิ้งไปเฉยๆ โดยชาวบ้านไม่ได้รับประโยชน์อะไร และประตูน้ำคลองท่าหลวง รั่วซึ่มทำให้มวลน้ำไหลทิ้งไปไม่ใช่น้อย จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาซ่อมแซมดูแลแก้ไขเร่งด่วน
เช่นเดียวกับนายพล กล่อมอิ่ม อายุ 72 ปี กล่าวว่าตอนนี้ชาวบ้านตำบลปากทาง เดือดร้อนเนื่องจากน้ำไม่พอใช้ ปลูกพืชผักต่างๆไม่มีน้ำรด ซึ่งถ้าแล้งคลองท่าหลวงจะแห้งไปหมด สาเหตุจากมีคนปล่อยน้ำ ไม่ว่าน้ำมากน้ำน้อยก็เปิดทิ้งไปหมดแทนที่จะกักเก็บไว้ใช้ในหน้าแล้งเพราะคลองท่าหลวงชาวบ้านจะใช้กันหลายหมู่บ้าน อยากจะให้หน่วยงานที่รับผิดชอบมาแก้ไขประตูน้ำนี้ หรือไม่ก็สร้างฝายน้ำล้นไปเลยจะได้ไม่ต้องมาปิดเปิด
อย่างไรก็ตามขอให้ผู้ที่รับผิดชอบไม่ว่าจะเป็นผู้นำท้องถิ่น นายอำเภอเมืองพิจิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร สำนักชลประทานที่3 ชล และประทานจังหวัดพิจิตร ลงมาดูแลแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำ ซึ่งน้ำถือว่าเป็นปัจจัยหลัก เรื่องปากท้อง และความเป็นอยู่ชาวบ้านด้วย
รวมสิทธิส่งเสริมคุณภาพชีวิต เกาะติดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทันเรื่องราวกระแสสังคม
สัมผัสประสบการณ์ข่าวได้ที่ แอปพลิเคชัน ทรูไอดี (ดาวน์โหลดเลยที่นี่!!)
เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNTHAILAND.comfacebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE