รีเซต

“เผ่าภูมิ”เผย คลังพร้อมดันภาษีคาร์บอนบังคับใช้ในปีนี้

“เผ่าภูมิ”เผย คลังพร้อมดันภาษีคาร์บอนบังคับใช้ในปีนี้
ทันหุ้น
26 กันยายน 2567 ( 13:28 )
5
“เผ่าภูมิ”เผย คลังพร้อมดันภาษีคาร์บอนบังคับใช้ในปีนี้

“เผ่าภูมิ”เผย คลังพร้อมดันภาษีคาร์บอนบังคับใช้ในปีหน้า ส่วนภาษีแบตเตอรี่เป็นเฟสต่อไป ชี้ภาคผลิตต้องปรับตัวรับเศรษฐกิจสีเขียว เพื่อเพิ่มขีดแข่งขัน

 

#ทันหุ้น นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า กระทรวงการคลังเตรียมผลักดันการจัดเก็บภาษีคาร์บอนให้สามารถมีผลบังคับใช้ในปีนี้

เขากล่าวในระหว่างปาฐถกาในงาน road to the net zero 2024 the extrairdinary green ว่ากระทรวงการคลัง เตรียมจะผลักดันมาตรการภาษีคารบอนให้ครม.อนุมัติในเร็วๆนี้ เพื่อให้ภาษีดังกล่าวสามารถมีผลบังคับใช้ได้ในปีนี้

 

ภาษีคาร์บอนจะสร้างรงจูงใจให้ภาคธุรกิจลดการปล่อยคารบอนลง ขณะเดียวกัน มาตรการภาษีตัวนี้จะไม่เพิ่มภาระให้แก่ประชาชน”

 

เขายกตัวอย่างว่า กรณีผลิตภัณฑน้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิด ซึ่งการเผาไหม้มีส่วนในการปล่อยคารบอนออกสู่ชั้นบรรยากาศ หากนำภาษีคารบอนมาใช้ อัตราภาษีสรรพสามิตจะยังเท่าเดิม ที่6บาท/ลิตร แต่เมื่อมีภาษีคาร์บอน กรมสรรพสามิตจะแยกภาระภาษีออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกเป็นภาษีสรรพสามิตที่ 5 บาทอีกส่วนเป็นภาษีคาร์บอนในอัตรา 1 บาท

ดังนั้น ตามโครงสร้างภาษีดังกล่าว ประชาชนผู้ใช้น้ำมัน จะไม่มีภาระภาษีที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ภาคธุรกิจน้ำมันภาระภาษีอาจลดลง เพิ่มขึ้น หรือเท่าเดิม ซึ่งขึ้นอยู่กีบการบริการจัดการในการลดการปล่อยคาร์บอน หากสามารถลดการปล่อยคารบอนได้มากภาระภาษีก็จะลดลง

 

ดังนั้น ทุกคาร์บอนที่ภาคธุรกิจปล่อยออกมาจะมีราคาที่ต้องจ่าย โดยทุกยูนิตของคาร์บอนที่ปล่อยออกมาจะถูกคูณด้วยอัตราภาษีคาร์บอน ซึ่งจะเป็นภาระของภาคธุรกิจ

นอกจากนี้ เขายังกล่าวถึง การปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตแบตเตอรี่ว่า ในอนาคตกรมสรรพสามิตจะปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตแบตเตอรีเป็นแบบขั้นบันได จากปัจจุบันที่เป็นลักษณะคงที่ในอัตรา8% แต่โครงสร้างภาษีแบตเตอรี่ใหม่จะมีลักษณะเป็นขั้นบันไดโดยอัตราภาษีสูงสำหรับแบตเตอรี่ที่มีการปล่อยคาร์บอนสูและภาษีต่ำสำหรับแบตเตอรี่ที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ

 

นอกจากนั้น ในอนาคตหากภาคธุรกิจใดสามารถลดการปล่อยคาร์บอนได้มากก็อาจได้รับการคืนภาษีในลักษณะภาษีย้อนกลับ

 

เขากล่าวด้วยว่า ประเทศไทยมีข้อผูกพันระหว่างประเทศทีต้องดำเนินการตาม โดยภายในปี 2573 ไทยจะต้องลดการปล่อยคารบอนลง30-40%จากปัจจุบัน ภายในปี2593 จะต้อวนำไปสู่ Carbon Neutrality และภายในปี 2608 จะต้องก้าวสู่การเป็น net zero ซึ่งหากเรายังทำอย่างปัจจุบัน เราจะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายแรกในปี 2573

 

เขากล่าวว่า ปัจจุบันทั่วโลกมุ่งสู่การเป็น Greenมากขึ้น ซึ่งการผลิตสินค้าจะต้องมีการรับรองในเรื่องgreen

 

ทั้งนี้ มาตรการกีดกันทางการค้าในโลกมีการเพิ่มขึ้นทุกปี ปีละ 16% ในช่วง10ปีที่ผ่านมา ทำให้ปัจจุบันมีมาตรการกีดกันทางการค้ามากถึง 1.8 หมื่นมาตรการ

 

ขณะที่ สินค้าส่งออกของไทย ทีทเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีสัดส่วนเพียง 7%ของสินค้าส่งออกทั้งหมดเท่านั้น ขณะที่ไทยใช้พลังงานสะอาดคิดเป็นสัดส่วน 13-14%ของการใช้พลังงานทั้งหมด ยังต่ำมากเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนอย่างเวียดนามที่มีสัดส่วน19%

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง