รีเซต

CPF ผนึกพลัง GUNKUL และ CPP พัฒนาอาหาร-เครื่องดื่มจากสารสกัดกัญชง

CPF ผนึกพลัง GUNKUL และ CPP พัฒนาอาหาร-เครื่องดื่มจากสารสกัดกัญชง
TNN ช่อง16
18 พฤษภาคม 2565 ( 19:44 )
148

CPF ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ GUNKUL และ CPP พัฒนาผลิตภัณฑ์จากพืชกัญชงครบวงจร เพื่อเพิ่มมูลค่าอาหารและเครื่องดื่ม สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ถึงต้นทาง ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพ ซึ่งมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง พร้อมทั้งสร้างโอกาสให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการ ยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมอาหารของไทยบนเวทีตลาดโลก

(วันที่ 18 พฤษภาคม 2565) นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) กับ นายสมบูรณ์ เอื้ออัชฌาศัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ กันกุล และนายสุเมธ ภิญโญสนิท ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วส จำกัด ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากพืชกัญชงครบวงจร เพื่อเพิ่มมูลค่าอาหารและเครื่องดื่ม สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ถึงต้นทาง ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพที่มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง โดยมี  ดร.กัลกุล ดำรงปิยวุฒิ์ ประธานกรรมการ นางสาวโศภชา ดำรงปิยวุฒิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายพงษ์สกร ดำเนิน ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ สายงานธุรกิจพลังงานและกัญชงกัญชา กันกุล พร้อมด้วย ดร.สมหมาย เตชะศิรินุกูล รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ด้านวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ซีพีเอฟ และนายสายัณห์ หงษา ประธานคณะผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ ซีพีพี ร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามครั้งนี้ ณ อาคารซีพี ทาวเวอร์ สีลม
นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ กล่าวว่า ในฐานะผู้นำในด้านการผลิตอาหารครบวงจร ซีพีเอฟให้ความสนใจพืชกัญชง ซึ่งมีศักยภาพเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ นำมาต่อยอดเป็นสินค้าอาหารและเครื่องดื่มที่มีมูลค่าสูงขึ้น รองรับความต้องการที่มีแนวโน้มเติบโตทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งความร่วมมือของ 3 องค์กรพันธมิตรในครั้งนี้ นำไปสู่การพัฒนาห่วงโซ่อุตสาหกรรมสินค้าจากพืชกัญชงตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ก้าวสู่การเป็น “ครัวของโลก” และช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับธุรกิจ รวมทั้งอุตสาหกรรมอาหารของไทยในภาพรวมนายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ กล่าวว่า ในฐานะผู้นำในด้านการผลิตอาหารครบวงจร ซีพีเอฟให้ความสนใจพืชกัญชง ซึ่งมีศักยภาพเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ นำมาต่อยอดเป็นสินค้าอาหารและเครื่องดื่มที่มีมูลค่าสูงขึ้น รองรับความต้องการที่มีแนวโน้มเติบโตทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งความร่วมมือของ 3 องค์กรพันธมิตรในครั้งนี้ นำไปสู่การพัฒนาห่วงโซ่อุตสาหกรรมสินค้าจากพืชกัญชงตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ก้าวสู่การเป็น “ครัวของโลก” และช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับธุรกิจ รวมทั้งอุตสาหกรรมอาหารของไทยในภาพรวม

ทั้งนี้ นายสมบูรณ์ เอื้ออัชฌาสัย กล่าวว่า บริษัท จี.เค.เฮมพ์ กรุ๊ป จำกัด ซึ่งเป็น บริษัทย่อยของกันกุล ได้รับใบอนุญาตผลิตสารสกัดสำคัญจากพืชกัญชง (CBD) เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ โดยควบคุมการผลิตทุกขั้นตอนตั้งแต่การปลูกในระบบโรงเรือนปิดที่ได้มาตรฐาน ด้วยวิธีปลูกแบบไม่ใช้ดิน ใช้น้ำที่กรองด้วยระบบ RO ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง ปราศจากการปนเปื้อนและสารตกค้าง สกัดสารจากโรงงานที่ได้มาตรฐาน ตรวจสอบย้อนกลับได้ พร้อมทั้งทำงานร่วมกับ ซีพีเอฟ และซีพีพีอย่างใกล้ชิด เรื่องการพัฒนาสายพันธุ์ เทคนิคการปลูกที่ดี การสกัดสารสำคัญจากพืชกัญชง เพื่อการนำต่อยอดอาหารและเครื่องดื่มอย่างเหมาะสม ปลอดภัย เพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดต่อผู้บริโภค

ด้านนายสุเมธ ภิญโญสนิท กล่าวว่า ซีพีพี มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ด้านการผลิตต้นน้ำ จะเป็นผู้ดำเนินการจัดหาและพัฒนาสายพันธุ์กัญชงที่มีเอกลักษณ์ และใช้ระบบการเพาะปลูกที่เหมาะสม โดยได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของไทย อย่าง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อวิจัยการปลูกกัญชง ตั้งแต่การพัฒนาสายพันธุ์ที่ดี วิธีการปลูก เทคนิคการดูแลที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้ ซีพีพีจะส่งมอบผลผลิตจากพืชกัญชงที่ปลูกในโรงเรือน Greenhouse ตามมาตรฐานการผลิตทางการเกษตรที่ดี (Good Agriculture Practices: GAP) เพื่อให้ผลผลิตที่ได้มีความปลอดภัย และร่วมมือกับ GUNKUL แปรรูปเป็นสารสกัด CBD ที่เหมาะสมสำหรับการใช้ในอาหารและเครื่องดื่มต่อไป

ด้วยมูลค่าตลาดสินค้ากัญชงมีแนวโน้มเติบโตที่ดี โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ตลอดจนสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศของไทยที่เอื้ออำนวย ทำให้มีศักยภาพด้านการเพาะปลูกและการผลิตสูง รวมถึงเป็นศูนย์กลางในการผลิตอาหารและเครื่องดื่มคุณภาพ ปลอดภัย มาตรฐานสากล เป็นที่ยอมรับของคนทั่วโลก ดังนั้น ความร่วมมือของ 3 องค์กรในครั้งนี้ จะช่วยตอบโจทย์ความต้องการอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง สร้างโอกาสให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการในห่วงโซ่การผลิต ยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมอาหารของไทยบนเวทีตลาดโลก และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง