มารู้จัก 'หอยมือเสือ' (Giant clams) พร้อมบทลงโทษที่อาจลืมกันไปแล้ว
มารู้จัก หอยมือเสือ (Giant clams) เป็นหอยสองฝาขนาดใหญ่ที่สุด ซึ่งจัดอยู่ในบัญชีสัตว์สงวนและคุ้มครองประเภท 2 ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 คือ ห้ามล่า ห้ามมี และห้ามซื้อขาย โดยสมัยก่อนหลายประเทศนิยมกิน ใช้เป็นเครื่องประดับ แต่การบริโภคที่มากเกินไปทำให้ปัจจุบันหอยมือเสือลดลงเป็นอย่างมาก และหลายชนิดเสี่ยงสูญพันธุ์ในที่สุด ดังนั้น หอยมือเสือ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ซึ่งหากผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 4 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท รวมทั้งเปลือกของหอยมือเสือถือเป็นซากสัตว์ป่าที่ห้ามซื้อขาย ห้ามนำมาวางประดับ หรือนำมาใช้
หอยมือเสือ พบได้ที่ไหน?
หอยมือสือพบเฉพาะในทะเลเขตร้อนแถบอินโด-แปซิฟิกเท่านั้น ส่วนในไทยพบมากสุดที่เกาะไข่ จังหวัดชุมพร สามารถพบหอยมือเสือได้หลายขนาดและหลากหลายสีในเขตแนวปะการังน้ำตื้นรอบ ๆ เกาะ โดยเป็นหอยมือเสือทั้งจากการเพาะขยายพันธุ์และขยายพันธุ์กำเนิดเองในธรรมชาติ
หอยมือเสือ สำคัญต่อทะเลอย่างไร?
หอยมือเสือช่วยซับสารต่าง ๆ รวมทั้งของเสียและกรองกินตะกอน รวมทั้งกรองของเสียจากสัตว์ทะเลต่าง ๆ มาสังเคราะห์เป็นอาหาร ช่วยทำให้ทะเลใสสะอาด
หอยมือเสือ มี 8 ชนิด ไทยพบ 5 ชนิด
ทั่วโลกมีหอยมือเสือทั้งหมด 8 ชนิดด้วยกัน สำหรับประเทศไทยเคยพบมากถึง 5 ชนิด ก่อนจะเหลือเพียง 3 ชนิด ซึ่งเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ได้แก่
- T.squamosa
- T.maxima
- T.crocea
การเติบโตของหอยมือเสือ
หอยมือเสือสามารถสืบพันธุ์ได้ทั้งปี ขณะที่ในเขตอบอุ่นหอยจะสืบพันธุ์เฉพาะช่วงฤดูร้อนเท่านั้น โดยจัดเป็นหอยที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก อาจมีความยาวเปลือกได้ถึง 100-120 เซนติเมตร น้ำหนักได้กว่า 200 กิโลกรัม และมีอายุยาวได้ถึง 100 ปีหรือมากกว่านั้น ขนาดเล็กสุดยาวเพียง 15 เซนติเมตร
- อายุ 2.5 เดือน ยาวได้มากที่สุด 4.3 เซนติเมตร
- อายุ 6 เดือน ยาวได้มากที่สุด 1.5 เซนติเมตร
- อายุ 1 ปี ยาวได้มากสุด 8 เซนติเมตร
- ในศูนย์อนุบาลปล่อยคืนสู่ทะเลได้เมื่อยาว 15 เซนติเมตร
ข้อมูล : วิกิพีเดีย