รีเซต

ด่วน! "อธิบดีอุตุฯ" สั่งตั้งวอร์รูมรับมือ พายุ “โนอึล” 24 ชม. เผยส่อรุนแรงเป็นไต้ฝุ่น

ด่วน! "อธิบดีอุตุฯ" สั่งตั้งวอร์รูมรับมือ พายุ “โนอึล” 24 ชม. เผยส่อรุนแรงเป็นไต้ฝุ่น
มติชน
16 กันยายน 2563 ( 15:09 )
157

“อธิบดีอุตุฯ” สั่งตั้งวอร์รูมรับมือ พายุ “โนอึล” 24 ชม. เผยส่อรุนแรงเป็นไต้ฝุ่น

เมื่อวันที่ 16 ก.ย. 63 นาวาอากาศเอกสมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา เปิดเผยว่า จากกรณีที่ พายุ “ โนอึล” ซึ่งอยู่บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 13.1 องศาเหนือ ลองจิจูด 117.2 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลาง 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุกำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนทางเหนือเล็กน้อยด้วยความเร็วประมาณ 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็น “พายุระดับ 5” หรือ “ไต้ฝุ่น” นั้น เพื่อความไม่ประมาททางกรมอุตุฯ ได้สั่งตั้งวอร์รูมรับมือ 24 ชั่วโมง โดยเฉพาะพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จะต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป อย่างไรก็ดีทิศทางขึ้น

 

 

 
ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา
“พายุระดับ 3 (โซนร้อน) “โนอึล” (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 18 – 20 กันยายน 2563)”

ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 16 กันยายน 2563

     เมื่อเวลา 10.00 น. วันนี้ (16 กันยายน 2563) เป็นพายุระดับ 3 (โซนร้อน) “โนอึล” บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 13.1 องศาเหนือ ลองจิจูด 117.2 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลาง 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุกำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนทางเหนือเล็กน้อยด้วยความเร็วประมาณ 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุระดับ 5 (ไต้ฝุ่น) คาดว่า จะเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลาง และเคลื่อนเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงวันที่ 18-20 กันยายน 2563 ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากกับมีลมแรงบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ โดยเริ่มมีผลกระทบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน หลังจากนั้นภาคเหนือและภาคอื่นๆจะมีผลกระทบในระยะต่อไป ขอให้ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณดังกล่าว ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ และระวังอันตรายจากลมแรง โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่และสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรงไว้ด้วย        คาดว่าพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบ มีดังนี้

 

วันที่ 18 กันยายน 2563 บริเวณที่มีฝนตกหนักถึงหนักมาก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร สกลนคร กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร และร้อยเอ็ด

ภาคตะวันออก: จังหวัดปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

วันที่ 19 กันยายน 2563 บริเวณที่มีฝนตกหนักถึงหนักมาก

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ พะเยา น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร สุโขทัย และตาก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร สกลนคร กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร และร้อยเอ็ด

ภาคกลาง: จังหวัดกาญจนบุรี อุทัยธานี ชัยนาท นครสวรรค์ ลพบุรี และสระบุรี

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

วันที่ 20 กันยายน 2563 บริเวณที่มีฝนตกหนัก

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก สุโขทัย และกำแพงเพชร

ภาคกลาง: จังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี อุทัยธานี สุพรรณบุรี และชัยนาท

ภาคตะวันออก: จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่

 

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร และทะเลอันดามัน

มีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็ก

ควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 17-20 กันยายน 2563

 

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์

กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือสายด่วนพยากรณ์อากาศ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

 

ประกาศ ณ วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2563 เวลา 11.00 น.

กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไป ในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2563 เวลา 17.00 น.

 

(ลงชื่อ) นาวาอากาศเอก สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์

(สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์)

อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา

 

ประกาศที่ผ่านมา
ลำดับเตือนภัยฉบับที่ลงวันที่
1พายุระดับ 3 (โซนร้อน) “โนอึล” (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 18 – 20 กันยายน 2563)216 กันยายน 2563
2พายุระดับ 2 (ดีเปรสชัน) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 18 – 20 กันยายน 2563)115 กันยายน 2563
3ฝนตกหนักบริเวณประเทศไทยตอนบน มีผลกระทบจนถึงวันที่ 23 สิงหาคม 2563923 สิงหาคม 2563
4ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทยตอนบน มีผลกระทบจนถึงวันที่ 23 สิงหาคม 2563823 สิงหาคม 2563
5ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทยตอนบน มีผลกระทบจนถึงวันที่ 23 สิงหาคม 2563723 สิงหาคม 2563
6ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทยตอนบน มีผลกระทบจนถึงวันที่ 23 สิงหาคม 2563623 สิงหาคม 2563
7ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทยตอนบน มีผลกระทบจนถึงวันที่ 23 สิงหาคม 2563523 สิงหาคม 2563
8ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 23 สิงหาคม 2563)422 สิงหาคม 2563
9ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทยตอนบน มีผลกระทบจนถึงวันที่ 23 สิงหาคม 2563322 สิงหาคม 2563
10ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทยตอนบน มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 21-23 สิงหาคม 2563221 สิงหาคม 2563
11ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทยตอนบน มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 21-23 สิงหาคม 2563121 สิงหาคม 2563
12พายุระดับ 2 (ดีเปรสชัน) “ฮีโกส” 920 สิงหาคม 2563
13พายุระดับ 3 (โซนร้อน) “ฮีโกส”819 สิงหาคม 2563
14พายุระดับ 3 (โซนร้อน) “ฮีโกส” 719 สิงหาคม 2563
15พายุระดับ 3 (โซนร้อน) “ฮีโกส” บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน619 สิงหาคม 2563
16พายุระดับ 4 (โซนร้อนกำลังแรง) “ฮีโกส” บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน519 สิงหาคม 2563
17พายุระดับ 3 (โซนร้อน) “ฮีโกส” บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน418 สิงหาคม 2563
18พายุระดับ 3 (โซนร้อน) “ฮีโกส” บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน318 สิงหาคม 2563
19พายุระดับ 3 (โซนร้อน) “ฮีโกส” บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน 218 สิงหาคม 2563
20พายุระดับ 2 (ดีเปรสชัน) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน118 สิงหาคม 2563

บทความน่าสนใจอื่นๆ

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง