รีเซต

ครั้งแรกของโลก ! โปรแกรมจำลองภาพภัยพิบัติ จัดการแผนรับมือล่วงหน้าได้ดีกว่าที่เคย

ครั้งแรกของโลก ! โปรแกรมจำลองภาพภัยพิบัติ จัดการแผนรับมือล่วงหน้าได้ดีกว่าที่เคย
TNN ช่อง16
2 กันยายน 2566 ( 17:13 )
98

ภัยพิบัติเป็นเหตุการณ์ทางธรรมชาติที่มนุษย์ยังขาดความเข้าใจ การคาดเดาสถานการณ์ล่วงหน้า และการเตรียมตัวรับมือในเวลาที่รวดเร็ว แต่มนุษย์เราอาจจะมีความหวังมากขึ้นจากข้อจำกัดเหล่านี้ หลังจากที่นักวิจัยจากออสเตรเลียสร้างโปรแกรมเพื่อช่วยคำนวณว่า ภัยพิบัติ เช่น น้ำท่วม ดินถล่ม หรือแม้แต่แผ่นดินไหว จะมีโอกาสเกิดขึ้นที่ไหนและอย่างไร 


จีโอเอกซ์พีเอ็ม (GeoXPM) โปรแกรมจำลองภัยพิบัติ

ทีมนักวิจัยด้านวิศวกรรมโยธาและภัยพิบัติจากมหาวิทยาโมนาช (Monash University) จากออสเตรเลีย ได้สร้าง จีโอเอกซ์พีเอ็ม (GeoXPM) โปรแกรมที่สามารถสร้างแบบจำลองภัยพิบัติได้หลากหลายชนิด


ทางทีมผู้พัฒนาระบุว่า GeoXPM สามารถออกแบบโมเดลจำลองสภาพฝนตกหนัก ภัยแล้ง ดินถล่ม สึนามิ พายุไซโคชน ดินถล่ม หิมะถล่ม หรือแม้แต่แผ่นดินไหว และไฟป่า ก็สามารถจำลองได้ทั้งหมด


โดยโปรแกรมดังกล่าวเป็นโปรแกรมที่มีพื้นฐานมาจากการจำลองการเคลื่อนไหววัตถุเชิงอนุภาคแต่เป็นแบบต่อเนื่อง (continuum particle-based software) ซึ่งโปรแกรมในกลุ่มนี้จะสามารถสร้างภาพ 3 มิติ ที่เคลื่อนไหวตามหลักฟิสิกส์ได้ ซึ่งทีมนักพัฒนาได้เสริมคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ภัยพิบัติ เช่น สมบัติของสาร ลักษณะของเปลือกโลก แรงโน้มถ่วง สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ตลอดจนการคำนวณทางคณิตศาสตร์เพื่อสร้างแบบจำลองที่สมบูรณ์แบบที่สุดเท่าที่มนุษยชาติเคยมีมา 


การใช้ GeoXPM รับมือภัยพิบัติ

การใช้งาน GeoXPM จะมุ่งเน้นไปที่การสร้างโมเดลจำลองสถานการณ์ภัยพิบัติ รวมถึงยังสามารถจำลองมาตรการรับมือที่ผู้ใช้ใส่เป็นทางเลือกเข้าไปได้ด้วยว่าจะเกิดผลตามมาอย่างไรบ้าง เช่น ถ้าเขื่อนน้ำไหลบ่าลงชุมชน จีโอเอกซ์พีเอ็มสามารถคำนวนปัจจัยเพื่อหาเส้นทางเบี่ยงทางน้ำที่ลดความเสี่ยงภัยได้


ทั้งนี้ ทางทีมผู้พัฒนาเชื่อว่าทั้งรัฐบาลหรือเอกชนทั่วโลกต่างต้องการโปรแกรมนี้ เพื่อเตรียมรับมือผลกระทบจากภัยพิบัติทั้งในแง่รับมือความเสี่ยงในภาคเอกชน และการรับมือภัยพิบัติของประเทศ โดยได้เปิดให้ดาวน์โหลดใช้งานทั้งแบบไม่เสียค่าใช้จ่ายและแบบพรีเมียมที่เสริมความสามารถในการจำลองสภาพภูมิประเทศที่ซับซ้อนขึ้นผ่านเว็บไซต์ ซึ่งสามารถติดต่อผู้พัฒนาเพื่อทราบราคาโดยตรง


ที่มาข้อมูล Interesting Engineering

ที่มารูปภาพ GeoXPM, Unsplash

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง