รีเซต

สภาผู้ส่งออก เสนอมาตรการรับมือ โควิด-19 จี้ดูแลการเงิน แรงงาน และวัตุดิบนำเข้าเร่งด่วน!

สภาผู้ส่งออก เสนอมาตรการรับมือ โควิด-19 จี้ดูแลการเงิน แรงงาน และวัตุดิบนำเข้าเร่งด่วน!
มติชน
24 มีนาคม 2563 ( 09:52 )
97
สภาผู้ส่งออก เสนอมาตรการรับมือ โควิด-19 จี้ดูแลการเงิน แรงงาน และวัตุดิบนำเข้าเร่งด่วน!

สภาผู้ส่งออก เสนอมาตรการรับมือ โควิด-19 จี้ดูแลการเงิน แรงงาน และวัตุดิบนำเข้าเร่งด่วน!

เมื่อวันที่ 24 มีนาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) ในฐานะตัวแทนผู้ส่งออกไทย ได้จัดทำข้อเสนอแนะรองรับผลกระทบจาก COVID-19 ต่อภาคการส่งออกไทย เพื่อเสนอต่อหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ในการกำหนดนโยบายและมาตรการรับมือต่อเหตุฉุกเฉินและการบรรเทาผลกระทบ จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นต่อภาคส่งออกไทย ให้สามารถดำเนินธุรกิจได้ต่อไป

โดยข้อเสนอแนะที่จัดทำขึ้น ได้พิจารณาทั้งในส่วนของระดับความสำคัญ (สูง/กลาง/ต่ำ) ระยะเวลาการใช้มาตรการที่รองรับทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ครอบคลุมด้านการเงิน ด้านแรงงาน ด้านการนำเข้าวัตถุดิบและการส่งออกสินค้า ด้านโลจิสติกส์และการขนส่ง ด้านการตลาด และด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้

1.ด้านการเงิน ขอให้ธนาคารพาณิชย์ “ขยายเวลาการชำระหนี้ (สินเชื่อเพื่อการลงทุน และสินเชื่อเพื่อการส่งออก) ทั้งเงินต้น ดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียม” เม.ย. 63 – มี.ค. 64 (1 ปี) ขอให้กระทรวงการคลัง “จัดสรรเงินกู้ปลอดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมการกู้/ค้ำประกัน” เพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงินให้กับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม เม.ย. 63 – มี.ค. 64 (1 ปี) ขอให้กระทรวงการคลัง “ยกเว้นการเรียกเก็บ

1) ภาษีสรรพสามิต (น้ำผลไม้ และน้ำมัน) เพื่อลดต้นทุนการผลิตและราคาสินค้าในประเทศ

2) ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

3) ภาษีเงินได้นิติบุคคล

และ 4) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีภาษี 2562-2563 สำหรับผู้มีรายได้พึงประเมินไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี” เพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงินและเพื่อให้ผู้ประกอบการมีเงินทุนเพียงพอสำหรับการฟื้นฟูกิจการ และเพื่อให้ประชาชนที่มีรายได้น้อยมีสภาพคล่องและมีเงินหมุนเวียนจับจ่ายใช้สอยซื้อสินค้ามากขึ้น 27,500 บาทต่อปี เม.ย. 63 – มี.ค. 64 (1 ปี) ขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และธนาคารพาณิชย์ ร่วมมือ “1) จัดสรรวงเงินสำหรับการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนให้กับผู้ประกอบการ 2) ลดค่าธรรมเนียมและค่าบริการธนาคารพาณิชย์ อาทิ การใช้บริการบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ การประกันภัยความเสี่ยงการชำระเงินและการปฏิเสธรับสินค้าของคู่ค้า และบริการอื่นของธนาคารพาณิชย์” เพื่อลดต้นทุนและความเสี่ยงให้กับผู้ส่งออกและผู้นำเข้าในช่วงของการระบาด เม.ย. 63 – มี.ค. 64

(1 ปี) ขอให้กระทรวงการคลัง “ผ่อนคลายกฎระเบียบให้ผู้ส่งออกและผู้นำเข้าสามารถจ่ายค่าระวาง ค่าสินค้าและบริการภายในประเทศ ให้กับกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับซัพพลายเชนระหว่างประเทศเป็นเงินสกุลต่างประเทศ”เม.ย. 63 เป็นต้นไป

2.ด้านแรงงาน ในกรณีที่สถานประกอบการหยุดกิจการชั่วคราวเนื่องจากได้รับผลกระทบจาก COVID-19 และในกรณีที่รัฐสั่งให้หยุดเป็นการชั่วคราว ขอให้กองทุนประกันสังคม “จ่ายค่าแรง 75% ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 75 ให้กับแรงงานแทนผู้ประกอบการ” เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถกลับมาประกอบกิจการได้ภายหลังวิกฤต

เม.ย. 63 – ก.ย. 63  (6 เดือน) ขอให้กระทรวงแรงงาน “ลดเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมทั้งในส่วนของนายจ้างและลูกจ้าง เหลือ 1%” เม.ย. 63 – ก.ย. 63  (6 เดือน) ขอให้กองทุนประกันสังคม “จ่ายเงินชดเชยการเลิกจ้างให้กับแรงงานแทนสถานประกอบการที่ปิดกิจการเพราะได้รับผลกระทบจาก COVID-19” เม.ย. 63 – ก.ย. 63  (6 เดือน)

3.ด้านการนำเข้าวัตถุดิบและการส่งออกสินค้า ขอให้กรมศุลกากร “ยกเว้นอากรขาเข้าเพื่อส่งเสริมการนำเข้าวัตถุดิบสำหรับการผลิตเพื่อจัดจำหน่ายในประเทศและการส่งออก” เพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการ และลดราคาสินค้าในประเทศ ให้ประชาชนมีสินค้าเพียงพอต่อการอุปโภค/บริโภคในระดับราคาที่เหมาะสม เม.ย. 63 – มี.ค. 65

(2 ปี) ประเทศได้โดยไม่เสียสิทธิประโยชน์” โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีความต้องการสินค้าภายในประเทศเป็นจำนวนมาก อาทิ หน้ากากอนามัย เม.ย. 63 – ก.ย. 63  (6 เดือน) ขอให้กรมศุลกากรและหน่วยงานผู้ออกใบรับรอง/ใบอนุญาตส่งออกและนำเข้า “ยกเว้นหรือปรับลดขั้นตอนการขอใบรับรอง/ใบอนุญาตส่งออกและนำเข้า และลดค่าใช้จ่าย/ค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้อง” หากใบรับรองนั้นไม่ได้เป็นข้อกำหนด/ความต้องการของประเทศปลายทาง โดยให้ดำเนินพิธีการส่งออกใช้เอกสาร Invoice, Packing List และ Bill of Lading เป็นเอกสารสำหรับแสดงต่อเจ้าหน้าที่ ณ ด่านศุลกากร เพื่ออำนวยความสะดวกในช่วงเวลาที่หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องไม่สามารถให้บริการได้ โดยให้มีการรายงานย้อนหลังสำหรับผู้ส่งออกที่ดีและเป็นสมาชิก สรท. เพื่อรับรองให้สามารถส่งออกได้แม้มีการ Lockdown

4.ด้านโลจิสติกส์และการขนส่ง ขอให้กระทรวงคมนาคม “ห้ามปิดท่าเรือกรุงเทพ ท่าเรือแหลมฉบัง และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิสำหรับการขนส่งสินค้า” และ “จัดตั้งศูนย์ประสานงานและสนับสนุนข้อมูลการขนส่งสินค้าภายในประเทศ” เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับการส่งออกและการนำเข้า และการขนส่งวัตถุดิบและสินค้าระหว่างผลิตภายในประเทศ ในกรณีที่มีการ Lock Down กรุงเทพฯ และประเทศไทย เพื่อให้กระบวนการผลิตและการส่งออกยังสามารถดำเนินการได้ต่อเนื่อง เม.ย. 63 – ก.ย. 63  (6 เดือน) ขอให้กรมศุลกากร หน่วยงานผู้ออกใบรับรอง/ใบอนุญาตส่งออกและนำเข้า และการท่าเรือแห่งประเทศไทย “เร่งรัดพัฒนาระบบการขอใบรับรอง/ใบอนุญาตส่งออกและนำเข้าผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้สมบูรณ์ สามารถป้อนข้อมูลแบบ Single Submission ผ่าน National Single Window และสามารถตรวจสอบเอกสารผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ทั้งหมด ณ ด่านศุลกากรทั่วประเทศ” และ “สนับสนุนการพัฒนา National Digital Trade Platform (NDTP) ของภาคเอกชนเพื่อเชื่อมต่อกับระบบของภาครัฐ”

ซึ่งจะทำให้สามารถลดการติดต่อเผชิญหน้าระหว่างเจ้าหน้าที่และภาคเอกชนในการเดินทางไปขอใบรับรอง/ใบอนุญาตส่งออก ณ หน่วยงานภาครัฐ สามารถยกเลิกการยื่นและรับเอกสารกระดาษ ณ ด่านศุลกากรและท่าเรือขนส่งสินค้า ทั้งกรณี Green Line / Red Line ซึ่งเป็นความเสี่ยงสำคัญสำหรับการแพร่ระบาด อีกทั้งสามารถอำนวยความสะดวกให้กิจกรรมทางการค้าระหว่างประเทศสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง แม้ในช่วงการระบาดของโรค เม.ย. 63 เป็นต้นไป

ขอให้กรมศุลกากร หน่วยงานผู้ออกใบรับรอง/ใบอนุญาตส่งออกและนำเข้า และการท่าเรือแห่งประเทศไทย “เร่งรัดพัฒนาระบบการขอใบรับรอง/ใบอนุญาตส่งออกและนำเข้าผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้สมบูรณ์ สามารถป้อนข้อมูลแบบ Single Submission ผ่าน National Single Window และสามารถตรวจสอบเอกสารผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ทั้งหมด ณ ด่านศุลกากรทั่วประเทศ” และ “สนับสนุนการพัฒนา National Digital Trade Platform (NDTP) ของภาคเอกชนเพื่อเชื่อมต่อกับระบบของภาครัฐ”

ซึ่งจะทำให้สามารถลดการติดต่อเผชิญหน้าระหว่างเจ้าหน้าที่และภาคเอกชนในการเดินทางไปขอใบรับรอง/ใบอนุญาตส่งออก ณ หน่วยงานภาครัฐ สามารถยกเลิกการยื่นและรับเอกสารกระดาษ ณ ด่านศุลกากรและท่าเรือขนส่งสินค้า ทั้งกรณี Green Line / Red Line ซึ่งเป็นความเสี่ยงสำคัญสำหรับการแพร่ระบาด อีกทั้งสามารถอำนวยความสะดวกให้กิจกรรมทางการค้าระหว่างประเทศสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง แม้ในช่วงการระบาดของโรค เม.ย. 63 เป็นต้นไป

ขอให้กระทรวงพาณิชย์ “จัดตั้งศูนย์ประสานงานและสนับสนุนข้อมูลเส้นทางการขนส่งในประเทศคู่ค้าสำคัญ” โดยอาศัยเครือข่ายสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ รวมถึงกรณีที่ท่าเรือหรือท่าอากาศยานปิดทำการและมีสินค้าตกค้าง ศูนย์ประสานงานฯ จะต้องช่วยเจรจาให้ท่าเรือ/ท่าอากาศยาน มีมาตรการผ่อนปรนหรือยกเว้นค่า Demurrage /Detention เม.ย. 63 – มี.ค. 64  (12 เดือน) ขอให้กระทรวงคมนาคม และกรมศุลกากร “เตรียมความพร้อมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งด้านบุคลากรฝ่ายปฏิบัติงานและสิ่งอำนวยความสะดวกในท่าเรือ/ท่าอากาศยาน เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานขนถ่ายและพิธีการศุลกากรได้ต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง รองรับความไม่สะดวกในช่วงการแพร่ระบาดของโรคและรองรับปริมาณการค้าที่จะพลิกฟื้นกลับมาในช่วงครึ่งปีหลัง เพื่อมิให้เกิดปัญหาความแออัดของสินค้าในท่าเรือ/ท่าอากาศยาน” และ “กำกับดูแลผู้ให้บริการขนส่งสินค้าให้จัดหาระวางขนส่งสินค้าและตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้า ให้เพียงพอต่อความต้องการส่งออก-นำเข้า ภายใต้อัตราค่าบริการที่เหมาะสม โดยต้องควบคุมไม่ให้เกิดการฉวยโอกาสกับเจ้าของสินค้า” มิ.ย. – ธ.ค. 63 (6 เดือน)

ขอให้กระทรวงคมนาคม และกรมศุลกากร “เตรียมความพร้อมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งด้านบุคลากรฝ่ายปฏิบัติงานและสิ่งอำนวยความสะดวกในท่าเรือ/ท่าอากาศยาน เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานขนถ่ายและพิธีการศุลกากรได้ต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง รองรับความไม่สะดวกในช่วงการแพร่ระบาดของโรคและรองรับปริมาณการค้าที่จะพลิกฟื้นกลับมาในช่วงครึ่งปีหลัง เพื่อมิให้เกิดปัญหาความแออัดของสินค้าในท่าเรือ/ท่าอากาศยาน” และ “กำกับดูแลผู้ให้บริการขนส่งสินค้าให้จัดหาระวางขนส่งสินค้าและตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้า ให้เพียงพอต่อความต้องการส่งออก-นำเข้า ภายใต้อัตราค่าบริการที่เหมาะสม โดยต้องควบคุมไม่ให้เกิดการฉวยโอกาสกับเจ้าของสินค้า” มิ.ย. – ธ.ค. 63

(6 เดือน) กรณีการขนส่งสินค้าทางถนนข้ามแดนขอให้กรมศุลกากร “แยกแถวคอยการตรวจสอบรถขนส่งผู้โดยสารกับรถบรรทุกขนส่งสินค้าออกจากกัน” เพื่อมิให้เกิดปัญหาการขนส่งสินค้าล่าช้า อันเนื่องจากการรอคอย มิ.ย. – ธ.ค. 63

(6 เดือน) กรณีการขนส่งสินค้าทางถนนข้ามแดนขอให้กรมศุลกากร “แยกแถวคอยการตรวจสอบรถขนส่งผู้โดยสารกับรถบรรทุกขนส่งสินค้าออกจากกัน” เพื่อมิให้เกิดปัญหาการขนส่งสินค้าล่าช้า อันเนื่องจากการรอคอย มิ.ย. – ธ.ค. 63(6 เดือน)

กรณีการขนส่งสินค้าทางถนนข้ามแดนขอให้กรมศุลกากร “แยกแถวคอยการตรวจสอบรถขนส่งผู้โดยสารกับรถบรรทุกขนส่งสินค้าออกจากกัน” เพื่อมิให้เกิดปัญหาการขนส่งสินค้าล่าช้า อันเนื่องจากการรอคอย เม.ย. 63 – ก.ย. 63  (6 เดือน)ขอให้กระทรวงสาธารณสุข “จัดสรรบุคลากรทางแพทย์ เพื่อสนับสนุนการตรวจสอบประวัติและสุขภาพคนประจำเรือขนส่งสินค้า ให้เพียงพอต่อปริมาณเรือเข้า-ออกท่าเรือทั่วประเทศ” เพื่อลดเวลาการรอคอยของเรือขนส่งสินค้า และลดโอกาสการเกิดปัญหาความแออัดในท่าเรือ มิ.ย. – ธ.ค. 63

(6 เดือน) ขอให้กระทรวงสาธารณสุข “จัดสรรบุคลากรทางแพทย์ เพื่อสนับสนุนการตรวจสอบประวัติและสุขภาพคนประจำเรือขนส่งสินค้า ให้เพียงพอต่อปริมาณเรือเข้า-ออกท่าเรือทั่วประเทศ” เพื่อลดเวลาการรอคอยของเรือขนส่งสินค้า และลดโอกาสการเกิดปัญหาความแออัดในท่าเรือ เม.ย. 63 – ก.ย. 63  (6 เดือน) ขอให้กระทรวงคมนาคม และการบินไทย “จัดเตรียมการขนส่งสินค้าทางอากาศในลักษณะการเช่าเหมาลำ (Charter Flight)” เพื่อรองรับความต้องการขนส่งสินค้าทางอากาศ โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าเน่าเสียง่ายไปยังตลาดเป้าหมายในกรณีฉุกเฉิน เม.ย. 63 – ก.ย. 63  (6 เดือน)

5.ด้านการตลาด ขอให้กระทรวงพาณิชย์ “เร่งขยายความร่วมมือกับ e-commerce platform (ทั้งภายในประเทศ ในประเทศคู่ค้าสำคัญ) เพื่อขอพื้นที่ให้กับสินค้าไทยบนแพลตฟอร์ม รวมถึงช่วยเจรจาเพื่อปรับขั้นตอนการเข้าเป็นสมาชิก ลดค่าธรรมเนียมแรกเข้า และค่าธรรมเนียมการใช้บริการ” โดยใช้เงินกองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ หรือเงินงบประมาณอื่น เม.ย. 63 – มี.ค. 65 (2 ปี)

6.ด้านอื่นๆ ขอให้รัฐบาล กระทรวง และหน่วยงานราชการแต่ละระดับ มีการประสานการทำงานและหารือร่วมกับภาคเอกชนก่อนกำหนดนโยบาย ที่ส่งผลกระทบในวงกว้าง เพื่อมิให้เกิดความสับสนและความไม่เชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจ ขอให้รัฐบาลกำหนดมาตรการรองรับนโยบาย Work from Home เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจมีความต่อเนื่องและสามารถลดการแพร่กระจายของโรค อาทิ

1) จำกัดการเดินทางของแรงงานและประชาชนกลับภูมิลำเนา

2) จัดระบบการขนส่งสินค้าและยารักษาโรคที่จำเป็นไปยังร้านค้าปลีกในชุมชน

3) อำนวยความสะดวกการจ้างงานในบริการ Food Delivery ให้กับแรงงานที่ ว่างงาน

4) สนับสนุนข้อมูลสถานการณ์แบบ Real Time โดย SMS ไปยังโทรศัพท์มือถือของประชาชนผ่านผู้ให้บริการหลัก เพื่อลด Fake News และความวิตกกังวลของประชาชน

อนึ่ง ข้อเสนอแนะรองรับผลกระทบจาก COVID-19 ข้างต้น พิจารณาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดภายในประ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง