รีเซต

โอมิครอนสายพันธุ์ย่อยที่กำลังระบาดอาจ “ไม่รุนแรง” เท่าชนิดดั้งเดิน

โอมิครอนสายพันธุ์ย่อยที่กำลังระบาดอาจ “ไม่รุนแรง” เท่าชนิดดั้งเดิน
TNN ช่อง16
25 พฤศจิกายน 2565 ( 17:04 )
64
โอมิครอนสายพันธุ์ย่อยที่กำลังระบาดอาจ “ไม่รุนแรง” เท่าชนิดดั้งเดิน

วันนี้( 25 พ.ย. 65)ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เปิดเผยว่า  โอมิครอนสายพันธุ์ย่อยที่กำลังระบาดระลอกใหม่ไปทั่วโลกอาจไม่รุนแรงเหมือนโอมิครอนดั้งเดิมที่ระบาดเมื่อต้นปี ในกรณีของโอมครอน BA.2.75 พบทั้งวัคซีนเชื้อตาย วัคซีน mRNA รวมทั้งยาฉีดเสริมภูมิคุ้มกันยังใช้ได้ผลดี

เมื่อต้นปี 2565 มีการระบาดของโอมิครอนสายพันธุ์ดั้งเดิม (BA.1, BA.2) ส่งผลให้ผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก (มียอดผู้เสียชีวิตเป็นอันดับสองรองจากการเสียชีวิตจากการระบาดของสายพันธุ์เดลตาเมื่อปี 2564) จากนั้นจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตก็ลดลงเข้าสู่ยุคโอมิครอน BA.4, และ BA.5 

ตั้งแต่ตุลาคม 2565 เป็นต้นมาเริ่มเห็นปรากฏการณ์ใหม่ของการระบาดของ “โอมิครอนสายพันธุ์ย่อยหลากหลาย (Omicron variant 'soup' or 'swarm)” ระบาดขึ้นมาพร้อมกัน โดยโปรตีนหนามบางส่วนคล้ายหรือเหมือนกัน เช่นสายพันธุ์ย่อย BA.2.75, XBB, XBB.1, BQ.1, BQ.1.1 ทำให้เกิดความกังวลไปทั่วโลกว่าเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาวปลายปีนี้(2565)ไปจนถึงต้นปีหน้า 2566 อาจเกิดการระบาดใหญ่มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากซ้ำรอยอดีตอีกหรือไม่ (ภาพ2)

ดร. แอนโธนี เฟาซี (Anthony  Fauci)  ผู้อำนวยการสถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดเชื้อแห่งชาติ (NIAID) และหัวหน้าที่ปรึกษาทางการแพทย์ของประธานาธิบดีโจ ไบเดน กล่าวในการบรรยายสรุปของทำเนียบขาวเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา “คาดว่าจะไม่พบการระบาดรุนแรงของโควิด-19 ซ้ำรอยเหมือนปีที่แล้ว เนื่องจากข้อมูลการระบาดโอมิครอนในประเทศสิงคโปร์ (XBB) อินเดีย (XBB)  และอังกฤษ (BQ.1) แม้จะมีการระบาดของสายพันธุ์ย่อยเหล่านี้ในประเทศแต่ยังไม่ปรากฏจำนวนผู้เจ็บป่วยอาการหนัก ต้องเข้ารักษาตัวใน รพ. และเสียชีวิตอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับการระบาดของโอมิครอนเมื่อต้นปี 2565 ที่ผ่านมา เหตุผลสำคัญคือมีการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น มีการใช้ยาต้านไวรัส มีการใช้ยาฉีดเสริมภูมิคุ้มกันให้กลุ่มเปราะบางอย่างครบวงจร (ภาพ1)

สำหรับโอมิครอนสายพันธุ์ย่อยในประเทศไทย “BA.2.75” ที่อาจมาแทนที่สายพันธุ์หลักคือ BA.5 ที่ลดจำนวนลงอย่างต่อเนื่อง จากผลทดสอบทางห้องปฏิบัติพบว่าทั้งวัคซีนเชื้อตาย (ภาพ3) หรือการวัคซีน mRNA  2 สายพันธุ์ (Bivalent Vaccine)เป็นเข็มกระตุ้น (ภาพ4) ใช้ได้ผลดี โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีการติดเชื้อตามธรรมชาติหลังการฉีดวัคซีน

นอกจากนี้ประเทศไทยมีการจัดเตรียมแอนติบอดีสำเร็จรูป แบบ Long Acting Antibodies (LAAB) ที่มีชื่อว่า "อีวูชีลด์" (Evusheld) (ภาพ5)  เพื่อป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ในกลุ่มประชาชนเปราะบาง โดยเฉพาะผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ไม่ดี เช่น ผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่องจากการติดเชื้อไวรัส ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ปลูกถ่ายอวัยวะ ปลูกถ่ายไขกระดูก หรือผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงเกิดอาการรุนแรงและเสียชีวิตจากโควิด-19 ได้โดยยา"อีวูชีลด์"สามารถใช้ป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์ BA.5*, BA.2.75* และสายพันธุ์ลูกผสม XBC (ยังไม่พบในประเทศไทย) ได้ดี ส่วนโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BQ.1,BQ.1.1, XBB, และ XBB.1 จากการทดสอบในห้องปฏิบัติการพบว่าดื้อต่อแอนติบอดีสำเร็จรูป "อีวูชีลด์" อาจต้องเปลี่ยนไปใช้แอนติบอดีค็อกเทลที่มีศักยภาพสามารถยับยั้งไวรัสโคโรนา 2019 หรือ SARS-CoV-2 ได้ทุกสายพันธุ์ (Broadly Neutralizing Monoclonal Antibodies) อาทิ แอนติบอดีค็อกเทล SA55 และ SA58 ซึ่งผลจากห้องปฏิบัติการพบว่าสามารถยับยั้ง ไวรัสโคโรนา 2019 ได้ทุกสายพันธุ์ทั้งในอดีตและปัจจุบัน

ข้อมูลจาก : ศูนย์จีโนมทางการแพทย์

ภาพจาก  : AFP

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง