รีเซต

ท่านผู้โดยสารโปรดทราบ ที่นี่ 'สถานีกลางบางซื่อ'

ท่านผู้โดยสารโปรดทราบ ที่นี่ 'สถานีกลางบางซื่อ'
TeaC
27 พฤษภาคม 2564 ( 15:36 )
398

 

ท่านผู้โดยสารโปรดทราบ ที่นี่ 'สถานีกลางบางซื่อ'

 

 

 

เชื่อว่าหลายคนตั้งแต่เด็กต้องเคยนั่งรถไฟ หรือหากไม่ได้นั่งก็ต้องเคยได้ยินเสียงปู๊น...ปู๊น หรือภาพหัวรถจักรที่มีตู้ขบวนต่อกันยาวเหยียด ภาพผู้คนนั่งอยู่ในแต่ละตู้

 

 

และภาพของผู้คนที่ยืนรอบ้าง นั่งรอบ้างในสถานนีรถไฟ จุดที่พักรวมผู้คนทุกเพศทุกวัยที่มีจุดมุ่งหมายแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางท่องเที่ยว หรือการใช้บริการนั่งรถไฟไปทำงานข้ามจังหวัด หรือการขนส่งสินค้าทางเศรษฐกิจทั้งภาครัฐและเอกชนต่าง ๆ  เช่น สถานีบางซื่อ ที่ทุกวันนี้กลายเป็นสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน ครบวงจรด้านคมนาคมที่ดีที่สุด มีชื่อใหม่ว่า สถานีกลางบางซื่อ

 

 

ถ้านั่งรถไฟลงใต้หน่อยสถานีที่สวยงาม นักเดินทางนิยมเที่ยวก็จะมี สถานีหัวหิน นั่งรถไฟขึ้นเหนือมาหน่อยก็มีสถานีเชียงใหม่ เป็นต้น เมื่อใกล้ถึงเวลาเดินรถ ขบวนรถไฟแต่ละสายจะค่อย ๆ วิ่งบนรางจอดเทียบชานชาลาให้นักเดินทางหิ้วสัมภาระเตรียมตัวนั่งประจำที่

 

 

ประวัติรถไฟไทย 

 

 

 

จากการค้นประวัติรถไฟไทย พบว่า เริ่มแรกของรถไฟไทยนั้น เริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2459 โดยประเทศอังกฤษได้เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 หรือสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้มอบ 'รถไฟเล็ก' ซึ่งจำลองโดยการย่อส่วนมาจากรถจักรไอน้ำและรถพ่วงโบกี้เป็นเครื่องบรรณาการ

 

 

หลังจากนั้นไม่นานรัชกาลที่ 5 ได้เสด็จประพาสเมืองสิงคโปร์และอินเดีย พระองค์ได้เสด็จฯ ไปทอดพระเนตรการสร้างจนเป็นที่ทรงประทับพระราชหฤทัยของพระองค์เป็นอย่างยิ่ง ทำให้พระองค์ ตระหนักถึงความสำคัญของการคมนาคมในด้านการรถไฟตั้งแต่นั้นมา

 

 

จวบจนเมื่อปี พ.ศ. 2430 พระองค์ได้มีพระราชโองการสำรวจพื้นที่เพื่อทำการสร้างทางรถไฟหลวงขึ้น 3 ปีต่อมาก็ได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศสร้างทางรถไฟสยาม จากกรุงเทพถึงนครราชสีมา โดยถือว่าวันที่ 26 มีนาคม เป็น วันสถาปนากิจการรถไฟ 

 

 

ในปี พ.ศ.2494 รัฐบาลสมัย จอมพล.ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้พิจารณาเห็นสมควรจัดตั้งกิจการรถไฟเป็นเอกเทศจึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 ต่อรัฐสภา และได้มีพระบรมราชโองการให้ตราเป็นพระราชบัญญัติขึ้นไว้ตามที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2494 กรมรถไฟหลวงจึงเปลี่ยนฐานะมาเป็นรัฐวิสาหกิจประเภทสาธารณูปการภายใต้ชื่อว่า "การรถไฟแห่งประเทศไทย " ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2494 เป็นต้นมา

 

 

 

สถานีกลางบางซื่อ คมนาคมที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน

 

 

เมื่อเอ่ยถึงรถไฟ จะไม่เอ่ยถึง สถานีรถไฟ ไม่ได้ เพราะถือได้ว่าเป็นสถานที่ที่รวมคนต่างถิ่น ทุกเพศ ทุกวัย และยังเป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางไปยังจังหวัดต่าง ๆ และจะดีแค่ไหนหากสถานีรถไฟจะรวมการเดินทางทุกภาคไว้ที่เดียว

 

 

สถานีกลางบางซื่อ เป็นโครงการก่อสร้างสถานีรถไฟหลักของประเทศไทย เพื่อทดแทนสถานีรถไฟกรุงเทพ โดยตั้งอยู่ใจกลางศูนย์คมนาคมพหลโยธินในพื้นที่แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร กำหนดเปิดใช้งานในปี พ.ศ. 2564

 

 

โดยก่อสร้างระหว่าง พ.ศ. 2556 ถึง 2564 สถานีกลางบางซื่อ ใช้งบประมาณในย่านสถานี ทั้งสิ้น 34,142 ล้านบาท

 

 

ขณะที่ อาคารสถานีมีความยาว 596.6 เมตร ความกว้าง 244 เมตร ความสูง 43 เมตร พื้นที่ใช้สอยในอาคารรวม 274,192 ตารางเมตร (ไม่รวมพื้นที่สถานีใต้ดิน) ประกอบด้วย 26 ชานชาลา เป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย 24 ชานชาลา และของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย 2 ชานชาลา

 

 

สถานีกลางบางซื่อ มีทั้งหมดสี่ชั้นรวมชั้นใต้ดิน ชั้นใต้ดินเป็นสถานีรถไฟฟ้ามหานคร ชั้นระดับดินเป็นห้องจำหน่วยตั๋วและโถงพักคอยผู้โดยสาร ชั้นที่สองให้บริการรถไฟรางหนึ่งเมตร ชั้นที่สามให้บริการรถไฟความเร็วสูง และยังมีชั้นลอยซึ่งเป็นส่วนของสำนักงาน ร้านค้า และศูนย์อาหาร อีกด้วย

 

 

อีกทั้ง สถานีกลางบางซื่อ เป็นสถานีระบบปิด ระบบรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวดเทียบเท่ากับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเลยทีเดียว

 

 

ตรงที่หากผู้โดยสารคนไหนไม่มีตั๋วโดยสารรถไฟจะไม่สามารถขึ้นไปบนชั้นชานชาลาของสถานีได้ เนื่องจากชั้นชานชาลาเป็นพื้นที่เขตหวงห้าม ผู้ใดฝ่าฝืนจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายขั้นเด็ดขาด

 

 

ก่อนจะเป็น สถานีกลางบางซื่อ ต้องรู้จักสถานีรถไฟ สถานีชุมทางบางซื่อ

 

 

แต่ก่อนที่ สถานีกลางบางซื่อ จะเปิดให้ใช้ ยังคงต้องใช้บริการเดินทางล่องใต้ขึ้นเหนือที่ สถานีชุมทางบางซื่อ ซึ่งจากการค้นหาประวัติพบว่า เป็นสถานีรถไฟชั้น 1 ตั้งอยู่ที่ ถนนเทอดดำริ แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร

 

 

เป็นสถานีชุมทางรถไฟหลักของประเทศไทย ซึ่งแยกทางรถไฟสายใต้ ออกจากทางรถไฟสายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือ รวมถึงยังเป็น 1 ใน 2 สถานีชุมทางรถไฟที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร คือ สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ และสถานีรถไฟชุมทางตลิ่งชัน และเป็น 1 ใน 15 สถานีชุมทางรถไฟในประเทศไทย

 

 

 

โควิดระบาด สถานีกลางบางซื่อ ถูกปรับเป็นจุดรับวัคซีน

 

 

 

และจากเดิมที่ต้องรอการเปิดใช้ สถานีกลางบางซื่อ อย่างเป็นทางการนั้น ในช่วงที่โรคโควิดระบาด กระทรวงคมนาคม ได้เปิดให้สถานีกลางบางซื่อเป็นจุดฉีดวัคซีนโควิด ตั้งแต่วันที่ 24 พ.ค. 2564 ที่ผ่านมา โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ บุลากรที่ทำงานเกี่ยวกระทรวงคมนาคมและผู้ให้บริการด้านขนส่งสาธารณะ ซึ่งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลมีกลุ่มเป้าหมายที่จะฉีดรวม 130,000 คน โดยตั้งเป้าว่า จะฉีดวัคซีนให้ได้วันละ 10,000 คน ซึ่งฉีดรายวัน 5,559 คน/สะสม 17,535 คนแล้ว

 

 

อย่างไรก็ตาม คงต้องติดตามกันต่อว่า กระทรวงคมนาคมจะมีการเปิดใช้ สถานนีกลางบางซื่อ เพื่อเป็นจุดฉีดวัคซีนให้กลุ่มประชาชน หรือกลุ่มอื่นหรือไม่ แล้วในอนาคตหากสถานการณ์ดีขึ้น ทุกคนอาจจะได้ใช้สถานีกลางบางซื่อ 

 

 

 

 

 

ข้อมูล : วิกิพีเดีย

 

 

ข่าวเกี่ยวข้อง :

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง