รีเซต

ทำความรู้จัก "สุนัขไทยบางแก้ว" สุนัขที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสุนัขโลกลำดับที่ 2 ต่อจากพันธุ์ไทยหลังอาน

ทำความรู้จัก "สุนัขไทยบางแก้ว" สุนัขที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสุนัขโลกลำดับที่ 2 ต่อจากพันธุ์ไทยหลังอาน
NewsReporter
29 สิงหาคม 2565 ( 10:33 )
1.1K
ทำความรู้จัก "สุนัขไทยบางแก้ว" สุนัขที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสุนัขโลกลำดับที่ 2 ต่อจากพันธุ์ไทยหลังอาน

จากข่าวที่สุนัขไทยบางแก้ว ที่ .บางระกำ .พิษณุโลก ได้รับการขึ้นทะเบียนจาก FCI  เป็นสุนัขโลกลำดับที่ 2 ต่อจากพันธุ์ไทยหลังอาน กระตุ้นให้เพาะเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจ สร้างรายได้ให้คนท้องถิ่น วันนี้ TrueID จะพาไปรู้จักกับสุนัขพันธุ์ดังกล่าวว่ามีลักษณะเด่นอย่างไร

 

ทำความรู้จัก "สุนัขไทยบางแก้ว"

ไทยบางแก้ว หรือนิยมเรียกสั้น ๆ ว่า บางแก้ว สุนัขประเภทสปิตซ์สายพันธุ์หนึ่ง ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย และถือเป็นสุนัขไทยสายพันธุ์เดียวที่มีขนยาวสองชั้น หางเป็นพวง มีขน ขาหน้าคล้ายขนขาแข้งสิงห์แผงรอบคอคล้ายสิงโตมีความเฉลียวฉลาด

ประวัติความเป็นมาของสุนัขไทยบางแก้ว จากข้อมูลที่ได้สอบถามจากประชาชนตลอดจนผู้เฒ่าผู้แก่ที่บ้านบางแก้ว ตำบลท่านางงาม และบ้านชุมแสงสงคราม ตำบลชุมแสงสงคราม อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก พอจะสรุปได้ว่า แหล่งกำเนิดของสุนัขไทยบางแก้วนั้นอยู่ที่วัดบางแก้ว ตำบลท่านางงาม อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำยม สภาพภูมิประเทศทั่ว ๆ ไปนั้นยังคงเป็นป่าพง ป่าระกำ ป่าไผ่ และต้นไม้ชนิดต่าง ๆ ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นเหมาะสำหรับเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าชนิดต่าง ๆ ชุกชุม เช่นช้างป่าเป็นโขลง ๆ หมูป่า ไก่ป่า หมาจิ้งจอก และหมาใน

 

มาตรฐานสายพันธุ์

มีขนปุยยาว มีความสง่างาม ว่องไวและแข็งแรง เวลายืนมักเชิดหน้าและโก่งคอคล้ายม้า เป็นสุนัขขนาดกลาง รูปทรงตั้งแต่ช่วงขาหน้าถึงขาหลังเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส อกกว้างและลึกได้ระดับกับข้อศอก ไหล่กว้าง ท้องไม่คอดกิ่ว หน้าแหลม หูเล็ก หางพวง ขนมีสองชั้น นิสัยรักเจ้าของ ฉลาดปราดเปรียว กล้าหาญ ค่อนข้างดุ สามารถฝึกหัดได้ ชอบเล่นน้ำมาก ขนาดเท่าสุนัขไทยทั่วไป หรือเล็กกว่าเล็กน้อย ไม่อ้วน ความสูงวัดที่ไหล่ ตัวผู้พ่อพันธุ์สูง 42-53 เซนติเมตร ตัวเมียแม่พันธุ์ 38-48 เซนติเมตร น้ำหนักตัวผู้ 14-16 กิโลกรัม ตัวเมีย 13-15 กิโลกรัม  ลำตัว ช่วงตัวตอนหน้าใหญ่ ช่วงตัวตอนท้ายค่อนข้างเล็ก ลำตัวหนาปานกลาง อกลึกปานกลาง อกแคบ ยืดอกเวลายืน ส่วนเอวจะคอดน้อยกว่าหมาไทย ท้ายลาด สง่าเหมือนสุนัขจิ้งจอก ส่วนขา ขาหน้าจะใหญ่กว่าขาหลังเล็กน้อย ขาส่วนบนใหญ่และเรียวลงมาถึงข้อเท้า ตั้งตรงแข็งแรง ถ้าดูด้านข้างจะเห็นขนยาวเป็นเส้นตรงจากข้อเท้าด้านหลังขึ้นไปถึงข้อศอกเหมือนขาสิงห์ ขาหลังช่วงล่างมีทั้งตั้งตรงและเกือบตรง ช่วงบนด้านหลังจะมีขนยาว เป็นเส้นตรงขึ้นไปจนถึงโคนหาง เวลายืนท่าปกติจะรับน้ำหนักทรงตัวดี นิ้วเรียงชิดกัน ขนที่ปลายนิ้วยาวหุ้มเล็บ หัว กะโหลกใหญ่ ปากยาวแหลม คอยาวกว่าหมาไทยทั่วไป กะโหลกศีรษะและปากรับกันเป็นรูปสามเหลี่ยม หูเล็กสั้น ตั้งป้องไปข้างหน้า ปลายหูเบนไปข้างๆ เล็กน้อย โคนหูทั้งสองอยู่ห่างกันมากกว่าสุนัขพันธุ์อื่น ๆ จึงใช้เป็นจุดเด่นในการสังเกตว่าเป็นสุนัขบางแก้ว 

 

ลักษณะใบหน้า

1. ลักษณะหน้าเสือ ใบหน้าดูคล้ายเสือ มีกะโหลกศีรษะใหญ่ หน้าผากกว้าง โคนหูตั้งอยู่ห่างกัน หูเล็กแบะออกเล็กน้อย แววตาเซื่องซึม พื้นสีตามักจะเป็นสีเหลืองทองคล้ำ ม่านตาตรงกลางสีดำ มีขนย้อยจากโคนหูด้านล่างเป็นแผงที่คอ เรียกว่า แผงคอ แต่ไม่รอบคอ ขนมีทั้งฟูและไม่ฟู มีหางเป็นพวง ทั้งหางงอ และหางม้วน แลดูดุร้าย

 

2. ลักษณะหน้าสิงโต มีกะโหลกศีรษะเล็กกว่าลักษณะหน้าเสือ หูเล็กเป็นรูปสามเหลี่ยม ป้องไปข้างหน้ารับกับใบหน้าอย่างสวยงาม ปากไม่เรียวแหลมมาก ไม่ใหญ่ไม่เล็กเกินไป มีขนยาวตั้งแต่โคนหูลงมาด้านล่าง เป็นแผงรอบคอ และมีขนเป็นเคราจากใต้คางย้อยลงมาเหมือนคอพอกลงมาถึงคอด้านล่าง ที่บริเวณรอบลำคอมีขนยาวโดยรอบ มีทั้งขนสั้นฟูและฟูยาว เมื่องมองจากดานหน้าจะมีลักษณะคล้ายสิงโต ลักษณะเท้ายาวอูม ขนยาวหุ้มปลายเท้าเล็กน้อย มองดูคล้ายเท้าหมี ขนมีทั้งยาวฟู สั้นฟู หางมีทั้งม้วนสูงและม้วนต่ำ เป็นพวงและไม่เป็นพวง ช่วงตอนหน้าใหญ่ตอนท้ายเล็ก ยามปกติแววตาและท่าทางเซื่องซึม แต่เมื่อเป็นศัตรูปรือคนแปลกหน้า จะเปลี่ยนเป็นดุร้ายและคล่องแคล่วว่องไวทันที ลักษณะหน้าสิงโตเป็นลักษณะที่หายากมาก นาน ๆ จึงจะพบเห็นสักตัวหนึ่ง

 

3. ลักษณะหน้าจิ้งจอก มีใบหน้าแหลม หูใหญ่กว่าลักษณะหน้าเสือและหน้าสิงโต ใบหูไม่ตรงโย้ออกด้านข้าง มองดูเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ปากแหลมเรียวและค่อนข้างยาว ขนอ่อนยาวเรียบ ขนหางเป็นพวง รูปร่างมีทั้งใหญ่ กลางและเล็ก อุปนิสัยไม่ค่อยดุร้ายเหมือนสองพวกแรก

 

 

การเลือกซื้อลูกสุนัขบางแก้ว

1. เลือกหูเล็กกว่าทุกตัวในครอกเดียวกัน ถ้าในกรณีที่ดูไม่ออกว่าเล็กกว่ากันหรือไม่คงต้องดูว่าคุณชอบตัวไหนมากกว่า เพราะสุนัขขณะที่ยังเล็กก็ดูเล็กไปหมดทุกส่วน



2. กะโหลกศีรษะใหญ่ กระหม่อมแบนราบ หน้าผากโหนก ลักษณะนี้สุนัขบางแก้วไม่ได้มีทุกตัว เพราะเนื่องจากต้องขึ้นอยู่กับเชื้อสาย พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ด้วย แต่ถ้าในกรณีที่มีโอกาสเลือกจากหลายครอก ก็เลือกจากครอกที่มีกะโหลกศีรษะใหญ่ก็ได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า สุนัขที่มีกะโหลกศีรษะเล็กจะเป็นข้อด้อยเพราะอย่างที่บอกว่าสุนัขไม่ได้มี กะโหลกใหญ่ทุกตัว และส่วนมากสุนัขที่มีกะโหลกใหญ่ หูของมันจะตั้งขึ้นช้ากว่าสุนัขที่มีกะโหลกเล็กกว่า เพราะ
ฉะนั้นไม่ ต้องตกใจ ถ้าท่านซื้อสุนัขไป 2 ตัวพร้อมกันแล้วอีกตัวหูยังไม่ตั้งต้องให้เวลาหน่อย เว้นแต่ว่าท่านโดนหลอกขายสุนัขพันธุ์อื่นแทนบางแก้ว



3. โคนหางอวบใหญ่ หางใหญ่ยาวโน้มกลางหลังในลักษณะกำลังงามไม่มากเกินไป ไม่ไพล่หลัง หางไม่ขอด ไม่ม้วน



4. ขนเส้นยาวนุ่ม ในกรณีที่ท่านเลือกซื้อตอนสุนัขยังเล็ก อย่างไรแล้วขนก็นุ่มเพราะยังไม่มีการถ่ายขน เพราะปกติสุนัขบางแก้วมีขนสองชั้น ชั้นในนุ่ม ชั้นนอกจะหยาบกว่า แต่อย่างไรก็ยังสัมผัสได้ว่านุ่มกว่าสุนัขพันธุ์ทั่วไปแน่นอน



5. สีด่างได้ลักษณะ สิ่งนี้เป็นสิ่งหนึ่งที่สุนัขบางแก้วนั้นแตกต่างจากสุนัขพันธุ์ ต่างประเทศ เพราะสุนัขพันธุ์ต่างประเทศ ถ้าเป็นสีไหนก็จะเป็นสีนั้นไปทั้งตัวอาจจะมีอ่อน เข้มต่างกันเท่านั้นแต่สุนัขบางแก้ว นอกจากจะมีสีต่างกันแล้ว เช่น ขาว-เทา ขาว- น้ำตาล ขาว-ดำ ยังมีข้อแตกต่างอีกว่าในแต่ละตัวจะมีแต้ม จะมีด่างตรงไหนบ้าง ขึ้นอยู่กับว่าตัวใดจะมีลักษณะสวยงามอย่างไร อย่างเช่น บางตัวอาจแบ่งสีได้อย่างชัดเจนว่ามี 3 ส่วน คือ ส่วนหัว กลาง ท้าย บางตัวก็อาจไม่เป็นเช่นนั้น แล้วแต่ว่าจะชอบแบบไหน หรือบางทีสีด่างอยู่ที่ตำแหน่งอื่นแต่ก็สวยไม่แพ้กันก็มี



6. หน้าเด่น หรือแบ่งเป็นเส้นจากปลายปากถึงกะโหลกศีรษะ ถ้ามีน้อยไม่ยาวมากเรียกว่า แด่น แต่ถ้าเส้นยาวมีมากและแยกส่วนศีรษะออกเป็นสองส่วนเรียกว่า แบ่ง คุณลักษณะนี้เป็นลักษณะที่ถ้าสุนัขมีก็ตรงตามลักษณะที่สวยงามตามเกณฑ์ แต่ถ้าไม่เป็นอย่างนี้ก็ไม่ได ้หมายความว่าไม่ใช่สุนัขบางแก้ว เพราะสุนัขบางตัวก็มีลักษณะเด่นอย่างอื่นแทนลักษณะที่ด้อยของตัวมันเองก็ได้



7. ปลายปากแหลมเล็ก ถ้าปลายปากขาวเป็นวงรอบปลายปาก เรียกว่า ปากคาบแก้ว


8. จมูกดำ ลูกนัยน์ตาเล็กมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม



9. ขาใหญ่ ลักษณะที่ดี ขาหน้าจะต้องใหญ่กว่าขาหลัง



10. รูปร่างสวยงามเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ซึ่งท่านสามารถศึกษาดูได้จากมาตรฐานพันธุ์ว่ารูป
สี่เหลี่ยมดูจากส่วนใดของสุนัข



11. มีสุขภาพดี ร่าเริง ไม่อยู่นิ่ง

 

 

การฝึกสุนัขบางแก้ว

สำหรับการเลี้ยงสุนัขบางแก้ว การจัดสรรแบ่งเวลาที่ดีถือเป็นสิ่งที่ผู้เลี้ยงควรต้องมีและเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เพราะว่า สุนัขบางแก้วเป็นสุนัขที่มีพลังงานอยู่ในตัวสูง และมีนิสัยซุกซน ถ้าหากไม่ได้รับการดูแลและใส่ใจอย่างใกล้ชิดจากผู้เลี้ยง อาจจะกลายเป็นน้องหมาก้าวร้าว มีนิสัยดุร้าย ไม่สามารถควบคุมได้ ผู้เลี้ยงจึงต้องมีเวลาดูแลสุนัขของท่านอย่างเต็มที่ โดยผู้เลี้ยงควรมีเวลาฝึกทักษะให้กับน้องหมา มีเวลาเพื่อพาน้องหมาไปออกกำลังกาย และมีเวลาดูแลสุขภาพน้องหมา ซึ่งจะช่วยทำให้น้องหมามีสุขภาพจิตใจที่แข็งแรง ร่าเริง

 

วิธีการวางโปรแกรมการฝึกสุนัขขั้นพื้นฐานแบบง่ายๆ

เริ่มต้นจากการกำหนดสิ่งที่เราต้องการจะฝึกสำหรับสุนัขที่อยู่ในช่วงอายุ 1-3 เดือนนั้น มีสิ่งที่จะต้องฝึกน้องหมาตามขั้นตอน ดังนี้

 

ช่วงแรกเกิด - 8 สัปดาห์

ช่วงนี้น้องหมายังต้องรับการดูแลจากแม่สุนัข ตาและหูยังปิดอยู่ น้องหมาจะเริ่มหัดเดินเมื่ออายุได้ 16 วัน เปลือกตาจะเริ่มเปิดเมื่ออายุ 2สัปดาห์ และช่องหูจะเริ่มทำงานหลังคลอด 17 วัน ลูกสุนัขจะเรียนรู้ได้เพียงเล็กน้อย แต่ผู้เลี้ยงอาจจะเริ่มฝึกทักษะการเข้าสังคมขั้นพื้นฐานให้ โดยวิธีการง่ายๆ อย่างการอุ้มลูกสุนัขอย่างนุ่นนวลบ่อยๆ เพื่อให้เขาคุ้นเคยกับมนุษย์ เรียกชื่อเขาบ่อยๆ เพื่อให้เขาคุ้นเสียงของเรา และจดจำชื่อของตัวเอง ช่วงนี้ยังไม่ควรแยกลูกสุนัขออกจากแม่และพี่น้องตัวอื่น ๆ เพราะว่าช่วงนี้เป็นช่วงสำคัญมากๆ ที่เขาจะเรียนรู้สิ่งต่างๆ จากแม่และเรียนรู้การใช้ชีวิตอยู่กับสุนัขตัวอื่นๆ

 

ช่วง 8 - 15 สัปดาห์

เป็นช่วงที่ลูกสุนัขเริ่มหย่านมแม่แล้ว ผู้เลี้ยงสามารถแยกเขาออกจากแม่ และเริ่มที่จะให้น้องหมาเรียนรู้ที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับเจ้าของและบุคคลต่างๆ ในครอบครัว ผู้เลี้ยงควรเริ่มจัดลำดับความสำคัญในครอบครัวให้น้องหมาได้เรียนรู้ว่า “คุณ” คือจ่าฝูง ค่อยๆ สอนให้เขาเรียนรู้ที่จะปรับตัวกับการอยู่ในบ้านกับสมาชิกในครอบครัว และรู้จักพื้นที่ของตัวเอง

การจำกัดขอบเขตให้สุนัขเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะจะทำให้เขามีระเบียบ พื้นที่ของสุนัขที่สำคัญที่เราต้องสอนให้เขารู้จักก็คือ ที่กินอาหาร ที่นอน และที่ขับถ่าย ถ้าหากใครคิดว่าจะให้น้องหมานอนในกรงล่ะก็ ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่ดีที่จะฝึกให้น้องหมารู้จักการนอนในกรงและอยู่ในกรงเมื่อเวลาจำเป็น เช่น เจ้าของไม่อยู่บ้าน , มีคนแปลกหน้ามาบ้าน ฯ

นอกจากนี้ ช่วงนี้ผู้เลี้ยงควรจะฝึกให้ลูกสุนัขเริ่มคุ้นกับสายจูงเวลาออกไปเดินเล่น โดยวิธีการฝึกให้คุ้นกับสายจูงก็สามารถทำได้ง่ายๆ โดยเริ่มจากการเลือกสายจูงที่เหมาะกับลูกสุนัข สายจูงจะต้องเล็กและมีน้ำหนักเบา ผู้เลี้ยงคล้องสายจูงให้น้องหมาและปล่อยให้เขาเดินเล่นรอบสนาม (โดยที่ผู้เลี้ยงดูอยู่ห่างๆ) แบบไม่ต้องจูง จากนั้นให้ผู้เลี้ยงค่อยๆ หยิบสายจูงขึ้นมาแล้วปล่อยให้น้องหมาเดินเล่นต่อ โดยที่เราไม่ต้องบังคับเขา ปล่อยให้เขาไปในจุดที่เขาอยากไป วิธีนี้จะช่วยให้น้องหมาเด็กคุ้นเคยกับสายจูงได้ง่ายขึ้น

 

ข้อมูล dogacat , มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม , มติชน

ภาพ gettyimages

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง