รีเซต

Editor’s Pick: วิศวกรชาวจีนเผย โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ลอยน้ำแห่งแรกของจีน อาจใช้งานได้แม้ในเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว

Editor’s Pick: วิศวกรชาวจีนเผย โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ลอยน้ำแห่งแรกของจีน อาจใช้งานได้แม้ในเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว
TNN World
16 ธันวาคม 2564 ( 10:11 )
43
Editor’s Pick: วิศวกรชาวจีนเผย โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ลอยน้ำแห่งแรกของจีน อาจใช้งานได้แม้ในเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว
สำนักข่าว SCMP รายงานความคืบหน้าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ลอยน้ำแห่งแรกของจีน ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนพลังงาน พร้อมเผยว่า มีความทนทานสูงแม้ในสภาพอากาศที่ไม่คาดคิด
 
 

เกิดขึ้นน้อยครั้งก็ไม่ควรเสี่ยง

การทดสอบโดยวิศวกรทางทะเล พบว่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ลอยน้ำแห่งแรกของจีน อาจทนต่อเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว ซึ่ง 10,000 ปี เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว
 
แต่พวกเขากล่าวว่า เรือเครนของโรงงานแห่งนี้จะต้องเสริมแข็งแรงเพิ่ม เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้โรงไฟฟ้าพังทลาย หากพยายามจะฝ่าพายุ
 
ขณะที่ เตาปฏิกรณ์แบบลอยตัว ขนาด 60 เมกะวัตต์ กำลังสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นพลังงานให้กับแท่นขุดเจาะน้ำมันและหมู่เกาะนอกชายฝั่งตะวันออกของจีน ในทะเลโป๋ไห่ ซึ่งเป็นทะเลชั้นในที่น้ำค่อนข้างนิ่ง
 
 

ทดสอบเบื้องต้นยังปลอดภัยดี

 
นักวิทยาศาสตร์ด้านวิศวกรรมทางทะเล กง ฝ่านฝู่ และทีมงาน ได้นำแบบจำลองขนาดย่อของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทดสอบ ณ ​สถานที่จำลองสภาพอากาศสุดขั้ว ในมณฑลหูเป่ย์
 
พวกเขาสรุปว่า โรงไฟฟ้าควรจะผลิตกระแสไฟฟ้าได้ แม้ในช่วงที่มีลมแรงมากกว่า 37 เมตรต่อวินาที ซึ่งเทียบเท่ากับแรงพายุเฮอริเคนหรือระดับแรงสูงสุดในมาตราโบฟอร์ต
 
นักวิจัยได้เพิ่มความเร็วลมประดิษฐ์ขึ้นมากกว่า 50% และเพิ่มสภาวะพายุอื่น ๆ รวมทั้งคลื่นสูงและกระแสน้ำที่ต่ำกว่าปกติ ซึ่งไม่ค่อยเกิดขึ้นพร้อมกันนัก
 
ตามรายงานที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Ordnance Equipment Engineering พวกเขากล่าวว่า พื้นที่ส่วนกลางของแท่น ซึ่งเป็นที่ตั้งของเตาปฏิกรณ์นั้น มีการเคลื่อนไหวน้อยกว่าส่วนอื่น ๆ ของเรืออย่างมาก
 
 

พร้อมรับมือทุกความน่าจะเป็น

 
แม้ว่าเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วดังกล่าว จะไม่เคยเกิดในทะเลโป๋ไห่ แต่ก็ต้องพิจารณาถึงความเป็นไปได้ เนื่องจาก “ตัวเรือต้องไม่ล่ม ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ก็ตาม” กงและทีมงาน กล่าว
 
นักวิจัยกล่าวว่า เตาปฏิกรณ์แบบลอยตัว มีกลไกด้านความปลอดภัยหลายอย่าง รวมถึงกระบวนการหล่อเย็นที่ขับเคลื่อนด้วยน้ำทะเลในกรณีที่ไฟฟ้าดับ แต่ถ้าพลิกคว่ำ คุณลักษณะเหล่านี้อาจไม่ทำงาน และอาจส่งผลร้ายแรง เช่น เกิดการพังถล่ม
 
ทั้งนี้ เตาปฏิกรณ์แบบลอยตัวขนาด 30,000 ตัน มีกำหนดแล้วเสร็จในปีหน้า และจะเป็นกองเรือลำแรกที่จีนวางแผนจะสร้างในพื้นที่กว้างใหญ่ ซึ่งขยายจากชายฝั่งตะวันออก ไปจนถึงทะเลจีนใต้ที่กำลังมีกรณีพิพาทอยู่
 
 

เจ้าหน้าที่อาจเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยง

 
CGN บริษัทนิวเคลียร์ในกวางตุ้ง ได้เปิดตัวโครงการเตาปฏิกรณ์แบบลอยตัวแห่งนี้ หรือที่เรียกว่า ACPR50S ในปี 2016 เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนพลังงาน ที่ส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงกิจกรรมทางทะเลของจีน
เรือเครนของโรงงานลอยน้ำแห่งนี้ ได้รับการออกแบบให้ทนต่อแรงดึงได้ถึง 600 ตัน ขณะที่นักวิจัยในอู่ฮั่น ระบุว่า สภาพอากาศสุดโต่งสามารถทำให้เกิดแรงดึงได้ถึง 2,000 ตัน ซึ่งวิธีแก้ปัญหาอาจทำให้เครนมีขนาดใหญ่และแข็งแรงขึ้น
 
แต่พวกเขากล่าวว่า จำเป็นต้องทดสอบเพิ่มเติมจึงจะสรุปได้
ขณะที่ นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรนิวเคลียร์ในจีน พุ่งเป้าไปที่การจัดการด้านความปลอดภัยว่า เป็นความกังวลหลักสำหรับโครงการเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบลอยตัว เนื่องจากการละเลยต่อหน้าที่ หรือความประมาทเลินเล่อ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ใหญ่ที่สุด
 
 

จีนวางแผนพัฒนาต่อเนื่อง

 
โรงไฟฟ้าลอยน้ำอีกแห่ง ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าโรงงานในทะเลโป๋ไห่ถึงสองเท่า กำลังสร้างขึ้นในมณฑลซานตง โดยผู้รับเหมาด้านอาวุธ China National Nuclear Cooperation
 
โดยจะมีเตาปฏิกรณ์สองเครื่อง และจะเป็นสถานีนิวเคลียร์ลอยน้ำที่ทรงพลังที่สุดในโลก ด้วยกำลังผลิต 250 เมกะวัตต์ คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2023 และจะจัดสรรพลังงานสะอาดให้กับนิคมอุตสาหกรรมที่มีโรงงานเคมีที่ใหญ่ที่สุดของจีน รวมถึงยังสามารถออกปฏิบัติการในทะเลเหลืองได้อีกด้วย
 
ตามรายงานของสำนักงานพลังงานปรมาณูสากล โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ลอยน้ำแห่งแรกของโลก คือ เตาปฏิกรณ์ ขนาด 10 เมกะวัตต์ ที่สร้างโดยสหรัฐฯ ซึ่งใช้เป็นฐานทัพทหารที่คลองปานามาในปี 1960 แต่ปัจจุบัน รัสเซียเป็นประเทศเดียวที่มีฐานการผลิตพลังงานนิวเคลียร์ในทะเล
 
—————
แปล-เรียบเรียง: พัชรี จันทร์แรม
ภาพ: CGN

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง