รีเซต

โควิด:6วันที่หายไป เจาะลึกปมลับไวรัสระบาด ชี้เคสในไทยคือจุดเปลี่ยนจีน

โควิด:6วันที่หายไป เจาะลึกปมลับไวรัสระบาด ชี้เคสในไทยคือจุดเปลี่ยนจีน
ข่าวสด
16 เมษายน 2563 ( 21:09 )
1.4K
9
โควิด:6วันที่หายไป เจาะลึกปมลับไวรัสระบาด ชี้เคสในไทยคือจุดเปลี่ยนจีน

โควิด:6วันที่หายไป เจาะลึกปมลับไวรัสระบาด ชี้เคสในไทยคือจุดเปลี่ยนจีน

โควิด:6วันที่หายไป - สำนักข่าว เอพี รายงาน วิเคราะห์เบื้องหลังการรับมือโรคระบาด โควิด-19 ที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ก่อนจะแพร่ลามไปทั่วโลก ด้วยการเจาะประเด็น 6 วันที่เจ้าหน้าที่รัฐมัวใช้เวลาตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรดี หลังรู้ว่ากำลังเผชิญการระบาดใหญ่ของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่

6 วันดังกล่าวกลายเป็นตัวพลิกชะตาให้จีนเผชิญวิกฤต เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวนั้นผู้คนนับล้านเริ่มเดินทางขนานใหญ่ในช่วงใกล้เฉลิมฉลองตรุษจีน

นครอู่ฮั่น Xinhua

หากย้อนดูลำดับเวลาของเหตุการณ์ที่เอพีตรวจสอบเอกสารภายใน ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง เตือนประชาชนถึงโรคภัยนี้เมื่อวันที่ 20 ม.ค. เป็นวันที่เจ็ดหลังเจ้าหน้าที่ระดับสูงรับทราบสถานการณ์ที่เผชิญอยู่ จังหวะนั้นมีผู้ติดเชื้อแล้วมากกว่า 3,000 คน แต่ 6 วันก่อนหน้านั้นกลับเป็นสัปดาห์ที่เงียบกริบ

ช่วงเวลาระหว่างวันที่ 14-20 ม.ค. ที่เงียบกริบนั้น ไม่เป็นเพียงความผิดพลาดแรกเริ่มของเจ้าหน้าที่ทุกระดับชั้นที่เผชิญกับเชื้อที่ระบาดอยู่ ยังเป็นความเชื่องช้าที่ยาวนานที่สุด เหมือนกับรัฐบาลอื่นๆ ทั่วโลกที่มัวอ้อยอิ่งอยู่เป็นสัปดาห์ หรือแม้กระทั่งเป็นเดือน กว่าจะแจ้งเตือนประชาชนถึงภัยและมาตรการที่ต้องรับมือไวรัสตัวนี้

Medical staff and security personnel stop patients' family members from being too close to the Jinyintan hospital, where the patients with pneumonia caused by the new strain of coronavirus are being treated, in Wuhan, Hubei province, China January 20, 2020. REUTERS/

การดีเลย์ดังกล่าวของประเทศแรกที่เผชิญเชื้อโรค ยังไปชนกับจังหวะวิกฤตที่เชื้อเริ่มระบาดพอดี ทำให้จีนพยายามจะเดินคร่อมเส้นทาง ระหว่างการเตือนประชาชนถึงภัยเชื้อโรค กับการหลีกเลี่ยงภาวะตื่นตระหนก

อาการยักแย่ยักยันเช่นนั้นเองที่เกิดสภาพที่ทำให้โรคระบาดหนัก จนปัจจุบันทั่วโลกมียอดสะสมผู้ติดเชื้อเกิน 2 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตแล้ว 135,000 ราย

Hospital staff wash the emergency entrance of Wuhan Medical Treatment Center, where some infected with a new virus are being treated, in Wuhan, China, Wednesday, Jan. 22, 2020. . (AP Photo/Dake Kang)

"นี่มันเหลือคณานับ ถ้าคุณทำอะไรซะตั้งแต่ 6 วันก่อนหน้านั้น มันจะมีผู้ป่วยน้อยลงกว่ามาก และอุปกรณ์ทางการแพทย์ก็จะเพียงพอ เราคงหลีกเลี่ยงระบบสาธารณสุขล่มในเมืองอู่ฮั่นไปเแล้ว" จาง จั่วเฟิง นักระบาดวิทยา ประจำมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ที่ลอสแองเจลิส สหรัฐอเมริกา กล่าว

แม้ว่าจะมีผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ มองว่ารัฐบาลจีนอาจต้องการรอที่จะประกาศเตือนประชาชนเพื่อระงับภาวะแตกตื่นตกใจจนขาดสติ แต่เอพีชี้ว่า ช่วง 6 วันที่บรรดาผู้นำจีนทำให้ล่าช้านั้น เป็นช่วงสำคัญของเวลาเกือบสองสัปดาห์ที่สำนักงานควบคุมโรคติดต่อไม่ได้ลงทะเบียนผู้ป่วยจากเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเลย ทั้งที่ช่วงวันที่ 5-17 ม.ค. มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นตามโรงพยาบาลแห่งต่างๆ จำนวนมาก ไม่เฉพาะในอู่ฮั่น ยังรวมถึงที่อื่นๆ ทั่วปะเทศ

ภายในโรงพยาบาลชั่วคราวที่ปรับจากโรงยิม ที่เมืองอู่ฮั่น เมื่อ 21 ก.พ. (Chinatopix via AP)

กรณีนี้ไม่แน่ชัดว่า เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นไม่ได้รายงานไปยังหน่วยงานราชการส่วนกลางหรืออย่างไร และไม่ชัดเจนเช่นเดียวกันว่า เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นอู่ฮั่นตอนนั้นรู้อะไรบ้างหรือไม่ เพราะเพิ่งจะมีการเปิดข้อมูลย้อนหลังแบบมีข้อจำกัดไปเมื่อสัปดาห์ก่อน หลังจากยุติการปิดเมือง

แต่สิ่งที่ชัดเจนสำหรับผู้เชี่ยวชาญก็คือ จีนมีระบบการควบคุมข้อมูลข่าวสาร และระบบราชการอันเป็นตัวสกัดการส่งข่าวร้าย ทั้งที่ข่าวนั้นเป็นการเตือนภัยถึงโรคระบาด ดังที่ปรากฏกรณีที่ทางการออกข่าวทางโทรทัศน์ เมื่อวันที่ 2 ม.ค. ว่าทางการได้สั่งลงโทษแพทย์ 8 คน ฐานปล่อยข่าวลือที่สร้างความตื่นตระหนกให้สังคม

การลงโทษนี้สร้างความหวาดหวั่นให้แพทย์คนอื่นๆ ไปทั่วเมือง

หมอหลี่ เหวินเหลียง เป็น 1 ใน 8 คนที่ถูกจับกุมไปปรับทัศนคติ หลังส่งข่าวบอกเพื่อนหมอว่า เห็นคนไข้หลายคนมีอาการประหลาดคล้ายโรคซาร์ส ก่อนหมอหลี่เองติดเชื้อและเสียชีวิตในที่สุด

"หมอที่อู่ฮั่นกลัวกันทั้งนั้นแหละครับ มันเป็นการข่มขู่คุกคามผู้ประกอบวิชาชีพนี้ทั้งหมด" หยาง ต้าหลี่ อาจารย์วิชาการเมืองจีน มหาวิทยาลัยชิคาโก กล่าว

จุดเปลี่ยน-พบผู้ติดเชื้อนอกประเทศที่เมืองไทย

จากการเขียนเสือให้วัวกลัวครั้งนั้นจึงไม่มีข่าวภายในประเทศอีก กระทั่งมาพบผู้ป่วยคนแรกนอกประเทศจีนที่เมืองไทย เมื่อวันที่ 13 ม.ค. เป็นจุดเปลี่ยนที่กระตุ้นให้กลุ่มผู้นำจีนเริ่มใคร่ครวญถึงความเป็นไปได้ที่จะเผชิญโรคระบาดแล้ว

นับจากนั้น เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจีนเริ่มวางแผนภายในประเทศอย่างเป็นระบบ ให้ค้นหาตัวผู้ติดเชื้อ จากนั้นแยกกัก และรักษาทุกคนที่ป่วยด้วยโรคใหม่นี้ทั่วประเทศ แต่ทั้งหมดที่ทำนั้นยังไม่ได้แจ้งต่อสาธารณชนให้รับทราบ

เจ้าหน้าที่แพทย์ส่องซีทีสแกน ที่โรงพยาบาลสนาม ฮัวเสิ่นชาน เมืองอู่ฮั่น เมื่อ 17 มี.ค. (Wang Yuguo/Xinhua via AP)

รัฐบาลจีนเพียรปฏิเสธข่าวเกี่ยวกับการปิดกั้นข้อมูลในระยะแรกที่โรคระบาดเกิดขึ้น พูดแต่ว่ารายงานทันทีต่อองค์การอนามัยโลก

จ้าว ลี่เจียน โฆษกกระทรวงต่างประเทศ กล่าวย้ำว่า "บรรดาข้อกล่าวหาเรื่องปกปิดข้อมูล ขาดความโปร่งใสในประเทศจีน ล้วนไม่มีหลักฐาน"

_________________

แต่เอกสารการตรวจสอบภายในที่เอพีได้รับมาระบุว่า นายหม่า เสี่ยวเว่ย ประธานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติจีน ประเมินสถานการณ์ ณ วันที่ 14 ม.ค. ในการประชุมเทเลคอนเฟอเรนซ์กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมณฑล เพื่อแจ้งคำสั่งเกี่ยวกับไวรัสโคโรนาจากประธานาธิบดี สีจิ้นผิง จากนายกฯ หลี่ เค่อเฉียง และจากรองนายกฯ ซุน ชุนหลาน แต่ไม่ได้เปิดเผยว่า คำสั่งนั้นมีข้อความว่าอะไร

ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง

"สถานการณ์การระบาดของเชื้อยังร้ายแรงและซับซ้อน เป็นปัญหาร้ายแรงที่สุดนับจากโรคซาร์สระบาดเมื่อปี 2546 และดูเหมือนจะยกระดับเป็นเหตุการณ์ใหญ่ทางสาธารณสุขด้วย" นายหม่า กล่าวต่อที่ประชุม

แถลงการณ์ที่เป็นกระดาษส่งแฟกซ์ การประชุมของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ หน่วยงานการแพทย์ชั้นนำของประเทศ ระบุด้วยว่า ต้องจัดการประชุมทางไกลขึ้น เนื่องจากพบผู้ป่วยในประเทศไทย และมีความเป็นไปได้ที่ไวรัสเริ่มระบาดช่วงการเดินทางต้อนรับตรุษจีน

เนื้อความอีกส่วนระบุด้วยว่า จีนตีพิมพ์เผยแพร่ข้อมูลการระบาดของเชื้ออย่างเปิดเผย โปร่งใส ด้วยความรับผิดชอบ และตรงตามเวลา ตามคำสั่งที่เน้นย้ำโดยประธานาธิบดีสี จิ้นผิง

คนสลบสิ้นใจริมถนนมืองอู่ฮั่น / REUTERS

เนื้อหาตรงหัวข้อ "เข้าใจสถานการณ์" ระบุว่า มีกรณีที่พบความเป็นไปได้ว่า เชื้อได้ระบาดจากคนสู่คนแล้ว กรณีที่พบผู้ติดเชื้อในประเทศไทย เป็นสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน เพราะเป็นไปได้ว่า เชื้อไวรัสได้ลามออกนอกประเทศไปแล้ว

หนังสือพิมพ์ข่าวสด ฉบับ 14 ม.ค.2563 พาดหัวข่าวหน้า 1 เมื่อสธ.แถลงพบผู้ป่วยโควิด-19 รายแรกในไทย วันที่ 13 ม.ค. ตอนนั้นยังเรียกว่าไข้อู่ฮั่น

"ช่วงเวลาตรุษจีนที่จะมาถึงนี้ จะมีประชาชนมากมายเดินทาง และเกิดความเสี่ยงที่จะแพร่และระบาดได้สูง ทุกชุมชนต้องเตรียมตัวรับมือกับการระบาดนี้" บันทึกการประชุมระบุ

บันทึกช่วยจำดังกล่าว เขียนด้วยว่า นายหม่าสั่งให้เจ้าหน้าที่ผนึกกำลังล้อมรอบผู้นำสี และต้องเข้าใจตรงกันว่า ความสำคัญทางการเมือง และเสถียรภาพทางสังคม เป็นภารกิจหลักประการแรก ระหว่างการประชุมใหญ่ที่สุดของปีในเดือนมีนาคม

เอกสารนี้ไม่ได้ระบุว่า ทำไมกลุ่มผู้นำจีนถึงรอเวลาอยู่ 6 วันก่อนจะแจ้งข้อวิตกเรื่องโรคระบาดต่อสาธารณชน แต่ถ้าพิจารณาถึงข้อความนี้ อาจทำให้เข้าใจเหตุผลหนึ่ง

"ความสำคัญในเสถียรภาพทางสังคม ไม่ให้มากระทบก่อการประชุมสมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์ เป็นเรื่องใหญ่มาก ถ้าให้ผมเดา เหล่าผู้นำจีนคงต้องการยื้อเวลาออกไปอีกสักหน่อย เพื่อดูว่าจะเกิดอะไรขึ้น" ดาเนียล แมตทิงลี นักวิชาการการเมืองจีน ประจำมหาวิทยาลัยเยล ให้ความเห็น

จะเห็นได้ว่า จังหวะที่อู่ฮั่นพบผู้ติดเชื้อแล้ว 41 คน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขของจีนพยายามบอกว่าไม่ได้มีภัยร้ายแรงมากนัก

A sketch of Chinese President Xi Jinping with a face mask is seen on the wall of a closed ward inside the Leishenshan Hospital, in Wuhan, Hubei province, China April 11, 2020. REUTERS/Aly Song

"ความเข้าใจล่าสุดของเราถึงความเสี่ยงที่จะมีการติดต่อระหว่างคนสู่คนยังต่ำอยู่" หลี่ ฉุน ผู้อำนวยการศูนย์สถานการณ์ฉุกเฉิน สำนักงานควบคุมโรค กล่าวเมื่อวันที่ 15 ม.ค. วันนั้นเป็นวันเดียวกับที่หลี่ได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้าทีมเตรียมการรับมือฉุกเฉิน

จากนั้น วันที่ 20 ม.ค. ประธานาธิบดีสีจึงเพิ่งแถลงต่อสาธารณชนเกี่ยวกับไวรัสโคโรนา ว่าเป็นเรื่องที่ต้องรับมืออย่างจริงจังในทุกมาตรการ พร้อมกับที่นายจง หนานชาน นักระบาดวิทยาคนสำคัญของจีน ประกาศเป็นครั้งแรกทางโทรทัศน์ว่า ไวรัสชนิดนี้ติดต่อระหว่างคนสู่คนได้

การทิ้งเวลาให้ยื้อมาถึงวันที่ 20 ม.ค. นั่นเองทำให้ จาง จั่วเฟิง นักระบาดวิทยา ในนครลอสแองเจลิส สหรัฐ มองว่า ถ้าเตือนประชาชนตั้งแต่แรก ให้เว้นระยะห่างทางสังคม ให้ใส่หน้ากากอนามัย ให้ตรึงเข้มการเดินทาง จำนวนผู้ป่วยน่าจะลดลงถึง 2 ใน 3 และโอกาสจะช่วยชีวิตคนป่วยก็จะมีมากขึ้น

AP PHOTO

_________________

สถานการณ์ที่เกิดในอู่ฮั่นขณะนั้น คือเชื้อลามระบาดในทันที จาก 4 คนวันที่ 17 ม.ค. เพิ่มเป็น 17 คนในวันถัดมา และจากนั้นอีกวันก็เพิ่มเป็น 136 คน จากนั้นก็พบผู้ป่วยผุดตามพื้นที่ต่างๆ หลายสิบแห่ง

บางกรณีเจ้าหน้าที่ยังไม่ได้ตรวจหาเชื้อในทันที เช่น กรณีที่มณฑลเจ้อเจียง มีผู้ป่วยชายเข้าโรงพยาบาลตั้งแต่วันที่ 4 ม.ค. แต่กว่าจะแยกบริเวณ ก็พาไปถึงวันที่ 17 ม.ค. และเพิ่งยืนยันการติดเชื้อเอาวันที่ 21 ม.ค. หรือกรณีเมืองเซินเจิ้น พบผู้ป่วยแซ่หยวน วันที่ 12 ม.ค. แต่มายืนยันว่าติดเชื้อ วันที่ 19 ม.ค.

น่าสังเกตว่า ที่โรงพยาบาลปักกิ่ง ยูเนียน เมดิคัล คอลเลจ สถาบันการแพทย์ชั้นนำของประเทศ เรียกประชุมฉุกเฉินวันที่ 18 ม.ค. เพื่อเตรียมการรับมือตั้งแต่ก่อนที่ประธานาธิบดีสีจะเปิดแถลง

ผู้เชี่ยวชาญการแพทย์คนหนึ่งเผยกับเอพีว่า วันที่ 19 ม.ค. เธอไปดูโรงพยาบาลที่สร้างขึ้นสมัยที่โรคซาร์สระบาด เพื่อให้เจ้าหน้าที่การแพทย์เตรียมพื้นที่ทั้งอาคารสำหรับเตียงคนไข้หลายร้อยเตียงเพื่อรักษาคนไข้ป่วยปอดอักเสบ หรือปอดบวม

"ทุกคนในประเทศทที่อยู่ในพื้นที่เชื้อระบาด รู้แล้วว่าเกิดอะไรบางอย่างขึ้น และพวกเขาก็เตรียมรับมือไว้ล่วงหน้าแล้ว" ผู้เชี่ยวชาญที่ไม่ขอเอ่ยนาม กล่าว

++++

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :

โดนคุมแล้วงานวิจัยต้นตอโควิด จีนต้องตรวจก่อนเผยแพร่สู่โลก

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง