รีเซต

ภูมิคุ้มกันหมู่ ในไทยไกลแค่ไหนคือใกล้!

ภูมิคุ้มกันหมู่ ในไทยไกลแค่ไหนคือใกล้!
TeaC
7 มิถุนายน 2564 ( 15:04 )
159
ภูมิคุ้มกันหมู่ ในไทยไกลแค่ไหนคือใกล้!

 

ภูมิคุ้มกันหมู่ (Herd Immunity) คืออะไร ? ข่าววันนี้ TrueID รวบรวมข้อมูลมาให้ศึกษากันถึงการเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ที่มีความสำคัญอย่างมาก และหลายคนอาจคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัวไม่ต้องรู้ ไม่ต้องศึกษาก็ได้ แต่แท้จริงแล้วเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เกี่ยวเนื่องกับตัวเราเองล้วน  ๆ ไปจนถึงครอบครัวของเราเอง คนรอบข้าง ขยายวงกว้างสู่คนในสังคมร่วมด้วย ได้ยินแบบนี้แล้ว เริ่มสนใจกันแล้วใช่ไหม มาหาคำตอบไปพร้อมกันว่าการเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ในช่วงที่เชื้อร้ายอย่างโควิด-19 ระบาดหนักไปทั่วโลกจนต้องเร่งผลิตวัควีนต่าง ๆ เช่น วัคซีนแอสตร้าเซเนก้า ซิโนแวค ซิโนฟาร์ม ไฟเซอร์-ไบออนเทค โมเดอร์นา และจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ใช้ฉีดวัคซีนเหล่านี้ให้ประชากรภายในประเทศตัวเองสร้างภูมิคุ้มกันต้านโควิด จะดี หรือมีข้อเสีย อย่างไร 

 

ภูมิคุ้มกันหมู่ (Herd Immunity) คืออะไร ? คำนี้มีความหมายอย่างไร ? ประเด็นแรกที่เราทุกคนต้องทำความเข้าใจกันก่อน "ภูมิคุ้มกันหมู่" หมายความว่า ประชาชนในพื้นที่นั้น ๆ มีภูมิคุ้มกันต่อโรค เช่น โควิด คอตีบ ไอกรน ไข้หวัดใหญ่ เกินกว่า 60-70% ของประชากรขึ้นไป

 

คำถามต่อมาคือการเกิดภูมิคุัมกันไปเพื่ออะไร ?  เพื่อวันหนึ่งโควิดจะกลายมาเป็นโรคภูมิภาคเหมือนไข้หวัดใหญ่ แต่สำคัญถ้าเกิดภูมิคุ้มกันหมู่แล้ว ความรุนแรง อัตราป่วยหนัก ตาย จะลดลงเมื่อนั้นเราจะควบคุมมันได้ แต่ก็มีในอีกประเด็นที่ยังเป็นที่ถกเถียงแลtน่าสนใจไม่แพ้กัน นั่นคือ การเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ เราต่างรู้แล้วว่าจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อประชากรมีภูมคุ้มกันจำนวน "มากพอ" จนช่วยป้องกันการกระจ่ายเชื้อโรคโควิดระหว่างคนสู่คนได้

 

 

แล้วจำนวนเท่าไหร่จึง "มากพอ" เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ต้านโควิด ? 

 

เนื่องจากก่อนหน้านี้มีการเผยแพร่ผลการศึกษาจากประเทศต่าง ๆ เกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่มีอยู่ในปัจจุบันเน้นไปที่การป้องกันการเสียชีวิตและยับยั้งความรุนแรงจากโรคเป็นหลัก โดยข้อมูลข่าวจากเว็บไซต์ไทยรัฐได้เผยแพร่บทความเกี่ยวกับ ภูมิคุ้มกันหมู่โควิด-19 หลังฉีดวัคซีน มีจริงไหม? แล้ววัคซีนที่มีอยู่ ป้องกันการแพร่เชื้อได้แค่ไหน? ว่าสาธารณสุขอังกฤษ (Public Health England หรือ PHE) เผยแพร่รายงานผลการศึกษาการแพร่กระจายของโควิด-19 ผ่านการเก็บข้อมูลจากครอบครัวกลุ่มตัวอย่างจำนวน 365,000 ครัวเรือน ที่มีทั้งผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้ว และยังไม่ได้ฉีด เมื่อวันที่ 28 เมษายนที่ผ่านมา พบว่า วัคซีนไฟเซอร์และแอสตร้าเซเนก้าสามารถลดการแพร่กระจายเชื้อโควิด-19 ภายในบ้านได้ พื้นที่ใกล้ตัวผุ้คนมากที่สุดที่มักเกิดการติดเชื้อได้ราว 40-60% นั่นก็หมายความว่า ผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้วเป็นเวลา 14 วัน แต่เกิดติดเชื้อขึ้นมา จะมีโอกาสแพร่เชื้อต่อลดลงถึงครึ่งหนึ่ง เมื่อเทียบกับผู้ติดเชื้อที่ไม่เคยได้ฉีดวัคซีน แต่ข้อสรุปนี้ยังไม่ผ่านการตรวจสอบทางวิชาการ (Peer-review) เพียงเป็นข้อสันนิษฐานจากชุดข้อมูลเท่านั้น

 

และข้อมูลที่น่าสนใจของการเกิดภูมิคุ้มกันเมื่อ วิลเลียม เพทรี ศาสตราจารย์โรคติดเชื้อ มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะทำงานสร้างภูมิคุ้มกันหมู่โรคโปลิโอขององค์การอนามัยโลก กล่าวว่า มีผู้เชี่ยวชาญคำนวณว่า เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในระดับประเทศ ประชากร 60-90% ของสหรัฐอเมริกา ต้องมีภูมิคุ้มกัน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับประสิทธิผลของวัคซีนนั้น ๆ ด้วยว่า สามารถป้องกันการติดเชื้อและการแพร่เชื้อได้ดีแค่ไหน ผ่านการตรวจสอบ 'ค่าเฉลี่ยที่ผู้ป่วยหนึ่งคนจะสามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่น' (Basic Reproductive Rate) หรือที่เรียกกันว่า R0 หรือ R Zero (เลขตัวท้ายคือจำนวนของ 'ผู้รับเชื้อ' ที่มาจากผู้แพร่เชื้อหนึ่งคน) รวมไปถึงการประเมินผลจากพื้นที่การระบาด, การกลายพันธุ์ของเชื้อ และมาตรการทางสาธารณสุขต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย

 

จากข้อมูลของสเตฟาน ฟลาสช์ นักระบาดวิทยาแห่ง London School of Hygiene & Tropical Medicine ได้ข้อสรุปว่า เป็นไปไม่ได้เลยที่จะเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ผ่านการฉีดวัคซีนเพียงอย่างเดียว เพราะเมื่อวัคซีนที่มีอยู่ยังไม่สามารถหยุดการแพร่กระจายเชื้อได้ เราจึงต้องคิดหาวิธีว่าจะอยู่ร่วมกับไวรัสชนิดนี้อย่างไร

 

 

โลกต้องใช้เวลาอีก 9 เดือน ฉีดวัคซีนให้ได้ 75% เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ต้านโควิด-19 จริงหรือ?

 

อีกหนึ่งข้อมูลที่น่าสนใจ เมื่อสำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานว่า การเกิดภูมิคุ้มกันหมู่นั้น ยังคงต้องใช้เวลาอีก 9 เดือน สำหรับฉีดวัคซีนในอัตราปัจจุบันให้ประชากรโลกร้อยละ 75 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ สอดรับกับข้อมูลที่ นพ.พงศกร จินดาวัฒนะ ผอ.อาวุโสด้านการสื่อสาร โรงพยาบาลกรุงเทพ อธิบายถึงคำว่า "ภูมิคุ้มกันหมู่"

 

โดยยกตัวอย่างให้เห็นภาพได้อย่างน่าสนใจ ซึ่งสมมุติให้คนสังคมไทยตอนนี้ทั้งหมด คือ 10 คน ไม่มีใครมีภูมิคุ้มกันโควิด-19 มาก่อนเลยเหมือนคนทั้งโลกในปี 2563 ต่อมามี 1 คน ติดเชื้อ ก็เกิดการแพร่กระจายไปเรื่อย ๆ ทุกคนมีโอกาสได้รับเชื้อทั้งหมด เพราะไม่มีใครมีภูมิคุ้มกันเลย จึงต้องใช้มาตรการในวิถี New Normal อยู่คือ สวมใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือ เว้นระยะห่าง  ทำงานที่บ้าน ฯลฯ เพื่อป้องกันติดเชื้อจากภาพนอกเพราะภายในของเรายังไม่มีภูมิคุ้มกันนั่นเอง

 

หลังจากนั้น เมื่อประเทศไทยเริ่มมีการฉีดวัคซีน ทำให้คนที่ฉีดวัคซีนเริ่มมีภูมิคุ้มกัน (สีเขียว) แต่ยังเป็นส่วนน้อย แม้ว่าผู้ติดเชื้อสีแดงจะไม่สามารถติดต่อไปที่สีเขียวได้แต่ยังแพร่ไปที่สีขาวได้อีกมากเพราะคนรับวัคซีนยังมีน้อยเกินไป

 

เมื่อมีคนฉีดวัคซีน แล้ว 7 ใน 10 คน โควิด-19 ก็สามารถแพร่ไปยังตัวสีขาวที่ยังไม่ฉีดวัคซีน แต่ก็แพร่ระบาดไปยังตัวสีเขียวอื่น ๆ ไม่ได้ แต่ขณะเดียวกัน แม้ว่าตัวสีขาวยังไม่ได้ฉีด แต่การที่โควิด-19 จะแพร่มาถึงตัวก็น้อยลงเพราะมีตัวสีเขียวซึ่งมีมากขึ้น 60-70% ของจำนวนประชากร ขวางอยู่ ทั้งหมดคือการเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ หรือที่เรียกว่า Herd Immunity

 

ดังนั้น สิ่งที่ต้องจับตามองในอนาคตต่อไปคือการผลิตวัคซีนที่เพียงพอต่อทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย การเข้าถึงการบริการฉีดวัคซีนโควิดจนครบ 2 โดส ซึ่งอาจเป็นไปได้ที่จะเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ ซึ่งคำว่ามากพออาจเป็น 9 เดือน หรือ 1 ปี หรือ 2 ปีก็เป็นได้

 

และสิ่งที่สะท้อนนั่นคือ ประชากรฉีดวัคซีนครบโดสได้มากเท่าไหร่ โอกาสเสี่ยงรับเชื้อย่อมลดลงได้มากเท่านั้น บวกกับมาตรการที่ต้องเคร่งครัดในการควบคุมการแพร่เชื้อโควิด-19 ที่ต้องไม่ "ตกหล่น" ในการคุมเข้ม เข้มงวด ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงตัวเราเองที่ต้องร่วมด้วยช่วยกันใส่หน้ากากอนามัยให้ถูกต้องและถูกวิธี ล้างมือบ่อย ๆ เว้นระยะห่างกันสักนิด อาจเป็นไปได้ที่จะสกัดการแพร่เชื้อโควิดให้ระบาดน้อยกว่าทุกวันนี้ก็เป็นได้

 

 

ภูมิคุ้มกันหมู่ ในไทยไกลแค่ไหนคือใกล้! ต้องจับตา

 

 

ข้อมูล : ไทยรัฐ, PPTV

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง