รีเซต

แดนซามูไรปราบโควิดสำเร็จ ติดเชื้อเพียง 100 คน

แดนซามูไรปราบโควิดสำเร็จ ติดเชื้อเพียง 100 คน
TNN ช่อง16
9 ธันวาคม 2564 ( 17:17 )
54
แดนซามูไรปราบโควิดสำเร็จ ติดเชื้อเพียง 100 คน
---ติดเชื้อ 107 รายจาก 125 ล้าน---

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (7 ธันวาคม) กรุงโตเกียว เมืองหลวงของญี่ปุ่นพบผู้ติดเชื้อเพียง 5 ราย ขณะที่ทั่วทั้งประเทศพบผู้ติดเชื้อเพียง 107 ราย จากประชากรทั้งประเทศกว่า 125 ล้านคน 

ตัวเลขนี้สวนทางอย่างมากจากจำนวนผู้ติดชเอเมื่อ 20 สิงหาคม ที่มีผู้ติดเชื้อมากเกือบ 26,000 คน ซึ่งเป็นตัวเลขสูงสุดทำสถิติในระหว่างการระบาดรองที่ 5 


---ผู้เชี่ยวชาญงงผู้ติดเชื้อลดฮวบ---

คาซุฮิโระ ทาเทดะ ประธานสมาคมโรคติดเชื้อญี่ปุ่น และคณะที่ปรึกษาของรัฐบาลญี่ปุ่น เปิดเผยถึงสาเหตุเรื่องนี้ว่า .. "เราก็ไม่รู้สาเหตุของการลดลงของตัวเลขนี้อย่างแน่ชัดเช่นกัน" 

"ตอนนี้ สิ่งที่น่าจะอธิบายได้ดีในเรื่องนี้คือ เป็นการผสมผสานกันของปัจจัยหลายอย่าง มากหรือน้อยปะปนกันไป" ทาเทดะกล่าว

---อาจเป็นเพราะการฉีดวัคซีน---

ประการที่ 1 อัตราการฉีดวัคซีนที่สูงมาก หลังจากที่ฉีดวัคซีนอย่างล่าช้าในช่วงเริ่มต้น นับเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด โดยพบว่ามีการฉีดวัคซีนไปแล้วกว่า196 ล้านโดส หรือเกือบ 79% ของประชากรได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว

แต่นั่นก็ไม่อาจกล่าวอ้างได้เต็มปาก.. เพราะเพื่อนบ้านอย่างเกาหลีใต้ ก็ฉีดวัคซีนไปในอัตราส่วนที่ใกล้เคียงกันคือ เกือบ 79% .. แต่กลับมาพบการระบาดสูงขึ้น เมื่อวานนี้ยอดติดเชื้อเกิน 7,000 คน ทำสิติใหม่อีกครั้ง


---ข้อแตกต่างญี่ปุ่น-เกาหลีใต้---

ดร.ทาเทดะ ระบุว่า สิ่งที่แตกต่างจากเกาหลีใต้ คือ ญี่ปุ่นนั้นเร่งเครื่องฉีดวัคซีนมากขึ้นมาก ระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายน โดยฉีดได้มากกว่า 40% ในช่วงเวลาดังกล่าว ทำให้มีภูุมิคุ้มกันสูงขึ้นมาก .. แต่ในขณะที่เกาหลีใต้ฉีดวัคซีนมากตั้ง ๆ ก่อนหน้านั้นแล้ว จึงอาจทำให้ภูมิคุ้มกันค่อย ๆ ลดลงเมื่อเวลาผ่านไปได้เช่นกัน 

และนี่ก็เป็นสิ่งที่ดร.ทาเทดะกังวลใจอยู่ไม่น้อย เพราะหากประสิทธิภาพของวัคซีนลดน้อยลงเมื่อผ่านไป 6 เดือน  ก็อาจเจอการระบาดเหมือนหลายประเทศในยุโรปได้เช่นกัน เพราะหลายประเทศเริ่มฉีดวัคซีนไปนาน จนอาจทำให้ภูมิคุ้มกันลดลงไปมากแล้ว 

"นั่นคือสิ่งที่อันตราย และเราต้องไม่การ์ดตก" ทาเทดะกล่าว


---สื่อช่วยย้ำเตือนผู้คนถึงอันตราย---

ประการที่ 2 .. ดร.ทาเทดะ ระบุว่า "สื่อ" มีส่วนช่วยอย่างมากในการทำให้ยอดติดเชื้อน้อยลงอย่างมาก เนื่องจากการนำเสนอเรื่องวิกฤตสุขภาพ เป็นการกระตุ้นให้ประชาชนระมัดระวังเมื่อออกไปข้างนอก และลดการเข้าใช้บริการบาร์และร้านอาหารลงมาก รวมถึงการสวมหน้ากากอนามัย, การล้างมือ และการเว้นระยะที่ยังมีการดำเนินการอยู่มาก

"นี่อาจเป็นหนึ่งในคาแรกเตอร์และวัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่น แต่ทำประโยชน์อย่างมากในสถานการณ์เช่นนี้" ทาเทดะ กล่าว


---จวกรัฐบาลตรวจเชื้อต่ำ จึงเจอผู้ติดเชื้อน้อย---

ประการที่ 3 .. กลุ่มวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลระบุว่า ยอดผู้ติดเชื้อที่ต่ำนั้นเกิดขึ้นจากอัตราการตรวจเชื้อที่ต่ำ ซึ่งพบอัตราการตรวจเชื้อของญี่ปุ่นนั้นนับว่าต่ำมากเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้วอื่น ๆ 
 โดยจากข้อมูลของ Our World in Data พบว่า เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม มีการตรวจเชื้อเฉลี่ยใน 7 วัน ต่อประชากร 1,000 คน เพียง 0.35 โดยสหราชอาณาจักรอยู่ที่ 12.37 สิงคโปร์ 4.13 และ แคนาดา 2.22 

และประการที่ 4 อาจมีสาเหตุมาจากการที่ผู้ป่วยยังไม่ได้รับการติดตามตัวอย่างเหมาะสม โดยคนที่วิจารณ์ระบุว่า ผู้ที่ติดเชื้อได้รับการกระตุ้นให้รักษาตัวอยู่บ้าน ป้องกันระบบสาธารณสุขล่มสลาย .. ทำให้มีคนหลายร้อยต้องกักตัวอย่ในบ้าน และมีรายงานผู้เสียชีวิตในบ้าน โดยมีรายงานฉบับหนึ่งระบุว่า มีผู้ป่วยเสียชีวิตถึง 259 คน ในเดือนสิงหาคม 

--ผู้เชี่ยวชาญหวั่น ฤดูหนาวยอดติดเชื้อพุ่งอีก--

โยโกะ ซึคาโมโตะ ศาสตราจารย์การควบคุมการติดเชื้อแต่สถาบันวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยฮอกไกโด เห็นด้วยกับโครงการฉีดวัคซีนที่เร่งตัวในระยะแรกเริ่มในหลายประเทศ ทำให้ผู้ติดเชื้อกลับมาเร็วขึ้น .. แต่ก็มองว่า มันมีความเชื่อมโยงระหว่าง 'ละติจูด' ของประเทศ กับการติดเชื้อด้วยเช่นกัน 

"มีรายงานใหม่หลายฉบับที่เชื่อมโยงอัตราการติดเชื้อกับ 'ละติจูด' หรือจุดที่ตั้งของประเทศ อย่างในเบลเยียม และมหานครนิวยอร์กที่กำลังเจอการติดเชื้อพุ่ง ก็พบว่า 2 แห่งนี้ ตั้งอยู่ในละติจูดที่ใกล้เคียงกัน"

ศาสตราจารย์ ซึคาโมโตะ บอกว่า อากาศที่หนาวจัดในฤดูหนาว ก็จะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่อาจทำให้ยอดติดเชื้อพุ่ง ดังนั้น จึงเป็นสถานการณ์ที่ญี่ปุ่นเองก็ต้องถึงระวังด้วยเช่นกัน เพราะดูจากรายงานแล้ว ไวรัสส่วนใหญ่จะชอบอุณหภูมิที่ราว 5-15 องศาเซลเซียส และการไร้แสงยูวี ก็อาจมีส่วนด้วยเช่นกัน 

ดังนั้น ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า อุณหภูมิที่ลดต่ำลงอย่างมากในญี่ปุ่น ก็อาจไม่สามารถควบคุมตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 เอาไว้ได้ 
————
แปล-เรียบเรียง: ภัทร จินตนะกุล
ภาพ: Reuters

ข่าวที่เกี่ยวข้อง