รีเซต

Cofact Thailand เปิดงานวิจัย สร้างการรับรู้และแนวทางรับมือ Fake news คนเชื่อเพื่อนมากกว่าสืบค้น แนะสร้างวารสารศาสตร์ที่มีคุณภาพ

Cofact Thailand เปิดงานวิจัย สร้างการรับรู้และแนวทางรับมือ Fake news คนเชื่อเพื่อนมากกว่าสืบค้น แนะสร้างวารสารศาสตร์ที่มีคุณภาพ
77ข่าวเด็ด
13 พฤษภาคม 2563 ( 22:57 )
503
Cofact Thailand เปิดงานวิจัย สร้างการรับรู้และแนวทางรับมือ Fake news คนเชื่อเพื่อนมากกว่าสืบค้น แนะสร้างวารสารศาสตร์ที่มีคุณภาพ

 

เมื่อวันที่ 13 พ.ค. 2563 Cofact Thailand  ร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดเวทีเสวนาออนไลน์ นักคิดดิจิทัล ครั้งที่ 9  เปิดงานวิจัย สำรวจองค์ความรู้ข้อมูลลวงด้านสุขภาพ การแพร่ระบาดของไวรัสข่าวสารกับผลกระทบต่อสุขภาวะสังคมไทย ป่วนคนให้เข้าใจผิด หวังผลทางธุรกิจ ชี้นำอุดมการณ์ทางการเมือง แนะอบรมนักข่าวเพิ่มจริยธรรมวิชาชีพ เพิ่มภูมิคุ้มกันข่าวลวงกับประชาชน ลดความเร็วข่าวลวง ปรับกฎหมายให้ทันสมัย

 

ดร.พรรษาสิริ กุหลาบ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงงานวิจัยที่จัดทำครั้งนี้ว่า งานวิจัยนี้เป็นลักษณะสำรวจมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมปรากฏการณ์ Fake news ในแวดวงนักวิชาการและสื่อมวลชน ซึ่งข้อมูลเนื้อหาที่พบจะเน้นไปทางอุดมการณ์การเมือง ส่วนข้อมูลด้านสุขภาพจะพบเห็นได้น้อย

 

โดยงานวิจัยได้ตั้งคำถาม 1) องค์ความรู้การแพร่กระจายข่าวลวง ข้อมูลบิดเบือนและข้อมูลผิดพลาด 2) วิธีทางแก้ไขและรับมือกับปัญหา ซึ่งในงานวิจัยจะพยายามยืดงานเอกสารอ้างอิงเป็นหลัก โดยศึกษาจากบทความวิชาการ,งานวิจัย,ผลสำรวจของหน่วยงานต่างๆ,รายงานจากสื่อมวลชนและศึกษาบทเรียนจากต่างประเทศ ซึ่งใช้เวลา5 ปี ศึกษาตั้งแต่ พ.ศ. 2557 – พ.ศ. 2562

 

จากข้อจำกัดเรื่องเวลาทำให้งานวิจัยชิ้นนี้ไม่สามารถชี้ให้เห็นถึงภาพรวมของผลงานทั้งหมดได้ แต่สิ่งที่ได้จะนำมาถ่ายทอดจะเป็นบอกเล่าถึงภาพรวมต่างๆ ซึ่งได้เป็นผลศึกษาดังนี้ 1) ข้อถกเถียงแนวคิดการนิยมคำว่า “ข่าวลวง ข้อมูลผิดพลาด ข้อมูลบิดเบือน”  2) กลยุทธการสื่อสาร 3) บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการแพร่กระจาย  4)และ5) ปัจจัยเอื้อต่อการแพร่กระจาย 6) แนวทางการจัดการแก้ไข

 

ทั้งนี้คำว่า Fake news (ข่าวลวง) ยังมีนิยามค่อนข้างกว้างมักถูกนำไปใช้กับการกล่าวเท็จ โจมตีผู้อื่น โดยในหลายงานวิจัยมีความเห็นตรงกันว่าไม่ควรนำคำว่า Fake news มานิยามความหมายว่าการกล่าวข้อมูลเท็จ เพราะหากนิยามความหมายดังกล่าวอนาคตอาจจะส่งผลให้มีการจัดการปัญหาอย่างผิดวิธีและส่งผลกระทบไปถึงการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของประชาชน

 

ดังนั้นนักวิชาการจึงแบ่งลักษณะคำที่เป็นการทำให้เกิดความเข้าใจผิดขึ้นดังนี้ 1) ข้อมูลผิดพลาด(Misimformatio) หมายถึง การให้ข้อมูลแต่ไม่ได้เจตนาให้เกิดอันตราย 2) ข้อมูลบิดเบือน (Disinformtion) หมายถึง ข้อมูลเท็จที่ผลิตโดยมีเจตนาหวังผลทางธุรกิจหรืออุดมการณ์ 3) ข่าวลวง (Fake News) หมายถึงข้อมูลเท็จผลิตโดยเจตนาเจตนาหวังผลทางธุรกิจหรืออุดมการณ์ เผยแพร่ผ่านงานวารสารศาสตร์ เช่น ข่าว บทความ สารคดี ฯลฯ

 

อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นข้อมูลผิดพลาด ข้อมูลบิดเบือนและข่าวลวง ถึงแม้จะมีลักษณะแตกต่างกันแต่ท้ายสุดผลของมันก็คือการทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจผิด หวังผลทางธุรกิจ ชี้นำอุดมการณ์ทางเมือง

 

ส่วนแนวทางการจัดการการแพร่กระจายข้อมูลบิดเบือน แบ่งได้  5 แนวทาง 1)ใช้กฎหมายกำกับดูแลเนื้อหา การโฆษณา 2)ให้การศึกษาด้านการรู้เท่าทันสื่อ 3)ตรวจสอบข้อเท็จจริง 4)พัฒนาคุณภาพของงานวารสารศาสตร์ 5)พัฒนาเทคโนโลยีที่มีความรับผิดชอบ

 

ทั้งนี้หลังจากทำงานวิจัยได้ข้อเสนอแนะว่าการจะใช้กฎหมายควบคุมนั้นรัฐควรคำนึงสิทธิเสรีภาพการเข้าถึงข่าวสารการแสดงความคิดเห็นของประชาชน ส่วนผู้ให้บริการแพลตฟอร์มออนไลน์นั้นควรสร้างวัฒนธรรมดูแลตนเองให้เข้มแข็งพัฒนากลไกเทคโนโลยีลดการกระจายข้อมูล นอกจากนี้ยังต้องบูรณาการแนวคิด ประสานงานกับทุกภาคส่วนจัดการปัญหาอย่างถูกจุด

 

ด้าน วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง  นักวิจัยอิสระ ได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับงานวิจัยของตนว่า ข่าวลวงด้านสุขภาพไม่ใช่เรื่องใหม่ทั้งหมดเคยเกิดขึ้นมาแล้ว แต่ปัจจุบันมีสื่อโซเซียลมิเดียเข้ามาเกี่ยวข้องจึงทำให้คนมีแนวโน้มหันไปเชื่อข้อมูลสุขภาพจากเพื่อนมากกว่าสืบค้นออนไลน์ ทั้งนี้การรับข้อมูลจึงมีความเสี่ยงที่จะได้รับข้อมูลบิดเบือนหรือผิดพลาดมากขึ้น

 

ซึ่งแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมอันดับต้น คือ Facebook Twitter Instagram YoutubeและLine ทั้งนี้การตัดสินว่าเป็นข่าวลวงหรือไม่ต้องใช้เกณฑ์เข้าช่วย โดยยึด 1)ระดับความจริง 2)เจตนาหลอกลวง 3)รูปแบบเชิงวารสาร

 

ส่วนกรณีศึกษาในช่วงโควิด-19  ภาพรวมของประชาชนเลือกใช้แพลตฟอร์ม Facebook ในการส่งต่อข่าวสารมากที่สุด รองลงมาเป็น Twitter ซึ่งเนื้อหาที่เผยแพร่ในสื่อออนไลน์มักจะมีลักษณะหลากหลายทั้งโฆษณาแฝงในรูปแบบข่าว,ข้อมูลผิดพลาด,ข่าวคุณแย่,ข้อมูลบิดเบือนและข่าวลวง โดยในทุกเนื้อหามักมีแรงจูงใจทางการเงิน หลังจากประชาชนได้รับข่าวสารจะเกิดห้องแห่งเสียงสะท้อนทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับเนื้อหา

 

อย่างไรก็ตามหลังจากตนศึกษาและรวบรวมข้อมูลได้ข้อเสนอว่า 1) ควรการสร้างวารสารศาสตร์ที่มีคุณภาพ จัดอบรมให้นักข่าวเพิ่มจริยธรรมวิชาชีพ จัดตั้งฝ่ายตรวจความถูกต้องของข้อมูล 2) เพิ่มภูมิคุ้มกันรับมือข่าวลวงให้กับประชาชน 3) แพลตฟอร์มกับการรับมือข่าวลวง ควรลดความเร็วของการส่งต่อข้อมูลที่มีปัญหา 4)กฎหมายและการกำกับดูแล ควรปรับข้อกฎหมายที่ล้าหลังให้ทันสมัย

 

ท้ายนี้งานวิจัยทั้งสองเปรียบเสมือนเป็นผลงานต้นน้ำที่ช่วยเปิดโลกความรู้กับหลายสถาบันให้สามารถนำความรู้ไปต่อยอดปรับใช้กับงานวิชาการในอนาคต นอกจากนี้วิจัยยังส่งผลให้หลายองค์กรภาครัฐ เอกชน และภาคสังคมตื่นตัวสร้างการรับรู้ถึงปรากฏการณ์ Fake news ที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน พร้อมเตรียมวิธีมือและแนวทางการแก้ไขปัญหา

 

ชิษณุพงศ์ สุนทรพาณิชย์  เรียบเรียง

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง