รีเซต

สธ.ย้ำ "ห้องแล็บยะลา" ตรวจ โควิด-19 ได้มาตรฐาน ขอให้ประชาชน วางใจได้

สธ.ย้ำ  "ห้องแล็บยะลา" ตรวจ โควิด-19 ได้มาตรฐาน ขอให้ประชาชน วางใจได้
มติชน
6 พฤษภาคม 2563 ( 15:55 )
129
1
สธ.ย้ำ  "ห้องแล็บยะลา" ตรวจ โควิด-19 ได้มาตรฐาน ขอให้ประชาชน วางใจได้

สธ.ย้ำ “ห้องแล็บยะลา” ตรวจ โควิด-19 ได้มาตรฐาน ขอให้ประชาชน วางใจได้

กรณีเหตุการณ์ ที่ จ.ยะลา จากการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก (active case finding) ใน 8 อำเภอ ใน จ.ยะลา โดยนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยะลา รายงานว่า มีการตรวจจำนวน 311 ราย ผลการตรวจเบื้องต้นให้ผลลบ 271 ราย และมีการยืนยันผลบวก 40 ราย ภายหลังจึงมีการตรวจสอบและนำเชื้อไปตรวจที่ศูนย์ห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จ.สงขลา อีกครั้งผลปรากฏว่าเป็นลบทุกราย สรุปได้ว่า ผลออกมาขัดแย้งกันโดยสิ้นเชิง จึงได้มีการตรวจทางห้องปฏิบัติการแห่งที่ 3 คือ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งเป็นมาตรฐานของประเทศไทยในการตรวจหาเชื้อ

วันที่ 6 พฤษภาคม ที่ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดี กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ประเด็นที่ 1 จากการตรวจทางห้องปฏิบัติการ(แล็บ) ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่เป็นส่วนกลางอีกครั้ง พบว่าผลการตรวจทั้ง 40 รายและให้ผลเป็นลบเช่นเดียวกับการตรวจที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์สงขลา ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าผลการตรวจจากแล็บของ จ.ยะลา พบว่า เปรียบเทียบที่เป็น ตัวควบคุม Negative control ให้ผลเป็นบวก พบว่า มีความคาดเคลื่อนเกิดขึ้น ผลสุดท้ายผลทางห้องแล็บมีผลเป็นลบ ตอนต่อไปคือ ทางห้องแล็บงานจึงต้องรายงานข้อมูลไปยังผู้ที่ส่งตัวอย่างตรวจ คือ แพทย์ผู้ทำการตรวจ ในการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 จะต้องมีข้อมูลทางระบาดวิทยา การสอบสวนโรคของผู้ได้รับการตรวจ ดังนั้นเมื่อมีการส่งผลทางห้องแล็บกลับไปแล้ว แพทย์ผู้ดูแลผู้ได้รับการตรวจทั้ง 40 รายนี้จะต้องนำข้อมูลไปประมวลอีกครั้งว่าผู้ป่วยเป็นอย่างไรบ้างเพื่อดำเนินตามมาตรการต่างๆต่อไป

นพ.โอภาส กล่าวว่า ประเด็นที่ 2 คือเมื่อตัวควบคุม Negative control ให้ผลบวก ก็จะต้องมีการหาสาเหตุต่อไป โดยขณะนี้ได้ส่งทีมจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ ลงพื้นที่ไปตรวจสอบถึงสาเหตุ รวมถึงดูสถานที่ปฏิบัติงาน จริง เบื้องต้น ไม่พบความผิดปกติ หลัก(major error) แต่พบว่ามีบางสิ่งที่สามารถปรับปรุงได้ เช่น 1.ภาระงานที่หนักมาก การจัดการคือถ้ามีการตรวจจำนวนมากจะต้องมีการแบ่งบางตัวอย่างส่งมาตรวจทางห้องแล็บอื่นๆ ช่วยตรวจ 2.ด้วยภาระงานที่เยอะ อาจจะต้องมีการเพิ่มอุปกรณ์ในการตรวจเพื่อให้เกิดความแม่นยำและสามารถตรวจสอบได้มากยิ่งขึ้น ความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญค้นพบว่า จ.ยะลา เป็นจังหวัดแรกในเขตสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่สามารถสร้างห้องแล็บ เพื่อตรวจหาเชื้อโควิด-19 ได้ ซึ่งโดยที่ผ่านมาตรวจตัวอย่างไปแล้วกว่า 4,000 ตัวอย่าง ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สามจังหวัดชายแดน ภาคใต้สามารถควบคุมการระบาดของโรคได้ระดับหนึ่ง

“ภาระงานค่อนข้างเยอะโดยเฉพาะช่วงที่มีการค้นหาเชิงรุก บางวันต้องตรวจตัวอย่างถึง 800 ตัวอย่างต่อวัน ซึ่งเป็นภาระงานที่จะต้องแบกรับ ทีมที่ลงไปเยี่ยมก็ให้ความชื่นชมและให้กำลังใจ สิ่งที่ควรปรับปรุง ได้นำเรียนกับผู้อำนวยการโรงพยาบาลยะลาแล้ว ซึ่งท่านเห็นดีด้วยว่าหลังจากนี้จะมีการหาสาเหตุที่แน่ชัดว่าจุดไหนที่ควรปรับปรุงแก้ไขเปลี่ยนแปลง รวมทั้งเมื่อมีการตรวจทางห้องแล็บครั้งใหม่ ทางศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์สงขลาก็จะมีการตรวจตัวอย่างควบคู่กันไป เพื่อให้เจ้าหน้าที่เกิดความมั่นใจ จากนั้นก็จะเข้าสู่ระบบการดำเนินงานที่เป็นมาตรฐานต่อไปคาดว่าจะใช้เวลาไม่นานก็จะสามารถเปิดห้องแล็บทำการตรวจให้กัประชาชนได้อีกครั้ง” นพ.โอภาส กล่าว

นอกจากนี้ นพ.โอภาส กล่าวว่า ขอย้ำว่า เหตุการณ์ครั้งนี้ถือว่าทางโรงพยาบาลยะลา เจ้าหน้าที่ทางห้องแล็บ สามารถดำเนินการได้ตามมาตรฐาน สามารถค้นหาสาเหตุของการผิดพลาด และมีมาตรการการจัดการที่เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ขอย้ำอีกครั้งว่าเหตุการณ์ที่มีการตรวจคลาดเคลื่อนนั้นเกิดขึ้นได้เสมอ ในห้องแล็บทุกแห่ง อย่างไรก็ตามประเทศไทยมีอัตราการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ให้หายได้เป็นลำดับต้นของโลก และสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ดี อยากให้ประชาชนมั่นใจว่าระบบมาตรฐานเรามีการตรวจสอบและปรับปรุงให้ได้มาตรฐานที่ดียิ่งขึ้นต่อไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง