รีเซต

สิ้น! "มิคาอิล กอร์บาชอฟ" ผู้นำโซเวียตคนสุดท้าย ถึงแก่อสัญกรรมในวัย 91 ปี

สิ้น! "มิคาอิล กอร์บาชอฟ" ผู้นำโซเวียตคนสุดท้าย ถึงแก่อสัญกรรมในวัย 91 ปี
TNN ช่อง16
31 สิงหาคม 2565 ( 07:38 )
99
สิ้น! "มิคาอิล กอร์บาชอฟ" ผู้นำโซเวียตคนสุดท้าย ถึงแก่อสัญกรรมในวัย 91 ปี

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า "มิคาอิล เซอร์เกเยวิช กอร์บาชอฟ" ผู้นำคนสุดท้ายก่อนการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ถึงแก่อสัญกรรมอย่างสงบในวัย 91 ปี ด้วยอาการป่วยเรื้อรัง เมื่อช่วงเย็นของวันอังคาร โดยจะมีการฝังร่างที่สุสานโนโวเดวิชี ในกรุงมอสโกของรัสเซีย เคียงข้างกับภรรยาผู้ล่วงลับ

ภาพจาก รอยเตอร์

 

ประวัติมิคาอิล เซอร์เกเยวิช กอร์บาชอฟ

เป็นนักการเมืองชาวโซเวียตรัสเซีย เป็นผู้นำคนที่แปดและคนสุดท้ายแห่งสหภาพโซเวียต ดำรงแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์สหภาพโซเวียตระหว่างค.ศ. 1985 ถึง 1991 ดำรงตำแหน่งประมุขแห่งรัฐระหว่างค.ศ. 1988 ถึง 1991 ดำรงตำแหน่งประธานเปรซิเดียมสูงสุดระหว่างค.ศ. 1988 ถึง 1989 และดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีโซเวียตระหว่างค.ศ. 1990 ถึง 1991 กอร์บาชอฟเคยมีอุดมการณ์แบบลัทธิมาคส์-เลนิน แต่เปลี่ยนมาเป็นประชาธิปไตยแบบสังคมนิยมในทศวรรษที่ 1990


มิคาอิล เซอร์เกเยวิช กอร์บาชอฟ มีเชื้อสายยูเครนและรัสเซีย เขาเกิดที่เมืองรีวอลโนเยทางตะตกวันตกของสหภาพโซเวียต ครอบครัวเป็นชาวไร่ยากจน กอร์บาชอฟเติบโตขึ้นมาภายใต้การปกครองของโจเซฟ สตาลิน ในตอนเด็กเขาเคยเป็นคนควบคุมรถเกี่ยวผลผลิตในนารวม และต่อมาได้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ซึ่งเวลานั้นเป็นพรรคการเมืองเดียวที่ปกครองสหภาพโซเวียตตามแนวคิดของมาคส์-เลนิน ระหว่างที่กอร์บาชอฟศึกษาวิชากฎหมายที่มหาวิทยาลัยมอสโก 

ภาพจาก รอยเตอร์

 

มิคาอิล เซอร์เกเยวิช กอร์บาชอฟแต่งงานกับเพื่อนร่วมชั้นเรียนในปี 1953 และจบการศึกษาในปี 1955 หลังจากนั้นจึงย้ายไปยังเมืองสตัฟโรโปล ไม่ไกลจากบ้านเกิด และทำงานเป็นพนักงานเดินเครื่องจักรกลของสันนิบาตยุวชนคอมมิวนิสต์ ภายหลังการอสัญกรรมของสตาลิน เขาเป็นแกนนำสนับสนุนนโยบายล้างระบอบสตาลินของนีกีตา ครุชชอฟ ผู้นำโซเวียตคนใหม่ กอร์บาชอฟได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์ประจำสตัฟโรโปลในปี 1970


ในปี 1978 มิคาอิล เซอร์เกเยวิช กอร์บาชอฟ เดินทางไปกรุงมอสโกเพื่อรับตำแหน่งเลขานุการคณะกรรมการกลางของพรรค และในปี 1979 ก็ได้เป็นสมาชิกกรมการเมืองของพรรค และในสามปีให้หลังการอสัญกรรมของเลโอนิด เบรจเนฟ กรมการเมืองก็เลือกเขาเป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ และเป็นประมุขแห่งรัฐโดยพฤตินัยในปี 1985


นโยบายการปฏิรูป

ในระหว่างการดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรค มิคาอิล เซอร์เกเยวิช กอร์บาชอฟ ได้ริเริ่มโครงการปฏิรูปและปรับโครงสร้างระบบเศรษฐกิจและการเมืองจากหน้ามือเป็นหลังมือ ด้วยนโยบายที่รู้จักกันในชื่อ "เปเรสตรอยคา" (Perestroika) เป็นการให้เสรีภาพแก่ประชาชนมากขึ้น ยอมให้มีการวิพากษ์วิจารณ์แสดงความคิดเห็นในที่สาธารณะ เพิ่มเสรีภาพแก่สื่อและสิ่งพิมพ์ ยอมให้มีเสรีภาพทางวัฒนธรรม และนโยบาย "กลัสนอสต์" (Glasnost) ที่ยอมให้มีการตรวจแก้ประวัติศาสตร์ของประเทศ จากที่เขาปรับปรุงระบบเศรษฐกิจและการเมืองให้เสรีภาพแก่ประชาชนมากขึ้นทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี 1990

ภาพจาก รอยเตอร์

 

การล่มสลายของสหภาพโซเวียต

ด้านนโยบายการต่างประเทศและกลาโหม กอร์บาชอฟได้ตัดทอนลดงบประมาณด้านการทหาร นำนโยบาย "เดต็องต์" (Détente) กลับมาใช้ใหม่ ลดอาวุธนิวเคลียร์กับฝ่ายตะวันตก พร้อมทั้งถอนทหารออกจากประเทศอัฟกานิสถานในปี 1989 ในที่สุดฝ่ายอนุรักษนิยมในกองทัพยอมไม่ได้จึงรัฐประหารเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1991 ซึ่งกอร์บาชอฟรอดมาได้ในช่วงเวลาสั้น ๆ จากการประท้วงของประชาชนนำโดยบอริส เยลต์ซิน แต่ในที่สุดก็ถูกบังคับให้ลาออก หลังพรรคคอมมิวนิสต์ถูกยุบและสหภาพล่มสลายในเดือนธันวาคมของปีเดียวกัน

นับตั้งแต่ปี 1993 เป็นมา มิคาอิล เซอร์เกเยวิช กอร์บาชอฟ ได้ดำรงตำแหน่งประธานมูลนิธินานาชาติเพื่อการศึกษาด้านเศรษฐกิจ-สังคมและการเมืองชื่อว่ามูลนิธิกอร์บาชอฟ






อ้างอิง wikipedia

ภาพจาก AFP

ข่าวที่เกี่ยวข้อง