รีเซต

คณะแพทย์ มช. เปิดตัวห้องฉุกเฉินแยกโรคติดเชื้อทางอากาศแรงดันลบ แห่งแรกของประเทศ

คณะแพทย์ มช. เปิดตัวห้องฉุกเฉินแยกโรคติดเชื้อทางอากาศแรงดันลบ แห่งแรกของประเทศ
มติชน
14 พฤษภาคม 2563 ( 16:00 )
650
คณะแพทย์ มช. เปิดตัวห้องฉุกเฉินแยกโรคติดเชื้อทางอากาศแรงดันลบ แห่งแรกของประเทศ

 

เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 14 พฤษภาคม 2563 ที่บริเวณโถงชั้น 1 อาคารเฉลิมพระบารมี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ศ.นพ.บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นประธานแถลงข่าว “ห้องฉุกเฉินแยกโรคติดเชื้อทางอากาศแรงดันลบ” (Negative Pressure Room for Emergency Department) โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โดยมีทีมแพทย์และตัวแทนกลุ่มวิศวกรอาสาพหุภาคี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมแถลงรายละเอียด

 

ศ.นพ.บรรณกิจ กล่าวว่า ด้วยสถานการณ์การระบาดของ COVD 19 ที่ขยายเป็นวงกว้างในช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา คณะแพทยศาสตร์จึงระดมความคิดจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้การตอบสนองต่อการเจ็บป่วยของผู้ปวยจำนวนมาก ได้รับการตอบสนองอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้กรอบเวลาที่จำกัด

 

 

จึงได้ตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจขึ้นเพื่อตอบสนองการระบาดอย่างเป็นระบบและรวดเร็ว ในรูปแบบต่างๆ อาทิ หุ่นยนต์ในการช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวต่อการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อที่มีความเสี่ยงสูง จึงเป็นที่มาของการสร้างห้องฉุกเฉินแยกโรคติดเชื้อทางอากาศแรงดันลบ

 

“ถือเป็นห้องที่ได้มาตรฐานระดับโลกแห่งแรกและแห่งเดียวของประเทศไทย ด้วยงบประมาณ 5.5 ล้านบาท จากเงินบริจาคผ่านมูลนิธิโรงพยาบาลสวนดอกและการบริจาคเพิ่เมติมจากสมาคมศิษย์เก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ (มช.) เพราะสถานการณ์การระบาดของC0VD-19 อาจทำให้มีผู้ปวยที่ป่วยด้วยโรคนี้เจ็บปวยฉุกเฉิน อาการหนักและมาใช้บริการห้องฉุกเฉิน

 

ซึ่งที่ผ่านมาหากผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะมีการติดเชื้อ จะได้รับการแยกไปทำการรักษาที่ห้องแยกผู้ป่วยติดเชื้อที่ห้องฉุกเฉิน ซึ่งแต่เดิม รพ มหาราชนครเชียงใหม่มีห้องลักษณะนี้เพียง 1 ห้อง แต่เมื่อมีการระบาดขยายวงกว้างดังที่เราเห็นในต่างประเทศ จะมีความเสี่ยงมากขึ้นมีผู้ปวยฉุกเฉินที่ติดเชื้อเข้ามาปะปนกับผู้ป่วยฉุกเฉินรายอื่นๆ ดังนั้นเพื่อให้การจัดการพื้นที่ขณะที่มีการระบาดมีความชัดเจนและปลอดภัย” ศ.นพ.บรรณกิจ กล่าว

 

 

รศ.นพ.ชัยวัฒน์ บำรุงกิจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ กล่าวว่า รู้สึกโล่งใจที่ห้องฉุกเฉินแยกโรคติดเชื้อทางอากาศแรงดันลบ ก่อสร้างแล้วเสร็จด้วยความรวดเร็วเท่าที่เคยมีมา โดยใช้เวลาเพียง 21 วัน โดยปกติการสร้างห้องความดันลบส่วนใหญ่จะใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือนเป็นอย่างน้อย

 

แต่ครั้งนี้เราได้กำหนดให้ระยะเวลาสั้นที่สุดเพื่อให้ทันต่อการระบาด ห้องฉุกเฉินแยกโรคติดเชื้อทางอากาศแรงดันลบ หรือ Negative Pressure Room for Emergency Department เป็นห้องกักกันเชื้อที่มีระบบระบายอากาศแยกจากส่วนอื่นๆ สามารถบำบัดอากาศและฆ่าเชื้อโรคด้วย HEPA Filter + UVC และ Ozone ก่อนปล่อยออกสู่สาธารณะ

 

“ถือเป็นจุดสำคัญในการควบคุมโรคนี้ โดยภายในจะประกอบไปด้วย ห้องรักษา จำนวน 4 ห้อง ด้วยอุณหภูมิเฉลี่ย 21-22 องศาเซลเซียส อากาศเย็นสบาย ทำให้แพทย์ที่สวมชุด PPE จะไม่รู้สึกร้อน และแต่ละห้องจะมีความดันเป็นลบ ทำให้อากาศจากภายในห้องไม่ไหลย้อนออกมาสู่ภายนอก เพิ่มความปลอดภัยให้กับบุคลากรทางการแพทย์และผู้ที่มาใช้บริการ ห้องฉุกเฉินแยกโรคติดเชื้อทางอากาศแรงดันลบไม่ได้มีไว้แค่ป้องกันการแพร่กระจายของ COVD-19 แต่สามารถป้องกันโรคทางเดินหายใจอื่นๆอีห้กด้วย เช่น โรควัณโรค โรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งโรคเหล่านี้ยังมีการติดต่ออยู่ในปัจจุบัน”

 

 

รศ.นพ.ชัยวัฒน์ กล่าวว่า ห้องฉุกเฉินแยกโรคติดเชื้อทางอากาศแรงดันลบแห่งนี้ ภายหลังการระบาดของไวรัส COVD 19 สิ้นสุดลง น่าจะเป็น neพ nomal ของห้องฉุกเฉินในอนาคต เพราะยังคงมีโรคที่อาจจะอุบัติใหม่ โรคติดต่อทางเดินหายใจเดิมที่ยังคงรบกวนสุขภาพของประชาชทั่วไป ทำให้เราต้องมีสิ่งใหม่เพื่อป้องกันการระบาดเกิดขึ้นในห้องฉุกเฉิน บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ป่วยและญาติก็มีความปลอดภัยอีกด้วย

 

นายธนวัช โพคะรัตน์ศิริ ตัวแทนกลุ่มวิศวกรอาสาพหุภาคี กล่าวว่า ความพิเศษของห้องกเฉินแยกโรคติดเชื้อทางอากาศแรงดันลบ คือ ระบบแอร์ล็อค เข้าแล้วออกอีกทาง เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค ระบบไฟฟ้าที่ต่อกับเครื่องปั่นไฟฉุกเฉิน ทำให้ไฟไม่ดับ เป็นห้องคลีนรูมที่มีความแห้งเหมือนห้องผลิตยา ผนังและพื้นพร้อมทำความสะอาดตลอดเวลา และสุดท้ายคือ การกรองฝุ่นป้องกันไม่ให้ PM2.5 เข้ามาได้ เป็นความปลอดภัยสูงต่อบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วย เรียกว่ามาตรฐานสูงสุดเท่าที่เคยมีมา

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง